ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เพลงลูกทุ่ง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 49:
[[สุรพล สมบัติเจริญ]] ได้ทำให้เพลงลูกทุ่งอยู่ในความนิยม ด้วยเอกลักษณ์ ลีลา และ รูปแบบเฉพาะตัว อีกทั้งยังแต่งเพลงร้องเองเป็นส่วนใหญ่ เขาเริ่มชีวิตการร้องเพลงจากกองดุริยางค์ทหารอากาศ<ref>[http://www.manager.co.th/Entertainment/ViewNews.aspx?NewsID=9480000110409 รำลึก...สุรพล สมบัติเจริญ] โดย ผู้จัดการออนไลน์ 16 สิงหาคม 2548 17:04 น. </ref> สุรพลชอบใช้เพลงจังหวะรำวงในเพลงที่เขาแต่ง ผลงานเพลงของเขามีลีลาสนุกสนานครึกครื้นเป็นส่วนใหญ่ เช่น เพลงเสียวไส้ เพลงของปลอม ฯลฯ
 
ยุคของสุรพล สมบัติเจริญ อาจกล่าวได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่เพลงลูกทุ่งพัฒนามาถึงจุดสุดยอด เป็นยุคทองของเพลงลูกทุ่ง อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2506 –2513 ในช่วงนี้ สุรพล สมบัติเจริญ ได้ออกผลงานเพลงลูกทุ่งออกมาเป็นจำนวนมากมาย นักแต่งเพลงรุ่นนี้สืบทอดการแต่งเพลงมาจากครูเพลงในยุคต้น ตัวอย่างเช่น[[พีระ ตรีบุปผา]] เป็นศิษย์ของสมยศ ทัศนพันธ์ ส่วนศิษย์ของวงดนตรีจุฬารัตน์ ได้แก่ [[พร ภิรมย์]] [[สุชาติ เทียนทอง]] และ[[ชาย เมืองสิงห์]] นักแต่งเพลงที่สำคัญท่านอื่น ๆ อาทิ [[เพลิน พรหมแดน]] [[จิ๋ว พิจิตร]] [[สำเนียง ม่วงทอง]] [[ฉลอง การะเกด]] [[ชาญชัย บัวบังศร]] [[สมเศียร พานทอง]] ฯลฯ
 
[[เจนภพ จบกระบวนวรรณ]] กล่าวไว้ในหนังสือ [[ดวลเพลงลูกทุ่ง]] ว่า “เพลงลูกทุ่งเฟื่องฟูสุดขีดในยุคสมัยของครูสุรพล สมบัติเจริญ (ประมาณปี 2504-2511) และหลังจากครูสุรพลถูกลอบยิงตายในขณะที่ชื่อเสียงกำลังเกรียงไกร หลังจากนั้นเพลงลูกทุ่งก็พุ่งขึ้นสู่ความนิยมชมชอบของผู้คนทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็นชนบทหรือในเมือง” <ref name="กำเนิดหางเครื่องลูกทุ่งไทย">[http://www.dancerthai.th.gs/web-d/ancerthai/history.html กำเนิดหางเครื่องลูกทุ่งไทย] dancerthai.th.gs</ref>
 
และยังมีนักร้องลูกทุ่งเกิดขึ้นใหม่หลายคน นักร้องเด่นของยุคนี้ได้แก่ [[ไวพจน์ เพชรสุพรรณ]] เพลิน พรหมแดน [[พร ภิรมย์]] ชาย เมืองสิงห์ [[ศรคีรี ศรีประจวบ]] [[ก้าน แก้วสุพรรณ]] [[ไพรวัลย์ ลูกเพชร]] ผ่องศรี วรนุช [[สุชาติ เทียนทอง]] ฯลฯ<ref name="วิวัฒนาการและองค์ประกอบ (1)"/>