ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เพลงลูกทุ่ง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 74:
===ปรากฏการณ์ใหม่ในวิวัฒนาการของเพลงลูกทุ่ง===
ในช่วงเวลาระหว่าง พ.ศ. 2520–2528 วงการเพลงลูกทุ่งและลูกกรุงได้กำเนิด นักร้องเป็นจำนวนมาก วงดนตรีเพลงลูกทุ่งได้เข้าสู่ระบบทุนมากขึ้น
มีการแสดงเพลงลูกทุ่งมีการประกวดประชันการเต้นและเครื่องแต่งกายของ[[หางเครื่อง]]ประกอบด้วย นักแต่งเพลงแนวลูกทุ่งในช่วงเวลานี้ เช่น [[ชลธี ธารทอง]] [[ฉลอง ภู่สว่าง]] [[คัมภีร์ แสงทอง]] [[วิเชียร คำเจริญ]] [[ชัยพร เมืองสุพรรณ]] [[สุชาติ เทียนทอง]] [[ชวนชัย ฉิมพะวงศ์]] [[ดอย อินทนนท์]] [[ดาว บ้านดอน]] ฯลฯ
 
นักร้องชายที่อยู่ในความนิยม เช่น [[สายัณห์ สัญญา]] [[เกรียงไกร กรุงสยาม]] [[สุรชัย สมบัติเจริญ]] [[ยอดรัก สลักใจ]] [[ศรชัย เมฆวิเชียร]] ศรเพชร ศรสุพรรณ พร ไพรสณฑ์ ฯลฯ
 
นักร้องเพลงลูกทุ่งหญิงที่ได้รับการขนานนามว่าราชินีลูกทุ่งในยุคนี้คือ [[พุ่มพวง ดวงจันทร์]] นักร้องหญิงที่ได้รับความนิยมนอกจากพุ่มพวงได้แก่ [[นันทิดา แก้วบัวสาย]] [[ดาวใต้ เมืองตรัง]] [[หงษ์ทอง ดาวอุดร]] [[สดศรี พรหมเสกสรร]] [[อ้อยทิพย์ ปัญญาธรณ์]] ฯลฯ
 
ตั้งแต่ประมาณปี [[พ.ศ. 2528]] เป็นต้นมา เกิดแฟชั่นการแสดงคอนเสิร์ตของนักร้องแนวสตริง ซึ่งเป็นผลให้มีการแสดงคอนเสิร์ตขึ้นในวงการเพลงลูกทุ่งด้วย พุ่มพวง ดวงจันทร์ ได้จัดการแสดงคอนเสิร์ตได้รับความนิยมอย่างสูง จัดขึ้นประมาณกลางปี พ.ศ. 2529 ที่[[เซ็นทรัลพลาซ่า]] ในขณะที่เพลง กระแซะ ของเธอมีความโด่งดังอย่างมาก<ref name="วิวัฒนาการและองค์ประกอบ (2)"/>
 
ในช่วงปี 2531-2535 เป็นช่วงที่ซบเซาสำหรับวงการเพลงลูกทุ่ง เพราะช่วงนี้เพลงสตริงสมัยใหม่ และวัฒนธรรมทางดนตรีจากต่างชาติ เข้าหลั่งไหลทะลักมา ทำให้เกิดปรากฏการณ์ใหม่ ๆ สำหรับวงการเพลงสตริง แต่เพลงลูกทุ่ง กลับไม่ค่อยมีอะไรใหม่ ๆ จนกระทั่ง มีบทเพลง ๆ หนึ่ง ที่ทำให้ลูกทุ่งฟื้นคืนชีพใหม่ และสง่างามมาได้คือ "สมศรี 1992" ของ "ยิ่งยง ยอดบัวงาม" เลยเกิดกระแสเพลงลูกทุ่งลุกฮือขึ้นมาอีกครั้ง ในปี 2535 และช่วงเวลาเดียวกัน ก็เกิดเพลงผสมผสาน ลูกทุ่ง+สตริง มาในสมัยนี้ แต่เรียกเพลงสไตล์นี้ว่า "เพลงร่วมสมัย" เพราะยังติดคำร้องลูกทุ่ง แต่ทำนอง และดนตรี จะออกเหมือนเพลงจีน ๆ คำร้อง สไตล์เมียน้อย เมียเก็บ เช่นเพลง "ทางใหม่" ของ "นิตยา บุญสูงเนิน" แต่ดูโดยรวมลักษณะ ก็ไม่ใช่เพลงลูกทุ่ง และไม่ใช่เพลงสตริงวัยรุ่น และปี 2538-2542 เพลงลูกทุ่ง เริ่มมีการผสมผสานหลากหลายมากขึ้น จนสไตล์ แท้ ๆ แบบลูกทุ่งชาวบ้าน แทบเลือนหายไป