ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เหตุการณ์ 14 ตุลา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขของ 2001:44C8:414D:156C:4C52:CAFD:31EF:114B (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย 223.207.250.80
ป้ายระบุ: ย้อนรวดเดียว
Wedjet (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 71:
 
=== การจลาจล ===
[[ไฟล์:2214ตุลา.jpg|thumb|190px|right|การชุมนุมที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย]]
การเดินขบวนครั้งใหญ่จึงเริ่มต้นที่[[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม ออกไปตาม[[ถนนราชดำเนิน]] สู่[[ลานพระบรมรูปทรงม้า]] มีแกนนำเป็นนักศึกษาและมีประชาชนเข้าร่วมด้วยจำนวนมาก (คาดการกันว่ามีราว 500,000 คน) ระหว่างนั้น แกนนำนักศึกษาเข้าพบเจรจากับรัฐบาล และบางส่วนเข้าเฝ้า[[พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร]] พ.ต.อ.[[วสิษฐ เดชกุญชร]]เป็นผู้อัญเชิญพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาอ่านให้แก่ผู้ชุมนุมฟัง ในเวลา 05.30 น. ของวันที่ 14 ตุลาคม 2516 จนได้ข้อยุติเพียงพอที่จะสลายตัว แต่ด้วยอุปสรรคทางการสื่อสาร และมวลชนที่มีอยู่เป็นจำนวนมากไม่อาจควบคุมดูแลได้หมด จึงเกิดการปะทะกัน ระหว่างกำลังตำรวจปราบจลาจลกับผู้ชุมนุม ที่บริเวณ[[ถนนราชวิถี (กรุงเทพมหานคร)|ถนนราชวิถี]]ตัดกับ[[ถนนพระราม 5]] ช่วงหน้า[[พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน]] ซึ่งเป็นทางที่กลุ่มผู้ชุมนุมจะใช้เดินทางกลับ แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจนำโดย พลตำรวจโท [[มนต์ชัย พันธุ์คงชื่น]] ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล พลตำรวจตรี [[ณรงค์ มหานนท์]] รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล<ref>http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2514/D/128/1.PDF</ref> และ พล.ต.ต.[[พิชัย ชำนาญไพร]] กลับไม่ยอมให้ผ่าน เนื่องจากรับคำสั่งจาก พล.ต.ท.[[ประจวบ สุนทรางกูร]] รองอธิบดีกรมตำรวจฝ่ายกิจการพิเศษ เมื่อเวลาประมาณ 06:05 นาฬิกา ของวันอาทิตย์ที่ 14 ตุลาคม 2516 ได้เกิดการปะทะขึ้น โดยการปะทะกันดังกล่าว บานปลายเป็นการจลาจล และลุกลามไปยังท้องสนามหลวง [[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] และถนนราชดำเนินตลอดสาย รวมถึงย่านใกล้เคียง ในช่วงเช้า [[กรมประชาสัมพันธ์]] [[กรมสรรพากร]] โรงแรมรัตนโกสินทร์ กองสลากกินแบ่งรัฐบาล [[กองบัญชาการตำรวจนครบาล (ไทย)|กองตำรวจนครบาลผ่านฟ้า]] ถูกวางเพลิง
 
เส้น 78 ⟶ 77:
ต่อมาในเวลาหัวค่ำ [[สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย]]ประกาศว่า จอมพล ถนอม กิตติขจร ขอลาออกจากตำแหน่งแล้ว และมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งนาย[[สัญญา ธรรมศักดิ์]] อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จากนั้นไม่นาน พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และ[[สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี]] มีพระราชดำรัสทาง[[โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย]]ด้วยพระองค์เอง แต่เหตุการณ์ยังไม่สงบ กลุ่มทหารเปิดฉากยิงปืนเข้าใส่นักศึกษาและประชาชนอีกครั้ง หลังจากพระราชดำรัสทางโทรทัศน์เพียงหนึ่งชั่วโมง นักศึกษาพยายามพุ่งรถบัสที่ไม่มีคนขับ เข้าใส่กองบัญชาการตำรวจนครบาล โดยผู้ชุมนุมนับพันยังไม่วางใจในสถานการณ์ จึงประกาศท้าทาย[[กฎอัยการศึก]] ในเวลา 22:00 นาฬิกา และประกาศว่าจะปักหลักชุมนุม ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยตลอดทั้งคืน เพื่อให้แน่ใจว่าไม่ได้ถูกหลอกอีกครั้ง จนกระทั่งในเวลาหัวค่ำของวันที่ 15 ตุลาคม ได้มีประกาศว่าจอมพลถนอม กิตติขจร จอมพลประภาส จารุเสถียร และพันเอกณรงค์ กิตติขจร เดินทางออกนอกประเทศแล้ว ทางราชการออก
ประกาศของผู้อำนวยการรักษาความปลอดภัยของประเทศ พลเอก [[กฤษณ์ สีวะรา]]<ref>http://www.14tula.com/activity/book14tula13kabod.pdf</ref>ให้ประชาชนนักศึกษากลับเข้าบ้านภายในเวลา 20.00 น. เหตุการณ์จึงค่อยสงบลง และวันที่ 16 ตุลาคม 2516 ผู้ชุมนุมและประชาชน ต่างพากันช่วยทำความสะอาด พื้นถนนและสถานที่ต่างๆ ซึ่งได้รับความเสียหาย<ref>ประวัติศาสตร์การศึกษา วันมหาวิปโยค 14 ตุลา 16 - 6 ตุลา 19 โดย แปลก เข็มพิลา ISBN 974-7753-87-1</ref>ในส่วนของรัฐบาล [[สัญญา ธรรมศักดิ์]]ได้มีการแต่งตั้งพลเอก[[กฤษณ์ สีวะรา]]<ref>[http://www.cabinet.soc.go.th/soc/Program2-3.jsp?top_serl=48702&key_word=&owner_dep=&meet_date_dd=01&meet_date_mm=10&meet_date_yyyy=2516&doc_id1=&doc_id2=&meet_date_dd2=30&meet_date_mm2=10&meet_date_yyyy2=2516 เรื่อง แต่งตั้งผู้อำนวยการรักษาความสงบ]</ref>เป็นผู้อำนวยการรักษาความสงบ อย่างเป็นทางการ
 
<gallery widths="190px" heights="190px" perrow="4">
ไฟล์:1114ตุลา.jpg|การจลาจลในเหตุการณ์ 14 ตุลา
ไฟล์:1014ตุลา.jpg|การปราบผู้ชุมนุมโดยทหาร
ไฟล์:16ตุลา.jpg|นักศึกษาช่างกลรวมตัวกำลังเดินเผชิญหน้ากับฝ่ายทหาร
</gallery>
 
== หลังเหตุการณ์ ==