ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ลินุกซ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
NP-chaonay (คุย | ส่วนร่วม)
แปล
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
Bajita (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 35:
ผู้เริ่มพัฒนาลินุกซ์ เคอร์เนลเป็นคนแรก คือ [[ลินุส โตร์วัลดส์]] (Linus Torvalds) [[ประเทศฟินแลนด์|ชาวฟินแลนด์]] เมื่อสมัยที่เขายังเป็นนักศึกษาคอมพิวเตอร์ ที่[[มหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ]] โดยแรกเริ่ม [[ริชาร์ด สตอลแมน]] (Richard Stallman) ได้ก่อตั้ง[[โครงการกะนู]]ขึ้นในปี [[พ.ศ. 2526]] จุดมุ่งหมายโครงการกะนู คือ ต้องการพัฒนาระบบปฏิบัติการคล้าย[[ยูนิกซ์]]ที่เป็น[[ซอฟต์แวร์เสรี]]ทั้งระบบ ราวช่วง[[พ.ศ. 2533]] โครงการกะนูมี[[ส่วนโปรแกรม]]ที่จำเป็นสำหรับระบบปฏิบัติการเกือบครบทั้งหมด ได้แก่ [[คลังโปรแกรม]] (Libraries) [[คอมไพเลอร์]] (Compiler) [[โปรแกรมแก้ไขข้อความ]](Text Editor) และ[[เปลือกระบบยูนิกซ์]](Shell) ซึ่งขาดแต่เพียง[[เคอร์เนล]](Kernel) เท่านั้น ใน[[พ.ศ. 2533]] โครงการกะนูได้พัฒนาเคอร์เนลชื่อ [[Hurd]] เพื่อใช้ในระบบกะนูซึ่งในขณะนั้นมีปัญหาเกี่ยวกับความเร็วในการประมวลผล
 
ใน[[พ.ศ. 2534]] โตร์วัลดส์เริ่มโครงการพัฒนาเคอร์เนล ขณะศึกษาในมหาวิทยาลัยแล้ว โดยอาศัย [[Minix]] ซึ่งเป็นระบบที่คล้ายกับ Unix ซึ่งมากับหนังสือเรื่องการออกแบบระบบปฏิบัติการ มาเป็นเป็นต้นแบบในการเขียนขึ้นมาใหม่โดย Torvalds เขาพัฒนาโดยใช้ [[IA-32]] [[assembler]] และ[[ภาษาซี]] คอมไพล์เป็นไฟล์ไบนารี่และบูทจากแผ่น[[ฟลอปปี้ดิสก์]] เขาได้พัฒนามาเรื่อยๆจนกระทั่งสามารถบูทตัวเองได้ (กล่าวคือสามารถคอมไพล์ภายในลินุกซ์ได้เลย) และในปัจจุบันมีนักพัฒนาจากทั่วโลกพันกว่าคนทั่วโลกได้เข้ามามีส่วนรวมในการพัฒนาโครงการ [[Eric S. Raymond]] ได้ศีกษากระบวนการพัฒนาดังกล่าวและเขียนบทความเรื่อง [[The Cathedral and the Bazaar]]
 
ในรุ่น 0.01 นี้ถือว่ามีเครื่องมือที่เพียงพอสำหรับระบบ [[POSIX]] ที่ใช้เรียก ลินุกซ์ ที่รันกับ กะนู [[Bash Shell]] และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและอย่างรวดเร็ว