ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี (คอซู้เจียง)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Nubbkao (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{เก็บกวาดบุคคล}}
{{ต้องการอ้างอิง}}
'''พระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี''' หรือ '''คอซู้เจียง ณ ระนอง''' (許漳, [[พ.ศ. 2340]] - [[พ.ศ. 2435]]) คือเจ้าเมืองระนองคนแรกของ[[เมืองระนอง]]
 
== ประวัติ ==
พระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี (คอซู้เจียง ณ ระนอง) เป็นคนจีนต้นสกุล ณ ระนอง คนแรกที่เข้ามาในประเทศนั้นชื่อเดิมชื่อ ซู้เจียง แซ่คอ และได้เรียกกันว่า คอซู้เจียง คอซู้เจียงเป็น[[ชาวจีน]][[ฮกเกี้ยน]]อพยพเข้ามาในประเทศไทยขณะมีอายุได้ 25 ปี ได้สมรสกับคนไทยชาวพังงา และมีบุตรทั้งหมด 11 คน เป็นหญิง 5 คน และเป็นชาย 6 คน ดังนี้
 
1. หลวงศรีโลหะภูมิพิทักษ์ (คอซิมเจ่ง ณ ระนอง 許心正) บุตรชายคนแรกได้รับพระราชทานนามสัญญาบัตรในรัชกาลที่ 4 ตำแหน่งผู้ช่วยราชการเมืองระนอง
 
2. พระยารัตนเศรษฐี (คอซิมก๊อง ณ ระนอง 許心廣) ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรในรัชกาลที่ 4 เป็นหลวงศรีโลหะภูมิพิทักษ์แล้วจึงเลื่อนเป็นพระยาพระยารัตนเศรษฐี รับราชการผู้ว่าราชการเมืองระนองแทนบิดา
 
3. หลวงศรีสมบัติ (คอซิมจั๊ว ณ ระนอง 許心泉) ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ในรัชกาลที่ 5 เป็นผู้ช่วยราชการเมืองระนอง
 
4. พระศรีโลห ภูมิพิทักษ์ (คอซิมขิม ณ ระนอง 許心欽) ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรในรัชกาลที่ 5 เป็นหลวงแล้วเลื่อนเป็นพระ รับราชการตำแหน่งผู้ช่วยราชการเมืองระนอง
 
5. พระยาจรูญราชโภคากร (คอซิมเต๊ก ณ ระนอง 許心德) ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรในรัชกาลที่ 5 เป็นพระแล้วเลื่อนเป็นพระยา รับราชการตำแหน่งจางวางกำกับราชการเมืองหลังสวน
 
6. [[พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี๊ ณ ระนอง)]] (許心美) ได้เป็นมหาดเล็กในรัชกาลที่ 5 ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็นที่หลวงบริรักษ์โลหวิสัย ตำแหน่งผู้ช่วยราชการเมืองระนองแล้วเลื่อนเป็นที่พระอัษฎงคตทิศรักษา ผู้ว่าราชการเมืองจัตวาคือตระบุรีต่อมาได้เลื่อนเป็นพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี ผู้ว่าราชการเมืองตรัง แล้วเลื่อนขึ้นเป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต
 
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี๊ ณ ระนอง) ที่สืบเชื้อสายกันต่อมายังได้นำเอาต้นไม้ชนิดหนึ่งเข้ามาปลูกในพื้นดินทางจังหวัดภาคใต้ของประเทศ ซึ่งต้นไม้ดังกล่าวเป็นต้นไม้ที่ผลิตผลเป็นยางคือยางพารา ซึ่งถือกันว่าเป็นต้นไม้ที่ให้ผลิตผลที่มีคุณค่าในการอุตสาหกรรม และเป็นทรัพยากรอันมีค่ายิ่งของประเทศรองมาจากข้าวในสมัยนั้นและต่อมาได้รับพระบรมราชโองการให้มีบรรดาศักดิ์เป็น พระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี ในตำแหน่งจางวางเมืองระนองซึ่งเทียบเท่าเจ้าเมืองสมัยนั้น นายคอซู้เจียงผู้นี้เป็นจีนฮกเกี้ยน เกิดในบ้านจิวหู เขตแขวงเมืองเจียงซิวฮู ประเทศจีน ได้เดินทางจากจีนเข้ามาแต่หาได้ตรงเข้ามาในกรุงเทพมหานครเหมือนคนจีนแซ่อื่น นายคอซู้เจียง ได้ศึกษาภูมิประเทศและประวัติศาสตร์ของสยามมาก่อนแล้ว และได้รู้ว่าทางจังหวัดภาคใต้ของประเทศนั้นอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติมีเหมืองแร่ มีป่าไม้ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นผลผลิตในทางพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรมอยู่เป็นอันมาก จึงเข้ามาทำธุรกิจการค้าตามแบบของคนจีนโดยทั่วไป แต่ด้วยความขยันพยายามและฉลาด จึงทำให้การค้าเจริญก้าวหน้าเป็นที่นับหน้าถือตาของคนในเมืองสมัยนั้น