ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระมหาชนก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Xiengyod~commonswiki (คุย | ส่วนร่วม)
Xiengyod~commonswiki (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 13:
ต่อมาพระเทวีมีพระประสูติกาล ตั้งพระนามพระโอรสตามพระอัยกาว่า "มหาชนก" เมื่อพระมหาชนกเจริญวัยขึ้นและได้ทราบความจริง ก็คิดจะไปค้าขายตั้งตัว แล้วจะเอาเงินทุนที่ได้จากการค้าขายมาใช้ในการชิงราชสมบัติคืน จึงนำเอาสมบัติกึ่งหนึ่งของพระมารดาไปขาย แลกเป็นสินค้าออกเรือไปยังสุวรรณภูมิ ระหว่างทางในมหาสมุทร เรือต้องพายุล่มลง ลูกเรือตายหมดยังแต่พระมหาชนกรอดผู้เดียว ทรงอดทนว่ายน้ำในมหาสมุทรด้วยความเพียร 7 วัน 7 คืน จนได้พบ[[นางมณีเมขลา]] เมื่อนางมณีเมขลาได้โต้ตอบข้อธรรมะกับพระมหาชนกจนเป็นที่พอใจแล้ว นางจึงอุ้มพระมหาชนกไปส่งยังมิถิลานคร ฝ่ายมิถิลานคร พระโปลชนกได้ประชวรและเสด็จสวรรคต เหลือเพียงพระราชธิดานาม "สีวลีเทวี" ก่อนสวรรคตทรงตั้งปริศนาเรื่องขุมทรัพย์ทั้งสิบหกไว้สำหรับผู้จะขึ้นครองราชย์ต่อไป แต่ไม่มีผู้ใดไขปริศนาได้ เหล่าอำมาตย์จึงได้ประชุมกันแล้วปล่อยราชรถ ราชรถก็แล่นไปยังที่มหาชนกบรรทมอยู่ เหล่าอำมาตย์จึงเชิญเสด็จขึ้นครองราชย์และอภิเษกกับสีวลีเทวี ทรงไขปริศนาต่างๆ ได้ และทรงครองราชสมบัติโดยธรรม หลังจากนั้นพระองค์จึงให้อำมาตย์ทั้งหลายรับพระเทวีผู้เป็นพระราชมารดาและอุทิจจพราหมณ์มหาศาลให้ลงมาอยู่ที่กรุงมิถิลาด้วยกัน
 
อยู่มาวันหนึ่งพระมหาชนกได้เสด็จประพาสพระราชอุทยาน ที่พระราชอุทยานนั้นมีต้นมะม่วงต้นใหญ่อยู่สองต้น ต้นหนึ่งมีผลรสชาติวิเศษยิ่งนัก อีกต้นหนึ่งไม่มีผล พระองค์เสวยผลของต้นมะม่วงที่มีผลเพียงเล็กน้อยแล้วเสด็จประพาสในพระราชอุทยานต่อ ทรงดำริว่าจะเสวยให้มากๆ เมื่อถึงตอนเสด็จกลับมาที่ต้นมะม่วงนั้นอีกครั้งจะเสวยผลมะม่วงนั้นอีก ฝ่ายมหาชนทั้งหลายทุกชนชั้นครั้นเห็นพระมหาชนกเสวยผลมะม่วงแล้วก็กรูเข้าแย่งกันเก็บผลมะม่วงนั้นไปกินบ้าง ที่เก็บเอาผลมะม่วงไม่ได้ก็พากันทำลายต้นมะม่วงเสียด้วยหวังว่าจะไม่ให้คนอื่นได้กินเช่นเดียวกับตน เมื่อพระมหาชนกเสด็จกลับมาอีกครั้ง ได้ทอดพระเนตรเห็นต้นมะม่วงที่มีผลโค่นล้มหักทำลายลง ส่วนต้นมะม่วงที่ไม่มีผลยังคงตั้งตระหง่านอยู่ ก็ทรงสลดพระราชหฤทัย ทรงปรารภในข้อธรรมะและคิดหาหนทางแก้ไขในสิ่งที่เกิดขึ้น พระองค์จึงเชิญอุทิจจพราหมณ์มหาศาลมาเพื่อทรงแนะอุบายในการฟื้นฟูต้นมะม่วงที่เสียหายให้กลับมามีผลได้ และทรงปรึกษาเรื่องการตั้งสถานที่อบรมวิชาความรู้ต่างๆ เพื่อขจัดความไม่รู้ของมหาชน อุทิจจพราหมณ์มหาศาลเห็นด้วยกับแนวพระราชดำริดังกล่าวและรับรองว่าจะนำพระราชดำริเหล่านั้นไปปฏิบัติให้บังเกิดผลต่อไป
 
== อ้างอิง ==