ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ชุมนุมเจ้าพระฝาง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 27:
ต่อมาหลังจากการสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีแล้ว [[สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี]] ทรงทราบข่าวเรื่องที่เจ้าพระฝางยกทัพยึดชุมนุมพิษณุโลกได้ และถึงกับส่งกองทัพไปปล้นแย่งชิงข้าวปลาราษฎรลงมาถึงเมือง[[อุทัยธานี]] และ[[ชัยนาท]] พระองค์จึงทรงกรุณาโปรดเกล้าฯให้ยกทัพไปปราบในปี [[พ.ศ. 2313]] โดยมี[[สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท|พระยายมราช (บุญมา)]] เป็นแม่ทัพหน้า กองทัพหน้าของพระยายมราชได้เข้าโจมตีเมืองพิษณุโลกด่านหน้าของเจ้าพระฝาง ซึ่งมีหลวงโกษา (ยัง) คุมกำลังมาตั้งรับอยู่ภายในคืนเดียว แล้วจากนั้นกองทัพหลวงก็ยกไปตีเมืองสวางคบุรี เจ้าพระฝางสู้รบได้ 3 วัน เห็นศึกหน้าเหลือกำลังจึงพาพรรคพวกหลบหนีไปอยู่เมือง[[เชียงใหม่]] ซึ่งในขณะนั้น[[พม่า]]ปกครองอยู่ กองทัพหลวงจึงยึดเมือง[[สวางคบุรี]]ได้ และยังได้ลูก[[ช้างเผือก]]ซึ่งตกลูกระหว่างศึกมาอีกด้วย
 
ล่วงมาถึงปีขาล [[พ.ศ. 2313]] มีข่าวมาถึง[[กรุงธนบุรี]]ว่า เมื่อเดือน 6 ปี[[ขาล]] เจ้าพระฝางให้ส่งกำลังลงมาลาดตระเวณถึงเมือง[[อุทัยธานี]] และเมือง[[ชัยนาท]] เป็นทำนองว่าจะคิดลงมาตีกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงมีรับสั่งให้เตรียม[[กองทัพ]] จะยกไปตีเมืองเหนือในปีนั้น ขณะนั้นพวกฮอลันดาจากเมืองยะกะตรา (จาร์กาตา) ส่ง[[ปืนใหญ่]]มาถวาย และแขกเมือง[[ตรังกานู]] ก็นำ[[ปืนคาบศิลา]]เข้ามาถวาย จำนวน 2,000 กระบอก พอเหมาะแก่พระราชประสงค์ของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ที่จะใช้ทำศึกต่อไปในครั้งนี้
 
ขณะนั้นพวก[[ฮอลันดา]]จากเมืองยะกะตรา (จาร์กาตา) ส่ง[[ปืนใหญ่]]มาถวาย และแขกเมือง[[ตรังกานู]] ก็นำ[[ปืนคาบศิลา]]เข้ามาถวาย จำนวน 2,000 กระบอก พอเหมาะแก่พระราชประสงค์ของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ที่จะใช้ทำศึกต่อไปในครั้งนี้
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวน[[ทัพเรือ]] ยกกำลังออกจากกรุงธนบุรี เมื่อวันเสาร์ แรม 14 ค่ำ เดือน 8 ไปประชุมพล ณ ที่แห่งใดไม่ปรากฏหลักฐาน จัดกำลังเป็น 3 ทัพ ทัพที่ 1 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จพระราชดำเนินไปโดยขบวนเรือมีกำลังพล 12,000 คน ทัพที่ 2 [[สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท|พระยาอนุชิตราชา]] ซึ่งได้เลื่อนขึ้นเป็นพระยายมราช ถือพล 5,000 คน ยกไปทางบกข้างฟากตะวันออกของแม่น้ำแควใหญ่ กองทัพที่ 3 [[พระยาพิชัยราชา|พระยาพิชัย]] ถือพล 5,000 คน ยกไปทางข้างฟากตะวันตก
 
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวน[[ทัพเรือ]] ยกกำลังออกจากกรุงธนบุรี เมื่อวันเสาร์ แรม 14 ค่ำ เดือน 8 ไปประชุมพล ณ ที่แห่งใดไม่ปรากฏหลักฐาน จัดกำลังเป็น 3 ทัพ
*ทัพที่ 1 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จพระราชดำเนินไปโดยขบวนเรือมีกำลังพล 12,000 คน
*ทัพที่ 2 [[สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท|พระยาอนุชิตราชา]] ซึ่งได้เลื่อนขึ้นเป็นพระยายมราช ถือพล 5,000 คน
ยกไปทางบกข้างฟากตะวันออกของแม่น้ำแควใหญ่ *กองทัพที่ 3 [[พระยาพิชัยราชา|พระยาพิชัย]] ถือพล 5,000 คน ยกไปทางข้างฟากตะวันตก
 
ฝ่ายเจ้าพระยาฝาง เมื่อทราบว่ากองทัพกรุงธนบุรียกกำลังขึ้นไปดังกล่าว จึงให้หลวงโกษา ยังคุมกำลังมาตั้งรับอยู่ที่เมืองพิษณุโลก
 
กองทัพหลวงของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ยกขึ้นไปถึงเมืองพิษณุโลก เมื่อ วันเสาร์ แรม 2 ค่ำ เดือน 9 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมีรับสั่งให้เข้าปล้นเมืองในค่ำวันนั้น ก็ได้เมืองพิษณุโลก หลวงโกษา ยัง หนีไปเมืองเมืองสวางคบุรี สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้เมืองพิษณุโลกแล้ว กองทัพที่ยกไปทางบกยังขึ้นไปไม่ถึงทั้งสองทัพ ด้วยเป็นฤดูฝนหนทางลำบาก พระองค์ประทับที่เมืองพิษณุโลกอยู่ 9 วัน กองทัพพระยายมราชจึงเดินทางไปถึง และ

ต่อมาอีก 2 วัน กองทัพ[[พระยาพิชัยราชา]]จึงยกมาถึง เมื่อกำลังพร้อมแล้ว สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงทรงให้กำลังทางบก รีบยกตามข้าศึกที่แตกหนีไปยังสวางคบุรี พร้อมกันทั้งสองทาง รับกำลังทางเรือให้คอยเวลาน้ำเหนือหลากลงมาก่อน ด้วยทรงพระราชดำริว่า ในเวลานั้นน้ำในแม่น้ำยังน้อย หนทางต่อไปลำน้ำแคบ และตลิ่งสูง ถ้าข้าศึกยกกำลังมาดักทางเรือจะเสียเปรียบข้าศึก ทรงคาดการณ์ว่าน้ำจะหลากลงมาในไม่ช้า และก็เป็นจริงตามนั้น สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ก็เสด็จพระราชดำเนินยกกำลังทางเรือขึ้นไปจากเมืองพิษณุโลก
 
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระยาพิชัยราชา คุมทัพไปทางตะวันตก ให้พระยายมราช ([[กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท]] ในรัชกาลที่ 1) คุมทัพไปทางตะวันออก สองทัพสมทบกันโจมตีเมืองสวางคบุรี
เส้น 43 ⟶ 50:
"เมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีปราบชุมนุมเจ้าพระฝางได้แล้ว ก็เท่ากับได้เมืองเหนือกลับมาทั้งหมด"
 
พระองค์ได้ประทับจัดการปกครองเมืองเหนืออยู่ตลอดฤดูน้ำ เกลี้ยกล่อมราษฎรที่แตกฉานซ่านเซ็น ให้กลับมาอยู่ตามภูมิลำเนาเดิม จัดการสำรวจ[[ไพร่]]พลในเมืองเหนือทั้งปวง พบว่า *เมือง[[พิษณุโลก]]มีพลเมือง15,000 คน *เมืองสวรรคโลก มี 7,000 คน
*เมืองพิชัย รวมทั้งเมือง สวรรคบุรี มี 9,000 คน
*เมือง[[สุโขทัย]] มี 5,000 คน *เมือง[[กำแพงเพชร]] และ
*เมือง[[นครสวรรค์]] มีเมืองละ 3,000 คนเศษ

จากนั้นได้ทรงตั้งข้าราชการซึ่งมีบำเหน็จความชอบในการสงครามครั้งนั้นคือ
*พระยายมราช ให้เป็นเจ้าพระยาสุรสีห์พิษณวาธิราช อยู่สำเร็จราชการเมืองพิษณุโลก
*พระยาพิชัยราชา ให้เป็น[[เจ้าพระยาพิชัยราชา]] สำเร็จราชการเมืองสวรรคโลก
*พระยาสีหราชเดโชชัย ให้เป็น[[พระยาพิชัย]]
*พระยาท้ายน้ำ ให้เป็นพระยาสุโขทัย
*พระยาสุรบดินทร์ เมืองชัยนาท ให้เป็นพระยากำแพงเพชร
*พระยาอนุรักษ์ภูธร ให้เป็นพระยานครสวรรค์
*เจ้าพระยาจักรี (แขก) นั้นอ่อนแอในสงคราม มีรับสั่งให้เอาออกเสียจากตำแหน่งสมุหนายก
*พระยาอภัยรณฤทธิ์ ให้เป็นพระยายมราช
และให้บัญชาการกระทรวงมหาดไทยแทนสมุหนายกด้วย
 
เมื่อจัดการหัวเมืองเหนือเสร็จแล้ว จึงเสด็จพระราชดำเนินกลับกรุงธนบุรี<ref>_________________. (ม.ป.ป.). พระราชพงษาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา ระหว่างจลาจล จุลศักราช ๑๑๒๙-๑๑๓๐. กรุงเทพฯ : (ม.ป.ท.). หน้า 49-51</ref>