ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อมเรศ ศิลาอ่อน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Sangtaksina (คุย | ส่วนร่วม)
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 45:
นายอมเรศ ศิลาอ่อนเกิดเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2476 ณ [[โรงพยาบาลศิริราช]] กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของนายแพทย์เอื้อม ศิลาอ่อน และนางใจสมาน ศิลาอ่อน (สกุลเดิม ชลานุเคราะห์) มีน้องชาย คือ นายแพทย์อมฤต ศิลาอ่อน   บรรพบุรุษเป็นชาวนามาจากราชบุรี
 
ที่มาของนามสกุล “ศิลาอ่อน” เท่าที่ได้รับคำบอกเล่า เข้าใจว่าเป็นการรวมชื่อของบรรพบุรุษฝ่ายชาย คือ“ศิลา” และฝ่ายหญิง คือ “อ่อน” มาตั้งเป็นนามสกุล ภายหลังที่พระราชบัญญัติขนามนามสกุล พ.ศ. 2456 บังคับใช้เป็นกฎหมายเมื่อพ.ศ. 2458 ได้ไม่นาน<ref>อมเรศ ศิลาอ่อน, ทำดีแล้ว...อย่าหวั่นไหว. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์นิตยสารแพรว อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2556. หน้า 8.</ref>
 
นายอมเรศ ศิลาอ่อนสมรสกับ นางภัทรา ศิลาอ่อน (สกุลเดิม ไรวา) มีบุตรชาย 3 คน ได้แก่  นายวิทูร ศิลาอ่อน นายกำธร ศิลาอ่อน และนายพรวิช ศิลาอ่อน <ref>เปิดบ้าน “ศิลาอ่อน” ชวนคุยทุกเรื่อง เต็มอิ่มกับรสชาติความสุขที่ไม่เคยเปลี่ยน <nowiki>https://mgronline.com/celebonline/detail/9610000039854</nowiki></ref>
 
== การศึกษา ==
นายอมเรศ ศิลาอ่อน เริ่มเข้าเรียนระดับอนุบาลที่[[โรงเรียนราชินี]] ปากคลองตลาด [[โรงเรียนเขมะสิริอนุสรณ์]] จบการศึกษาระดับอนุบาลที่[https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%A2 โรงเรียนมาแตร์เเดแตร์แดอีวิทยาลัย] เข้าเรียนระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนกุลรัตน์วิทยาลัย และโรงเรียนจุลวิทยา เข้าเรียนต่อระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่[[โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย]] ในระหว่างนั้น เกิดสงครามโลกครั้งที่สอง ทางบ้านจึงส่งไปเรียนที่โรงเรียนศรัทธาสมุทร จังหวัดสมุทรสงคราม เพื่อหนีภัยสงคราม หลังสงครามสงบ เข้าเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่[[โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย]] ศึกษาต่อสายอาชีวะจนจบที่โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชย์
 
หลังจากนั้น บิดาได้ส่งไปศึกษาต่อยังต่างประเทศ โดยเริ่มเรียนหลักสูตร General Certificate of Education (GCE) ซึ่งเป็นหลักสูตรปูพื้นฐานที่ Southend Municipal College สหราชอาณาจักร ก่อนจะเข้าศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ Manchester University สหราชอาณาจักร จนจบการศึกษาระดับปริญญาตรี เศรษฐศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยม) ในปี พ.ศ. 2500  ขณะทำงานที่[https://www.shell.co.th/ บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด] บริษัทเชลล์ฯ ได้ส่งเข้าอบรมหลักสูตรการจัดการระดับสูง (Advanced Management Program) Harvard Business Schoolสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2517 สมัครเข้าเรียนหลักสูตรอภิธรรมบัณฑิต[https://www.mcu.ac.th/ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์] จนจบหลักสูตร ได้รับประกาศนียบัตรอภิธรรมบัณฑิต (ป.อบ.)เทียบเท่าระดับปริญญาตรี ในปี พ.ศ. 2555  และได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติจาก[[มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย]] มอบปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาวิชาการจัดการ ในปี พ.ศ. 2556
 
== ประวัติการทำงาน ==
นายอมเรศ ศิลาอ่อน เริ่มทำงานที่[[องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ]] (Food and Agriculture Organization : FAO) ในฐานะผู้ช่วยเลขานุการ ประมาณ 3-4 เดือน จึงลาออกไปศึกษาต่อต่างประเทศ ณ สหราชอาณาจักร
 
พ.ศ. 2500 หลังจากจบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากสหราชอาณาจักรแล้ว ได้เข้ารับราชการประจำกองธนาธิการ [[กรมบัญชีกลาง]] [[กระทรวงการคลัง]]
 
ระหว่าง พ.ศ. 2501-2510 เข้าทำงานกับ[https://www.shell.co.th/ บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด] ในตำแหน่งผู้จัดการฝึกหัด ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายขายภาคเหนือ จากนั้น บริษัทได้ส่งไปทำงานในตำแหน่ง ผู้จัดการภาคฝ่ายขาย บริษัทบริษัทลูซอนเชลล์ ประเทศฟิลิปปินส์ และฝึกงานระยะยาวกับ บริษัท เชลล์ (ออสเตรเลีย) จำกัด ภายหลังจากกลับมาประเทศไทย บริษัทได้เลื่อนตำแหน่งจนถึงตำแหน่งสุดท้ายก่อนลาออก คือ ผู้จัดการฝ่ายส่งเสริมการขายและโฆษณา
 
ระหว่าง พ.ศ. 2510 - เมษายน พ.ศ. 2533 เข้าทำงานกับบริษัท ค้าวัตถุก่อสร้าง จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือซิเมนต์ไทย ในตำแหน่ง ผู้อำนวยการฝ่ายขาย ต่อมา ได้รับมอบหมายให้แก้ไขปัญหา บริษัท สยามคร้าฟท์ จำกัด ในตำแหน่ง ผู้จัดการใหญ่ จนบริษัทฟื้นกลับมามีกำไร ภายหลัง ได้รับตำแหน่ง ผู้อำนวยการฝ่ายการเงินและวางแผน [https://www.scg.com/landing/ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด] และได้รับการปรับตำแหน่งขึ้นมาเรื่อยๆ ตั้งแต่ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่-การตลาด บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัดผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่-การเงิน บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัดตำแหน่งสุดท้ายก่อนลาออก คือ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด
 
ระหว่าง พฤษภาคม-สิงหาคม พ.ศ. 2533 รับตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร [https://company.snpfood.com/home.html บริษัท เอส แอนด์ พี ซินดิเคท จำกัด (มหาชน)] ซึ่งก่อตั้งโดย คุณภัทรา ศิลาอ่อน และพี่น้องตระกูล “ไรวา” ก่อนจะเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์<ref>เปิดอาณาจักร ตำนาน S&P จากร้านตึกแถวสู่บริษัทหมื่นล้าน<nowiki>https://www.matichonacademy.com/content/business/article_11516</nowiki></ref>
 
== งานด้านการเมือง ==
ในปี พ.ศ. 2533 นายอมเรศ ศิลาอ่อนได้รับการติดต่อจาก มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ให้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาล[[พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ]] ใน[[คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 45]] ในโควต้าที่นั่งของพรรคกิจสังคม แทนนาย[[สุบิน ปิ่นขยัน]] ซึ่งถูกปรับไปเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ โดยเป็นการดึงผู้บริหารจากภาคเอกชนที่ไม่ใช่นักการเมืองอาชีพมารับตำแหน่งรัฐมนตรี เพื่อปรับภาพลักษณ์รัฐบาลให้ดีขึ้น ผลงานเด่นเป็นการเปลี่ยนแปลงระบบส่งออกจากระบบโควต้ามันสำปะหลังให้เป็นการประมูลบางส่วน และการแก้ไขปัญหาปูนซีเมนต์ขาดแคลนในประเทศ<ref>อมเรศ ศิลาอ่อน, ทำดีแล้ว...อย่าหวั่นไหว. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์นิตยสารแพรว อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2556. หน้า 143.</ref>
 
หลังจากเกิดความวุ่นวายหลายครั้งพลเอกชาติชายตัดสินใจลาออกเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2533  เพื่อเปิดทางให้มีการปรับคณะรัฐมนตรี ภายหลังไม่สามารถเจรจากันได้ แต่แล้วในวันรุ่งขึ้น พลเอกชาติชายก็ได้รับการสนับสนุนให้กลับคืนสู่ตำแหน่งเดิม ในการนี้ พลเอกชาติชายตัดสินใจตัดพรรคร่วมรัฐบาลออกไปได้แก่ พรรคกิจสังคม พรรคประชาธิปัตย์ พรรคมวลชน และสหประชาธิปไตย โดยดึงพรรคชาติไทย พรรคเอกภาพ พรรคประชากรไทย พรรคราษฎร และพรรคปวงชนชาวไทย ร่วมกันจัดตั้งรัฐบาล นายอมเรศ ศิลาอ่อน ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเดิมใน[[คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 46]] แม้ว่าเดิมจะมาจากโควต้าที่นั่งของพรรคกิจสังคมก็ตาม<ref>การเมืองไทยสมัยชาติชาย จากเปรม-บ้านพิษณุโลก-รถโมบาย สู่รัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ 2534https://www.silpa-mag.com/history/article_28256</ref>
บรรทัด 86:
ภายหลังจากฝึกกรรมฐานไปได้ระยะหนึ่ง นายอมเรศเกิดคำถามทางธรรมหลายประการที่ไม่สามารถหาคำตอบได้จากการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง โดยเฉพาะเรื่องพระอภิธรรม ซึ่งเป็นเรื่องของหลักคำสอน อันเป็นรากฐานของพระพุทธศาสนา ในพระไตรปิฎกจำนวน 84,000 พระธรรมขันธ์นั้น เป็นส่วนที่เป็นพระอภิธรรมถึง 42,000 พระธรรมขันธ์ โดยเนื้อหาของพระอภิธรรมสอนอยู่ 4 อย่าง ได้แก่ จิต เจตสิก รูป และนิพพาน ซึ่งเป็นเรื่องละเอียดลึกซึ้งมาก<ref>'''อมเรศ ศิลาอ่อน นักธุรกิจผู้ขยันหาอาหารทางใจ''' <nowiki>https://mgronline.com/dhamma/detail/9500000135837</nowiki></ref>
 
นายอมเรศสมัครเข้าเรียนหลักสูตรการเรียนการสอนพระอภิธรรม ของอภิธรรมโชติกะวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ ซึ่งประกอบด้วย 9 ชั้นได้แก่ ชั้นที่ 1 จูฬอาภิธรรมิกะตรี (ใช้เวลาศึกษา 6 เดือน)ชั้นที่ 2 จูฬอาภิธรรมิกะโท (ใช้เวลาศึกษา 6 เดือน)ชั้นที่ 3 จูฬอาภิธรรมิกะเอก (ใช้เวลาศึกษา 6 เดือน)ชั้นที่ 4 มัชฌิมอาภิธรรมมิกะตรี (ใช้เวลาศึกษา 12 เดือน)ชั้นที่ 5 มัชฌิมอาภิธรรมมิกะโท (ใช้เวลาศึกษา 12 เดือน)ชั้นที่ 6 มัชฌิมอาภิธรรมมิกะเอก (ใช้เวลาศึกษา 12 เดือน)ชั้นที่ 7 มหาอาภิธรรมมิกะตรี (ใช้เวลาศึกษา 12 เดือน)ชั้นที่ 8 มหาอาภิธรรมมิกะโท (ใช้เวลาศึกษา 12 เดือน) ชั้นที่ 9 มหาอาภิธรรมมิกะเอก (ใช้เวลาศึกษา 12 เดือน)จนจบหลักสูตร รวมใช้เวลาในการศึกษาจนจบหลักสูตรทั้ง 9 ชั้น 7 ปี 6 เดือนได้รับประกาศนียบัตรอภิธรรมบัณฑิต (ป.อบ.) เทียบเท่าระดับปริญญาตรี เมื่อ พ.ศ. 2555 และศึกษาพระไตรปิฏกต่อกับอาจารย์พรชัย เจริญดำรงเกียรติ (อาจารย์ดิษกฤต สาสนเวชช์) เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน<ref>'''อภิธรรมโชติกะวิทยาลัยสอนอภิธรรมระดับปริญญาตรี เรียนฟรีจนจบ'''<nowiki>https://www.posttoday.com/dhamma/107556</nowiki></ref>
 
== คดีความ ==