ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นศรีสุเรนทร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 22:
''"ในเดือน ๑๒ ป็ชวดอัฐศก (พ.ศ. ๒๓๕๙) นั้น มีโจทก์ฟ้องว่า พระพุทธโฆษาจารย์ (บุญศรี) วัดมหาธาตุ รูป ๑ พระญาณสมโพธิ (เค็ม) วัดนาคกลางรูป ๑ พระมงคลเทพมุนี (จีน) วัดหน้าพระเมรุกรุงเก่ารูป ๑ ทั้ง ๓ รูปนี้ประพฤติผิดพระวินัยบัญญัติข้อสำคัญ ต้องเมถุนปาราชิกมาช้านาน จนถึงมีบุตรหลายคน โปรดให้[[หม่อมไกรสร|พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นรักษ์รณเรศ]] กับ[[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว|พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์]] ทรงพิจารณาได้ความเป็นสัตย์สมดังฟ้อง จึงมีรับสั่งเอาตัวผู้ผิดไปจำไว้ ณ คุก''"
 
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคันธรส กรมหมื่นศรีสุเรนทร์ทรงเป็นศิษย์เอกในสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ทรงโกรธในการกระทำอันเกินกว่าเหตุของเจ้านาย 2 พระองค์มาก (และว่ากันว่าอาจะเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อไม่ให้สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์เป็นสมเด็จพระสังฆราช) จึงทรงเขียนบัตรสนเท่ห์ ดังนี้
 
{{คำพูด|''ไกรสรพระเสด็จได้ สึกชี''<br/>
บรรทัด 29:
''อาจพลิกแผ่นดินได้ แม่นแม้น เมืองทมิฬ''}}
 
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯหล้านภาลัย โปรดฯ ให้ค้นหาตัวผู้ทิ้งหนังสือ จนได้ตัวกรมหมื่นศรีสุเรนทร์ ในพระราชพงศาวดารรัชกาลที่ 2 จดเรื่องนี้ไว้ว่า
 
''"ครั้งนั้นกรมหมื่นศรีสุเรนทร์ ซึ่งเป็นศิษย์นายสี พุทธโฆษาจารย์ไม่เห็นด้วย ก็ทิ้งหนังสือเป็นคำโคลงหยาบช้าต่อตระลาการกระทบกระทั่งถึงพระเจ้าแผ่นดินด้วย จึงโปรดให้[[สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์|กรมพระราชวังบวรสถานมงคล]]พิจารณาหนังสือทิ้ง กรมพระราชวังได้ประชุมพระราชวงศานุวงศ์ กับนักปราชญ์ที่รู้กาพย์ กลอนโคลง พิจารณาก็ลงเนื้อเห็นว่าเป็นสำนวนฝีโอษฐ์กรมหมื่นศรีสุเรนทร์แน่แล้ว จึงรับสั่งให้หากรมหมื่นศรีสุเรนทร์มาซักถามก็ไม่รับ จึงให้ลงพระราชอาญาเฆี่ยนถามจึงได้รับเป็นสัตย์ กรมหมื่นศรีสุเรนทร์ทนอาชญาไม่ได้ ก็สิ้นชีพในทิม แล้วมิได้บาดหมายให้ถอดชื่อเหมือนอย่างหม่อมเหมน ข้าราชการเพ็ดทูลลางคนก็ออกพระนามว่า พระองค์เจ้าคันธรศบ้าง ออกพระนามว่ากรมหมื่นศรีสุเรนทร์บ้าง''"