ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เพลงลูกทุ่ง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 146:
นับตั้งแต่เริ่มมีการบันทึกเสียงลง[[แผ่นเสียง]] เพลงลูกทุ่งครองตลาดเพลง ในปี [[พ.ศ. 2510]] เนื่องจากมีการบันทึกลงเทปแทนแผ่นเสียง และโทรทัศน์เข้ามามีบทบาทมากขึ้น และต่อมาเพลงลูกทุ่งเริ่มเงียบหายลงไปเพราะการเมือง จนมาโด่งดังอีกครั้งในปี 2520 และหายไปอีกครั้งเพราะผลจาก[[เศรษฐกิจ]] และในปี 2541 ธุรกิจในวงการลูกทุ่งก็กลับมาอีกครั้งกับนักร้องใหม่ๆ ธุรกิจแบบใหม่ ๆ<ref>69 ปี ลูกทุ่งไทย. นิตยสารผู้จัดการ ฉบับที่ 291 เดือนธันวาคม 2550 หน้า 118</ref>
 
ในปัจจุบัน ธุรกิจลูกทุ่งมีฐานที่กว้างมากในตลาดวงการเพลง เป็นตลาดใหญ่ มีทั้งค่ายเล็ก ค่ายใหญ่ เป็นจำนวนมาก การแข่งขันก็มากขึ้นเรื่อยๆ โดยสัดส่วนของเงินในตลาดเพลงลูกทุ่งครอง คาดการณ์น่าจะอยู่ที่ ปีละ 1,000-1,500 ล้านบาท เฉพาะธุรกิจเพลงอย่างเดียวไม่รวมกับธุรกิจข้างเคียงอื่นๆ โดยมีตลาดหลักอยู่ที่[[ภาคอีสาน]] 50% [[ภาคเหนือ]]และ[[ภาคกลาง]] 35% และ[[ภาคใต้]] 15% และสัดส่วนการแบ่งตลาด มี[[แกรมมี่ โกลด์]] ครองส่วนแบ่งการตลาดเพลงลูกทุ่งทั่วประเทศ 65% ส่วน[[อาร์สยาม]] 19% และอื่นๆ 16%<ref>[http://www.bcmthailand.com/content.php?data=412122_Agency%20Media การตลาดThrough the Line ปลุกกำลังซื้อเพลงลูกทุ่ง] โดย บิสิเนสไทย 19-9-2007</ref> สำหรับตลาดรวมของธุรกิจในปี 2549 มูลค่าตลาดประมาณ 7,100 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 9 จากปี 2548 และหากเปรียบเทียบกับตลาดเพลงอื่นแล้ว [[เพลงไทยสากล]]เป็นเพลงที่ได้รับความนิยมสูงสุดในตลาด มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 45 รองลงมาคือเพลงลูกทุ่ง ร้อยละ 30 และเพลง[[เพลงสากล]] ร้อยละ 20<ref name="พลังลูกทุ่ง">สมเกียรติ บุญศิริ, [http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=65098 พลังลูกทุ่ง] นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2550</ref>
 
ในปัจจุบันมีศิลปินลูกทุ่งต่างออกผลงานเพลงเป็นจำนวนมาก ทำให้มีการแข่งขันสูง บางศิลปินออกได้ชุดเดียวก็ไปเลย บางคนสองชุด บางคน 5-6 ปี และยังมีปัญหา ความตกต่ำของเศรษฐกิจ เทปผี ซีดีเถื่อนอีก จึงมีบาง[[ค่ายเพลง]]หันมาโปรโมตศิลปินแทนโปรโมตเพลง<ref>สมเกียรติ บุญศิริ, [http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=65119 ลูกทุ่งยุคต่อไป เดินหน้าหรือถอยหลัง] นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2550</ref>
บรรทัด 152:
=== สื่อวิทยุ โทรทัศน์ และภาพยนตร์ ===
[[ไฟล์:ดาวรุ่งลูกทุ่งไทยแลนด์.jpg|thumb|200px|รายการดาวรุ่งลูกทุ่งไทยแลนด์ รายการค้นหานักร้องลูกทุ่งทางโทรทัศน์]]
รายการชิงช้าสวรรค์ เป็นรายการนำเสนอรูปวัฒนธรรมเพลงลูกทุ่งโดยมีการประกวดร้องเพลงและวงดนตรีลูกทุ่งระดับชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนทั่วประเทศไทย ด้านสื่อวิทยุ เดิมทีเพลงลูกทุ่งออกอากาศโดยคลื่น[[เอเอ็ม]] เพราะสามารถส่งสัญญาณไปได้ไกลมาก จนในปี 2540 ได้เกิดสถานีวิทยุเอฟเอ็มขึ้นคือสถานี[[ลูกทุ่งเอฟเอ็ม]] แนวความคิดในการจัดรายการวิทยุเพลงลูกทุ่งจึงเริ่มเปลี่ยนไป ลูกทุ่งเอฟเอ็มเป็นสถานีวิทยุเพลงลูกทุ่ง 24 ชั่วโมง โดยใช้วิธีรูปแบบไม่ให้ดูเชย ดูทันสมัย มีลักษณะรายการเหมือน[[เอ็มทีวี]] แต่เป็นเพลงลูกทุ่ง ซึ่งต่อมาคลื่นนี้ได้รับความนิยมอย่างมาก จนมีการจัดมอบรางวัลมาลัยทองคำขึ้นในปี 2544 และมีการเกิดมาของสถานีลูกทุ่งบนหน้าปัดเอฟเอ็มขึ้นอีกอย่าง [[ลูกทุ่งมหานคร]]<ref name="พลังลูกทุ่ง"/> ที่มีรูปแบบรายการโดยเน้นให้[[ดีเจ]]เป็นเพื่อนกับคนฟัง ซึ่งฐานคนฟังคลื่นลูกทุ่งมหานคร มีคนฟังนาทีละ 300,000 คน จากทั่วประเทศในเครือข่ายของ [[อ.ส.ม.ท.]] โดยเน้นช่วงเวลาระหว่างเที่ยงคืน ตี3 และ ตี5 เพราะมีกลุ่มคนฟังที่ส่งของ ขับรถ [[ชาวสวน]]ที่ตื่นแต่เช้า เป็นต้น<ref>สมเกียรติ บุญศิริ, [http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=65101 FM 95 ลูกทุ่งมหานคร ไพร์มไทม์หลังเที่ยงคืน] นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2550 </ref>
 
ทางด้านวงการโทรทัศน์จากที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงใน[[รายการวาไรอิตีโชว์]]อิตีโชว์ต่าง ๆ ก็มีรายการที่พัฒนาจาก การค้นหานักร้องลูกทุ่ง ที่มีเกิดขึ้นในเวทีการสรรหานักร้องลูกทุ่งเดิม ไม่ว่าจะเป็นเวทีตาม[[อำเภอ]] ระดับ[[จังหวัด]] จนมาสู่รายการ[[เรียลลิตี้โชว์]] แบบรายการ[[ทรู อะคาเดมี่ แฟนเทเซีย]] [[เดอะ สตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาว]] [[เดอะ ซิงเกอร์]] กับ[[โครงการดาวรุ่งลูกทุ่งไทยแลนด์]] เป็นต้น<ref>สมเกียรติ บุญศิริ, [http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=65116 ดาวรุ่งลูกทุ่งไทยแลนด์ บันไดขั้นแรกนักร้องลูกทุ่ง] นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2550</ref>
 
ส่วน[[ภาพยนตร์ไทย]] ก็มีการสร้างภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้อกับเพลงลูกทุ่งอย่างภาพยนตร์เรื่อง ''[[มนต์รักทรานซิสเตอร์]]'' ในปี 2544 กำกับโดย [[เป็นเอก รัตนเรือง]]<ref>ข่าววันที่ 25 มิถุนายน 2545 ผู้จัดการออนไลน์</ref> และในปี 2545 [[สหมงคลฟิล์ม]]มีภาพยนตร์ที่รวมนักร้องลูกทุ่งชั้นนำของเมืองไทยร่วม 168 ชีวิต ในภาพยนตร์เรื่อง ''[[มนต์เพลงลูกทุ่ง เอฟ.เอ็ม.]]''<ref>[http://www.bcmthailand.com/content.php?data=401635_Event%20Marketing มนต์เพลงลูกทุ่งเอฟ.เอ็ม.รับกระแสลูกทุ่งฟีเวอร์] บิสิเนสไทย 15-2-2002</ref> และด้วยกระแสความโด่งดังของวง[[โปงลางสะออน]] กลุ่มศิลปินแนวลูกทุ่งดนตรีอีสาน มีผลงานภาพยนตร์อย่าง [[โปงลางสะดิ้ง ลำซิ่งส่ายหน้า]] ในปี 2550 ทำรายได้รวม 75 ล้านบาท<ref>[http://www.manager.co.th/Entertainment/ViewNews.aspx?NewsID=9510000006034 20 หนังยอดฮิตแดนสยามปี 2550] โดย ผู้จัดการออนไลน์ 16 มกราคม 2551 07:28 น.</ref>
บรรทัด 161:
นับตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงของตลาดเพลงลูกทุ่ง ทำให้สินค้าหลายประเภทต่างปรับกลยุทธ์ หาช่องทางทางด้านธุรกิจ อีกทั้งหน้าตาของเพลงทุ่งที่มีทิศทางที่ดูทันสมัยขึ้น ในช่วงเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงจะมีสินค้าอุปโภคบริโภคที่เจาะกลุ่มตลาดล่าง ราคาถูก ต้องการขายในปริมาณมากๆ ซึ่งเพลงลูกทุ่งสามารถตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดี จริงๆ แล้วรูปแบบที่เกิดกับเพลงลูกทุ่งนั้น ไม่แตกต่างจากวงการ[[เพลงสตริง]]เลย คือมีเจ้าของสินค้าสนับสนุนศิลปินอยู่ แต่สำหรับตลาดเพลงลูกทุ่ง สินค้าจะมีความหลากหลายกว่า และเจาะกลุ่มลูกค้าคนละแบบ
 
สินค้าประเภทเครื่องดื่มชูกำลัง เป็นสินค้าที่ที่ตรงกลุ่มเป้าหมายที่สุดคือ กลุ่มผู้ใช้แรงงาน อย่าง [[เอ็ม150]] ใช้งบประมาณในการจัดงานประมาณปีละ 70 ล้านบาท โดยการสนับสนุนศิลปินแบบครบวงจร ตั้งแต่การออกเทป คอนเสิร์ต มิวสิกวิดีโอ โดยการรุกของสินค้าเข้าไปถึงทางด้านเนื้อเพลงด้วย อย่างเนื้อที่ว่า "คนดีอย่างเธอที่เป็น [[เซเว่นอีเลฟเว่น|เซเว่น]]ไม่มีให้ซื้อ" หรือ "รอเธอในร้าน[[เคเอฟซี]] ที่[[คาร์ฟูร์]]" เป็นตัวอย่างเนื้อเพลงที่มีแบรนด์สินค้าเข้าไปปรากฏอยู่ชัดเจน และเพลงที่มี[[โทรศัพท์มือถือ]]เข้ามาเกี่ยวข้อง ถือว่าเป็นกระแสหลักของเพลงลูกทุ่งในช่วงหลัง ออกมาจำนวนมาก
 
ผู้คนที่ใช้โทรศัพท์มือถือ 27 ล้านคน จากผู้ใช้โทรศัพท์ทั้งประเทศ 45 ล้านคน ทาง[[เอไอเอส]]ใช้พรีเซ็นเตอร์นักร้องลูกทุ่ง 4 คน ที่ได้รับความนิยมคือ [[พี สะเดิด]] [[ฝน ธนสุนทร]] จากแกรมมี่ [[บ่าววี]] และ หลิว [[อาจารียา พรหมพฤกษ์]] จากอาร์สยาม ทำกิจกรรมต่างๆ ทั้งคอนเสิร์ต โหวตศิลปิน และ[[ดาวน์โหลด]][[เพลง]] ด้วยงบประมาณ 30-40 ล้านบาท และทางด้าน[[ทรูมูฟ]] คู่แข่งจะเพิ่มช่องทางขาย[[ซิมการ์ด]]โดยร่วมมือกับคลื่นเพลงลูกทุ่ง ซึ่งทำรายได้ถึงร้อยละ 9.6 จากรายได้รวมของทรูมูฟ ทั้งหมด 22,300 ล้านบาท