ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แจ้ง คล้ายสีทอง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 53:
== ประวัติด้านการศึกษาและด้านศิลปการแสดง ==
 
==== วัยเด็กที่สุพรรณบุรี ====
 
นาย แจ้ง คล้ายสีทอง เกิดในตระกูลศิลปิน คุณตา เป็นนัก[[สวดคฤหัสถ์]] บิดาเป็นผู้แสดงโขน พากย์โขน และเป็นตลกโขนที่มีชื่อเสียงในคณะโขนวัดดอนกลาง จังหวัดสุพรรณบุรี มารดาเป็นนักร้องเพลงไทยเดิม และแม่เพลงพื้นบ้านผู้มีน้ำเสียงไพเราะยิ่ง รวมทั้งญาติพี่น้องอื่น ๆ ก็เป็นศิลปินพื้นบ้านที่จังหวัดสุพรรณบุรีด้วยกันทั้งหมด นาย แจ้ง คล้ายสีทองติดตาม บิดา มารดา ไปตามงานแสดงต่าง ๆ และเริ่มการแสดงตั้งแต่ยังเยาว์วัย
บรรทัด 59:
เมื่อถึงวัยศึกษาเล่าเรียน บิดาได้ส่งไปเป็นลูกศิษย์คุณตาที่ ''วัดโบสถ์ดอนลำแพน'' และเรียนหนังสือจนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ซึ่งเป็นชั้นสูงสุด ของโรงเรียนในขณะนั้น เมื่อบิดาถึงแก่กรรม มารดาได้กลับมาอยู่ที่บ้านเดิม ต่อมาเมื่ออายุ 11 ปี นายแคล้ว คล้ายจินดา ครูดนตรีไทย เจ้าของวงดนตรีปี่พาทย์ ตำบลบ้านกุ่ม อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งอยู่คนละฝั่งแม่น้ำท่าจีน ได้มาติดต่อกับมารดาเพื่อจะขอรับนายแจ้ง คล้ายสีทอง ไปเป็นลูกศิษย์เพราะเห็นว่ามีชอบและพรสวรรค์ด้านดนตรีไทย นายแจ้งเล่าว่า"ครูแคล้วเขาเห็นเวลามีปี่พาทย์ ฉันจะนั่งหลังวงดูเขาตีบรรเลง พอกลับบ้านก็หากะลามาทำเป็นวงฆ้องเคาะไปเรื่อย"
 
นายแจ้งได้ย้าย ไปอยู่ที่บ้านนายแคล้ว คล้ายจินดา เพื่อจะได้มีเวลาเรียนดนตรีอย่างเต็มที่ เริ่มแรกได้ฝึกเรียนฆ้องวง ต่อมาได้ฝึกเรียนเครื่องดนตรีอื่น ๆ จนสามารถบรรเลงได้ทุกชนิด ต่อมา ในวงดนตรีของ นายแคล้ว ขาดนักร้อง เด็กชายแจ้งจึงมีโอกาสได้เริ่มฝึกหัดขับร้องเพลงกับ นายเฉลิม คล้ายจินดา ซึ่งเป็นบุตรชายของนายแคล้ว โดยเริ่มจากเพลง 2 ชั้น และเพลงตับราชาธิราช [ ตอนสมิงพระรามหนี ]
 
เมื่อนายแจ้ง อายุได้ 14 ปี มารดาก็ตามกลับบ้าน อีกครั้งหนึ่ง แต่ก็ยังติดต่อและร่วมงานกับนายแคล้ว อยู่เป็นประจำ และได้เป็นนักร้องวงดนตรีของนายแคล้ว โดยเป็นนักร้องที่อายุน้อยกว่านักร้องท่านอื่น ๆ ในสมัยเดียวกัน ซึ่งอยุ่ในวัยเดียวกันกับมารดา การร้องเพลงในสมัยก่อนนั้นนายแจ้งค่าตัว 6 สลึง ผู้ใหญ่ได้ค่าตัว 2 บาท แต่นายแจ้งมักได้รางวัลจากคนดูต่างหาก เสร็จงานแล้วบางคืนได้ถึง 30-40 บาท ซึ่งในสมัยนั้นทองราคาเพียงบาทละ 600 บาท