ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อมเรศ ศิลาอ่อน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Sangtaksina (คุย | ส่วนร่วม)
Sangtaksina (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 70:
หลังจากเกิดความวุ่นวายหลายครั้งพลเอกชาติชายตัดสินใจลาออกเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2533  เพื่อเปิดทางให้มีการปรับคณะรัฐมนตรี ภายหลังไม่สามารถเจรจากันได้ แต่แล้วในวันรุ่งขึ้น พลเอกชาติชายก็ได้รับการสนับสนุนให้กลับคืนสู่ตำแหน่งเดิม ในการนี้ พลเอกชาติชายตัดสินใจตัดพรรคร่วมรัฐบาลออกไปได้แก่ พรรคกิจสังคม พรรคประชาธิปัตย์ พรรคมวลชน และสหประชาธิปไตย โดยดึงพรรคชาติไทย พรรคเอกภาพ พรรคประชากรไทย พรรคราษฎร และพรรคปวงชนชาวไทย ร่วมกันจัดตั้งรัฐบาล นายอมเรศ ศิลาอ่อน ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเดิมใน[[คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 46]] แม้ว่าเดิมจะมาจากโควต้าที่นั่งของพรรคกิจสังคมก็ตาม<ref>การเมืองไทยสมัยชาติชาย จากเปรม-บ้านพิษณุโลก-รถโมบาย สู่รัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ 2534https://www.silpa-mag.com/history/article_28256</ref>
 
หลังจากนั้นไม่นาน ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 เกิดการรัฐประหาร โดย[[คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ]] หรือ (รสช.)]] นายอมเรศ ศิลาอ่อน ได้รับแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจและการคลัง ในคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ นาย[[อานันท์ ปันยารชุน]] ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี และนำบุคคลผู้มีความรู้ความสามารถและมีภาพลักษณ์ที่ดีมาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี รวมทั้งนายอมเรศ ศิลาอ่อน ได้รับมอบหมายให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ใน[[คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 47]]นายอมเรศและคณะรัฐมนตรีร่วมผลักดันกฎหมายสำคัญๆ ออกมาหลายฉบับ อาทิเช่น กฎหมายธุรกิจประกันภัย เป็นต้น แต่ภารกิจหลักของรัฐบาลนี้ คือ การจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไป<ref>อานันท์ ปันยารชุน <nowiki>http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=อานันท์_ปันยารชุน</nowiki></ref>
 
ภายหลังการเลือกตั้งในวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 เสร็จสิ้น รัฐบาลนาย[[อานันท์ ปันยารชุน]] จึงหมดวาระ แต่เกิดกระแสต่อต้านประท้วงอย่างรุนแรง จากการที่[[พลเอกสุจินดา คราประยูร]] ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนำมาสู่การใช้กำลังปราบปราม ที่เรียกกันว่า ”เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ”ภายหลัง พรรคการเมืองเสียงข้างมากสนับสนุน [[พลอากาศเอกสมบุญ ระหงษ์]] ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่นาย[[อาทิตย์ อุไรรัตน์]] ประธานสภาผู้แทนราษฎร กลับตัดสินใจเสนอชื่อนายอานันท์ ปันยารชุน ขึ้นทูลเกล้าฯ แทน นายอานันท์จึงจัดตั้งรัฐบาลเฉพาะกิจ เพียง 105 วัน เพื่อจัดการเลือกตั้งใหม่ รัฐมนตรีส่วนใหญ่เคยดำรงตำแหน่งมาก่อนในสมัยแรก รวมทั้งนายอมเรศ ศิลาอ่อนซึ่งได้รับมอบหมายให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ใน[[คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 49]]โดยมีเรื่องสำคัญที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น คือ การประกาศ “[[เขตการค้าเสรีอาเซียน]]” หรืออาฟตา (ASEAN Free Trade  Area : AFTA)<ref>อมเรศ ศิลาอ่อน, ทำดีแล้ว...อย่างหวั่นไหว. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์นิตยสารแพรว อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2556. หน้า 158.</ref>