ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ชุมนุมเจ้าพระฝาง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 10:
ต่อมาพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศโปรดเกล้าฯ ให้พระมหาเรือนเป็น[[พระราชาคณะ]] ที่ พระพากุลเถระ คณะฝ่าย[[อรัญวาสี]] อยู่วัดศรีโยธยาได้ไม่นาน ก็โปรดเกล้าฯ ให้เป็น[[พระราชาคณะ|พระสังฆราชาเจ้าคณะ]] และกลับขึ้นไปจำวัดอยู่ที่[[วัดพระฝาง]] ณ เมือง[[สวางคบุรี]] (เมืองฝาง) มีผู้คนเคารพนับถือมาก ท่านเป็นผู้สร้าง[[พระฝาง (พระพุทธรูป)|พระพุทธรูปทรงเครื่องสำคัญ]]ไว้ใน[[โบสถ์]]วัดพระฝางสวางคบุรี
 
หลังจากกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าในปี [[พ.ศ. 2310]] ท่านจึงได้ตั้งตนเป็นเจ้าทั้งที่อยู่ใน[[สมณเพศ]] แต่ผู้คนก็พานับถือเรียกกันว่า เจ้าพระฝาง หรือ พระเจ้าฝาง เนื่องจากชาวบ้านนับถือว่าเป็นผู้วิเศษ
 
หลังชุมนุมเจ้าพระฝางแตก เจ้าพระฝางได้หนีไปขึ้นต่อโปมะยุง่วนเจ้าเมืองเชียงใหม่ซึ่งในขณะนั้นยังเป็นเมืองขึ้นของพม่า ทำให้โปมะยุง่วนได้กำลังจากเจ้าพระฝางเพิ่ม และท่านได้ยุยงให้พม่ายกทัพมาหยั่งเชิงที่เมืองสวรรคโลกในปี [[พ.ศ. 2313]] ซึ่งเป็นการสงครามกับเมืองเชียงใหม่ครั้งแรกในสมัยธนบุรี และเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีคิดยกทัพไปยึดเมืองเชียงใหม่คืนจากพม่า แต่หลังจากตีเชียงใหม่ได้แล้วก็ไม่พบเจ้าพระฝางอีกเลยซึ่งเชื่อว่าคงหลบหนีไปได้จนหายสาปสูญ โดยไม่ทราบว่า ท่านมรณภาพที่ใด เมื่อใด