ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จุลศักราช"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Xiengyod~commonswiki (คุย | ส่วนร่วม)
ไทๆ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{ต้องการอ้างอิง}}
'''จุลศักราช''' (จ.ศ.; {{lang-pi|Culāsakaraj}}; {{lang-my|ကောဇာသက္ကရာဇ်}}; {{lang-km|ចុល្លសករាជ}}) เป็น[[ศักราช]]ที่เริ่มเมื่อ [[พ.ศ. 1181]] (ค.ศ. 638) นับรอบปีตั้งแต่ 16 เมษายน ถึง 15 เมษายน เดิมเข้าใจกันว่าเป็นศักราชของ[[พม่า]] ปรากฏอยู่ตามตำราโหราศาสตร์ แต่ทว่าปีที่ตั้งจุลศักราชนั้นเป็นเวลาก่อนปีที่[[พระเจ้าอโนรธามังช่อ]]จะประสูติ สันนิษฐานว่าน่าจะตั้งขึ้นในปีที่กษัตริย์[[ปยู]]ขึ้นครองราชย์ และใช้สืบต่อมาจนถึงอาณาจักรพุกาม<ref name=mat-35>Aung-Thwin 2005: 35</ref> เมื่อสมัยอาณาจักรอโยธยาอยุธยารับศักราชนี้ไปใช้ เลยเกิดความเชื่อกันว่าเป็นศักราชของชาวพม่า จุลศักราชถูกนำมาใช้แพร่หลายทั้งใน[[อาณาจักรล้านนา]] [[อาณาจักรสุโขทัยสมัยหลัง]] และ[[อาณาจักรอยุธยา]] ในสมัยของพระเจ้าปราสาททอง ทรงตัดปีจุลศักราช และใช้ปีศักราชจุฬามณีแทน เป็นผลทำให้ปีนักษัตรคลาดเคลื่อนไปสามปี ต่อมาจึงได้เปลี่ยนกลับไปใช้ปีจุลศักราชตามเดิม และตกทอดมาถึงปัจจุบัน การคำนวณปี พ.ศ. จาก จ.ศ. ปฏิทินไทยให้ใช้ปี จ.ศ. บวก 1181 ก็จะได้ปี พ.ศ. (เว้นแต่ในช่วงต้นปีตามปฏิทินสุริยคติที่ยังไม่เถลิงศกจุลศักราชใหม่)
 
ในเอกสารโบราณของไทยจำนวนไม่น้อย นิยมอ้างเวลา โดยใช้จุลศักราช โดยใช้ควบคู่กับ[[ปีนักษัตร]] หรือ ระบุเฉพาะเลขตัวท้ายของจุลศักราช และปีนักษัตร ทำให้สามารถระบุปี ได้ในช่วงกว้างถึงรอบละ 60 ปี (มาจาก [[ครน.]] ของรอบ 10 ปีจากเลขท้ายของจุลศักราช และรอบ 12 ปีของปีนักกษัตร)
บรรทัด 100:
ระบบของไทยและกัมพูชาจะมีการกำหนดชื่อปีในทุกรอบ 12 ปี ด้วยชื่อสัตว์ต่างๆ<ref name=jce-1995-22>Eade 1995: 22</ref> ในประเทศพม่าก็มีการกำหนดชื่อปีลักษณะดังกล่าวเช่นกัน<ref name=ghl-2-330>Luce 1970: 330</ref> แต่ได้สาบสูญไปตั้งแต่ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1638 (ตามปฏิทินไทยคือ พ.ศ. 2080 ย่างเข้า พ.ศ. 2181) [[พระเจ้าตาลูน]]แห่ง[[ราชวงศ์ตองอู|กรุงอังวะ]] ได้ทรงปฏิเสธที่จะใช้ปฏิทินจุลศักราชที่[[พระเจ้าปราสาททอง]]แห่ง[[กรุงศรีอยุธยา]]ได้ทรงกำหนดขึ้นใช้ใหม่ ซึ่งมีการกำหนดชื่อปีนักษัตรในแต่ละปี เนื่องจากการกำหนดชื่อปีนักษัตรด้วยชื่อสัตว์ดังกล่าวไม่ได้มีการใช้ในระบบปฏิทินพม่าแล้ว<ref name=rs-70>Rong 1986: 70</ref>
 
ในอาณาจักรล้านนาและล้านช้างก็ปรากฏว่ามีการกำหนดชื่อปีนักษัตรทั้ง 12 ปี เช่นกัน เรียกว่า ลูกมื้อ <ref>http://www.lanna108.com/article/47/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%B2การนับปีแบบล้านนา</ref> แต่มีการเรียกชื่อแตกต่างจากภาษาไทย (ซึ่งมีชื่อปีตรงกับภาษาเขมรมากกว่า) และกำหนดชนิดสัตว์ประจำปีต่างกันเล็กน้อย<ref name=rs-70>http://www.sri.cmu.ac.th/~maeyinglanna/main8/main6.php</ref>
 
{| class="wikitable" border="1"
บรรทัด 184:
 
==== การเรียกศกตามเลขท้ายปี ====
 
ในระบบปฏิทินแบบจุลศักราชของไทย กัมพูชา จะมีการเรียกชื่อศกตามเลขท้ายปีจุลศักราชโดยใช้ชื่อเรียกอย่างเดียวกันตามลำดับเลขในภาษาบาลี-สันสกฤต ส่วนในล้านนาและล้านช้างก็มีระบบที่คล้ายคลึงกัน คือระบบ "แม่มื้อ" ใช้กำหนดเรียกชื่อศกในทุกรอบ 10 ปี ดังนี้
 
เส้น 246 ⟶ 245:
 
ในอดีต การเรียกชื่อศกตามท้ายเลขปีจุลศักราชของไทยและกัมพูชานั้นจะต้องใช้คู่กับชื่อปีนักษัตรเสมอ ส่วนล้านนาและล้านช้างก็เรียกชื่อปีด้วยแม่มื้อและลูกมื้อในทำนองเดียวกัน ต่างกันที่ระบบของไทยและกัมพูชาจะเอาชื่อปีนักษัตรขึ้นก่อนเลขศก ส่วนระบบของล้านนาล้านช้างจะเอาแม่มื้อ (เลขศก) ขึ้นก่อนลูกมื้อ (ปีนักษัตร) เช่น ปี ค.ศ. 2019 ตามปฏิทินไทยและกัมพูชาตรงกับ '''"ปีกุนเอกศก จุลศักราช 1381"''' เทียบกับระบบแม่มื้อลูกมื้อของล้านนาและล้านช้าง ตรงกับ '''"ปีกาไค้ จุลศักราช 1381"''' เป็นต้น ระบบดังกล่าวนี้ยังคงมีการใช้สืบมาจนถึงปัจจุบัน ยกเว้นในประเทศกัมพูชา ที่แม้จะยังคงการบอกเลขท้ายจุลศักราชไว้ แต่เมื่อบอกเลขปีศักราช กลับเลือกใช้พุทธศักราชแทน เช่น "ปีกุนเอกศก จุลศักราช 1381" ในปฏิทินกัมพูชาจะใช้ว่า '''"ปีกุนเอกศก พุทธศักราช 2563"''' เป็นต้น (ระบบการนับพุทธศักราชของกัมพูชาเร็วกว่าที่ไทยใช้อยู่ 1 ปี)
 
<!--
=== หลักการคำนวณ ===