ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระยาพิชัยดาบหัก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 59:
เมื่อปี [[พ.ศ. 2325]] หลังจากสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชถูกสำเร็จโทษ<ref>''พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา'', กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2548, หน้า 230</ref> [[สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก]]เล็งเห็นว่าพระยาพิชัยเป็นขุนนางคู่พระทัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีที่มีฝีมือและซื่อสัตย์ จึงชวนพระยาพิชัยเข้ารับราชการในแผ่นดินใหม่ แต่พระยาพิชัยไม่ขอรับตำแหน่งด้วยท่านเป็นคนจงรักภักดีและซื่อสัตย์ต่อองค์[[สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช]] และถือคติที่ว่า "ข้าสองเจ้าบ่าวสองนายมิดี" จึงขอให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกสำเร็จโทษตนเป็นการถวายชีวิตตายตาม[[สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช]]{{อ้างอิง}}
 
หลังจากท่านได้ถูกสำเร็จโทษ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้[[ปราบดาภิเษก]]เป็นปฐมกษัตริย์แห่ง[[ราชวงศ์จักรี]]เฉลิมพระนามว่า[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช]] พระองค์จึงได้มีรับสั่งให้สร้าง[[พระปรางค์]]นำอัฐิของท่านไปบรรจุไว้ ณ [[วัดราชคฤห์วรวิหาร]] ซึ่งพระปรางค์นี้ก็ยังปรากฏสืบมาจนปัจจุบัน{{อ้างอิง}}
 
พระยาพิชัยดาบหักได้สร้างมรดกอันควรแก่การยกย่องสรรเสริญให้สืบทอดมาถึงปัจจุบันได้แก่ ความซื่อสัตย์สุจริต ความกตัญญูกตเวที ความเด็ดเดี่ยวเฉียบขาดกล้าหาญ รวมถึงความรักชาติ ต้องการให้ชาติเจริญรุ่งเรืองมั่นคงต่อไป{{อ้างอิง}}