ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เห็ดรา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Kobbaka (คุย | ส่วนร่วม)
แก้คำผิด
บรรทัด 41:
เห็ดราพบได้ทั่วโลก แต่ส่วนมากไม่มีความโดดเด่นเพราะมีขนาดเล็ก และมี[[การพรางตัว]]ในดินหรือบนสิ่งที่ตายแล้ว เห็ดราบางชนิดยังมี[[ภาวะพึ่งพาอาศัยกัน|การพึ่งพาอาศัย]]จากพืช สัตว์ เห็ดราประเภทอื่นหรือกระทั่ง[[ปรสิต]] พวกมันจะเริ่มเป็นที่สังเกตได้เมื่อออกผลแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเห็ดหรือราก็ตาม เห็ดรามีบทบาทสำคัญในการย่อยสลายสารอินทรีย์และมีบทบาทโดยพื้นฐานใน[[วัฏจักรชีวธรณีเคมี|วัฏจักร]]สารอาหารและการแลกเปลี่ยนในธรรมชาติ พวกมันยังเป็นแหล่งอาหารโดยตรงมานานแล้ว ในรูปของเห็ด เป็นหัวเชื้อในการทำขนมปัง และใน[[การหมัก]]ผลิตภัณฑ์หลาย ๆ อย่าง เช่น [[ไวน์]] [[เบียร์]] และ[[ซีอิ๊ว]] ตั้งแต่ช่วงคริสตทศวรรษที่ 1940 เห็ดรานำมาใช้ในการแพทย์ เพื่อผลิต[[ยาปฏิชีวนะ]] และล่าสุด นำมาใช้ผลิต[[เอนไซม์]]มากมาย ซึ่งใช้ในอุตสาหกรรมและใน[[ผงซักฟอก]] เห็ดรายังใช้เป็นปราบแมลง โรคในพืช และวัชพืชต่าง ๆ สายพันธุ์มากมายของเห็ดราผลิตสารประกอบที่ออกฤทธิ์กับสิ่งมีชีวิต เรียกว่า [[พิษเห็ดรา|ไมโซโทซิน]] เช่น [[อัลคาลอยด์]]และ[[พอลิเคไทด์]] ซึ่งเป็นพิษต่อสัตว์ รวมทั้งมนุษย์ โครงสร้างในบางสายพันธุ์ประกอบด้วยสารประกอบที่ออกฤทธิ์ต่อประสาท และใช้บริโภค หรือในพิธีกรรมทางศาสนาแบบดั้งเดิม เห็ดรายังสามารถทำลายโครงร่างของวัตถุดิบและสิ่งก่อสร้างได้ และกลายเป็นเชื้อโรคแก่มนุษย์หรือสัตว์อื่น ๆ การสูญเสียไร่เนื่องจากโรคทางเห็ดรา (เช่น [[Magnaporthe grisea|โรคไหม้]]) หรืออาหารที่เน่าเสียสามารถมีผลกระทบขนาดใหญ่กับ[[การเก็บรักษาอาหาร|คลังอาหาร]]ของมนุษย์และระบบนิเวศโดยรอบ
 
อาณาจักรเห็ดราประกอบไปด้วยความหลากหลายมากมายด้วยระบบนิเวศ การดำเนินชีวิต และ[[สัณฐานวิทยา (ชีววิทยา)|สัณฐาน]] ตั้งแต่ไคทริดน้ำเซลล์เดียวไปจนถึงเห็ดขนาดใหญ่ ถึงกระนั้น ความหลากหลายทางชีวภาพที่แท้จริงของอาณาจักรเห็ดรายังไม่มีข้อมูลมากนัก ซึ่งได้มีการประมาณจำนวนสายพันธุ์ไว้ที่ 1.5 - 5 ล้านสายพันธุ์ โดยทีมีเพียง 5 % เท่านั้นที่ได้รับการจำแนกประเภทแล้ว นับตั้งแต่การสำรวจในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 โดย[[คาโรลัส ลินเนียส|คาร์ล ลินเนียส]] [[คริสเตียน เฮนดริก เพอร์ซูน]] และ[[เอเลียส แมกนัส ฟรีส์]] เห็ดราจำแนกประเภทตามสัณฐาน (เช่นสีของสปอร์ หรือลักษณะในระดับเล็ก ๆ) หรือ[[สรีรวิทยา|รูปร่าง]] ความก้าวหน้าใน[[อณูพันธุศาสตร์]]ได้เปิดทางให้สำหรับ[[การหาลำดับดีเอ็นเอ|การวิเคราะห์ดีเอ็นเอ]] เพื่อจัดลำดับตามอนุกรมวิธาน ซึ่งบางครั้งได้ขัดแย้งกับกลุ่มพันธุ์ที่ได้จัดไว้ก่อนในอดีตแล้ว การศึกษาในไม่กี่คริสต์ศตวรรษที่ผ่านมาได้ช่วยให้มีการตรวจสอบการจัดจำแนกประเภทใหม่ภายในอาณาจักรเห็ดรา ซึ่งได้แบ่งออกเป็นหนึ่ง[[อาณาจักรย่อย]] เจ็ด[[ไฟลัม]] และสิบ[[ไฟลัมย่อย]]
 
== ศัพทมูลวิทยา ==
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/เห็ดรา"