ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อาณาจักรหริภุญชัย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
แทนที่เนื้อหาด้วย "* หมวดหมู่:อาณาจักรหริภุญชัย"
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่อาจเป็นการทดลอง หรือก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
บรรทัด 1:
{{เพิ่มอ้างอิง}}
*
{{ประวัติศาสตร์ไทย}}
[[ไฟล์:Map-of-southeast-asia 1000 - 1100 CE.png|thumb|left|แผนที่อาณาจักรหริภุญชัยประมาณ พ.ศ. 1543-1643 (สีเขียว)]]
'''อาณาจักรหริภุญชัย''' หรือ '''หริภุญไชย''' เป็น[[อาณาจักรมอญ]]<ref>David K. Wyatt, Thailand: A Short History, Chaing Mai : Silkworm Book, 2004, pg. 21</ref>ที่ตั้งอยู่บริเวณ[[ภาคเหนือ (ประเทศไทย)|ภาคเหนือของประเทศไทยปัจจุบัน]]
 
ตำนานจามเทวีวงศ์โบราณได้บันทึกไว้ว่า [[ฤๅษีวาสุเทพ]]เป็นผู้สร้างเมืองหริภุญชัยขึ้นในปี [[พ.ศ. 1310]] แล้วทูลเชิญ[[พระนางจามเทวี]] ซึ่งเป็นเจ้าหญิงจาก[[อาณาจักรละโว้]] ขึ้นมาครองเมืองหริภุญชัย ในครั้งนั้นพระนางจามเทวีได้นำพระ[[ภิกษุ]] [[นักปราชญ์]] และช่างศิลปะต่าง ๆ จากละโว้ขึ้นไปด้วยเป็นจำนวนมากราวหมื่นคน พระนางได้ทำนุบำรุงและก่อสร้างบ้านเมือง ทำให้เมืองหริภุญชัย ([[ลำพูน]]) นั้นเป็นแหล่งศิลปวัฒนธรรมที่เจริญรุ่งเรืองยิ่ง ต่อมาพระนางได้สร้างเขลางค์นคร ([[ลำปาง]]) ขึ้นอีกเมืองหนึ่งให้เป็นเมืองสำคัญ สมัยนั้นปรากฏมีการใช้ภาษามอญโบราณในศิลาจารึกของหริภุญชัย มีหนังสือหมานซูของจีนสมัยราชวงศ์ถัง กล่าวถึงนครหริภุญชัยไว้ว่าเป็น “อาณาจักรของ[[สมเด็จพระราชินีนาถ]]” (女王國 หนี่ว์ หวัง กว๋อ)
 
ต่อมา [[พ.ศ. 1824]] [[พญามังราย]]มหาราชผู้สถาปนา[[อาณาจักรล้านนา]] ได้ยกกองทัพเข้ายึดเอาเมืองหริภุญชัยจาก[[พญายีบา]]ได้ ต่อจากนั้นอาณาจักรหริภุญชัยจึงสิ้นสุดลงหลังจากรุ่งเรืองมา 618 ปี มีพระมหากษัตริย์ครองเมือง 49 พระองค์
ปัจจุบัน โบราณสถานสำคัญของอาณาจักรหริภุญชัยคือพระธาตุหริภุญไชย ที่จังหวัดลำพูน ซึ่งเป็นบริเวณที่สันนิษฐานว่าเป็นราชธานีในสมัยนั้น และยังมีเมืองโบราณเวียงมโน ตำบลหนองตอง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ โบราณสถานที่เวียงเกาะ บ้านสองแคว อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ และเวียงท่ากาน ที่ตำบลบ้านกลาง ต.สันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่
 
ได้มีการพบจารึกอักษรมอญโบราณ สมัยหริภุญไชย ราวพุทธศตวรรษที่ 17 จำนวน 7 หลัก ที่ลำพูน ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติหริภุญไชย จังหวัดลำพูน<ref>http://www.finearts.go.th/hariphunchaimuseum/นิทรรศการถาวร/item/การจัดแสดงศิลปะโบราณวัตถุ-ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ-หริภุญไชย</ref> บางหมู่บ้านของจังหวัดลำพูนนั้นพบว่า ยังมีคนพูด[[ภาษามอญ]]และอนุรักษ์วัฒนธรรม[[มอญ]]อยู่
 
== อ้างอิง ==
* 'Historic Lamphun: Capital of the Mon Kingdom of Haripunchai', in: Forbes, Andrew, and Henley, David, ''Ancient Chiang Mai'' Volume 4. Chiang Mai, Cognoscenti Books, 2012. ASIN: B006J541LE
* Swearer, Donald K. and Sommai Premchit. The Legend of Queen Cama: Bodhiramsi's Camadevivamsa, a Translation and Commentary. New York: State University of New York Press, 1998.
{{รายการอ้างอิง}}
 
[[หมวดหมู่:อาณาจักรหริภุญชัย]]