ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เพลงลูกทุ่ง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 169:
==การส่งเสริมเพลงลูกทุ่ง==
[[ไฟล์:ต่าย อรทัย มาลัยทองคำ.jpg|thumb|150px|ต่าย อรทัย รับรางวัลมาลัยทองคำ]]
ได้มีการส่งเสริมเพลงลูกทุ่งด้วยการมอบรางวัลทางดนตรีอย่าง[[ รางวัลมาลัยทอง]] ที่มอบเป็น ขวัญ กำลังใจ ให้คนทำงานเพลงลูกทุ่งที่มีคุณภาพ ทั้งเบื้องหน้าเบื้องหลัง<ref>[http://www.luktungfm.com/malai46/malaithong46.html ผลรางวัลมาลัยทองประจำปี 2546] luktungfm.com</ref> ซึ่งเริ่มจัดมาตั้งแต่ปี [[พ.ศ. 2544]] โดย[[
สมาคมลูกทุ่ง เอฟ. เอ็ม.]]<ref>[http://bangkok.kapook.com/todayexpressnews/230149-3.html “เอกชัย – ฝน” คว้ารางวัล "มาลัยทอง ครั้งที่ 6"] kapook.com</ref> ส่วนทางคลื่นวิทยุลูกทุ่งมหานคร อสมท FM. 95 MHz ภายใต้การผลิตรายการของบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติก็มีการจัดงานมอบ[[ รางวัลมหานครอวอร์ดส]]<ref>[http://radio.mcot.net/fm95/phpQuery.php?id=249&type=1 จ๊ะจ๋ามหานคร] mcot.net</ref>
 
ในปี 2532 สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้จัด[[ งานกึ่งศตวรรษลูกทุ่งไทย]] ครั้งแรก ในวันที่ [[16 กันยายน]] [[พ.ศ. 2532]] ซึ่งเป็นช่วงที่วงการเพลงลูกทุ่งเริ่มซบเซา ซึ่งปรากฏว่ามีบรรดานักฟังเพลงลูกทุ่งมาชมกันมากเป็นประวัติการณ์จนต้องจัดให้มีการถ่ายทอดสดทาง[[สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ]] และในปีถัด ๆ ไปสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ก็ได้สนับสนุนเพลงลูกทุ่งไทยมาโดยตลอด และได้จัด งานกึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย ภาค 2 ในปี พ.ศ. 2533 ซึ่งในปีนี้ เพลง ส้มตำ ถือเป็นเพลงเกียรติยศ ที่นักร้องลูกทุ่งนำมาขับขานในโอกาสการจัดงาน กึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย ภาค 2 เพลงลูกทุ่งที่ [[สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี]] ทรงพระราชนิพนธ์ และได้อัญเชิญมาขับร้องด้วยการบันทึกเสียงโดย พุ่มพวง ดวงจันทร์ และถูกอัญเชิญขับร้องใหม่โดย [[สุนารี ราชสีมา]] ในงานนี้ด้วย<ref>[http://radiothailand.prd.go.th/khonkaen/index.php?option=com_content&task=view&id=423&Itemid=47 ส้มตำ ฟังเพลิน – กินต้องระวัง… ] เขียนโดย สวท.ขอนแก่น </ref> และในปี พ.ศ. 2534 ได้จัดโครงการจัดทำโครงการส่งเสริมเพลงลูกทุ่งไทยด้วยการประกวดขับร้องเพลงลูกทุ่งไทย สืบสานคุณค่าวัฒนธรรมไทย ต่อมาในปี พ.ศ. 2537 จัดให้มีการประกาศผลงานเพลงลูกทุ่งดีเด่นส่งเสริมวัฒนธรรมไทย และ ในวันที [[15 กันยายน]] [[พ.ศ. 2542]] นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล อดีตรัฐมนตรีว่าการ[[กระทรวงศึกษาธิการ]] ประธานกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ในขณะนั้น ได้จัดงาน 60 ปีเล่าขานตำนานลูกทุ่งไทยขึ้น ณ [[ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย]]<ref>[http://www.culture.go.th/knowledge/tfolksong/file01.htm กึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย]</ref>
 
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ยังได้มอบรางวัล[[ศิลปินแห่งชาติ]]ในสาขาต่าง ๆ โดยในหมวดหมู่ศิลปะการแสดง ที่มอบให้กับการดนตรีและการแสดงพื้นบ้าน ซึ่งรวมถึงในหมวดหมู่ย่อยดนตรีไทย ได้รวมเพลงลูกทุ่ง<ref>[http://art.culture.go.th/index.php?case=theater& ศิลปะการแสดง] ศิลปินแห่งชาติ</ref> ผู้ที่ได้รับรางวัลได้แก่ นาวาตรี[[พยงค์ มุกดา]] (เพลงไทยสากล-เพลงลูกทุ่ง ประพันธ์) (2534),นาง[[ผ่องศรี วรนุช]] (เพลงลูกทุ่ง-ขับร้อง) (2535),นาย[[สมเศียร พานทอง]] (ชาย เมืองสิงห์) (เพลงลูกทุ่ง-ขับร้อง ประพันธ์) (2538),นาย[[ไวพจน์ สกุลนี]] (ไวพจน์ เพชรสุพรรณ) (เพลงลูกทุ่ง-ขับร้อง ประพันธ์) (2540),นาย[[ชัยชนะ บุญนะโชติ]] (เพลงลูกทุ่ง-ขับร้อง) (2541),นาย[[ชิน ฝ้ายเทศ]] (ชินกร ไกรลาศ) (เพลงลูกทุ่ง-ขับร้อง) (2542),นาย[[สมนึก ทองมา]] (ชลธี ธารทอง) (เพลงลูกทุ่ง-ประพันธ์) (2542),นาย[[วิเชียร คำเจริญ]] (ลพ บุรีรัตน์) (นักแต่งเพลงลูกทุ่ง) (2548), นาย[[ประยงค์ ชื่นเย็น]] (ดนตรีไทยลูกทุ่ง-เรียบเรียงเสียงประสาน) (2552)<ref>[http://art.culture.go.th/index.php?case=artist&page=1&detail=&side=perf&menusort=all ศิลปินแห่งชาติสาขา ศิลปะการแสดง ๑๐๕ คน ]</ref> นาย[[เพลิน พรหมแดน|สมส่วน พรหมสว่าง]] (เพลิน พรหมแดน) (ดนตรีลูกทุ่ง) (2555)