ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อวัยวะเพศ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
หรอยออิเปรตเห้อ
ย้อนการแก้ไขของ 159.192.99.217 (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย Mopza
ป้ายระบุ: ย้อนรวดเดียว
บรรทัด 1:
{{เตือนเรื่องเพศ}}
[[ไฟล์:CharaV3.jpg|thumb|right|อวัยวะเพศของ[[สาหร่ายสีเขียว]] ''[[Chara (alga)|Chara]]'' เป็น [[Antheridium|antheridia]] เพศผู้ (สีแดง) และ [[Archegonium|archegonia]] เพศเมีย (สีน้ำตาล)]]
'''อวัยวะเพศ''' ({{lang-en|sex organ}}) หรือ '''อวัยวะสืบพันธุ์''' ({{lang-en|reproductive organ, primary sex organ, primary sexual characteristic}}) เป็นโครงสร้างทางกายภาพที่เกี่ยวข้องกับ[[การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ]] ในร่างกายของสิ่งมีชีวิตที่มีความซับซ้อน และเป็นส่วนหนึ่งของ[[ระบบสืบพันธุ์]] อวัยวะที่เห็นได้จากด้านนอกในเพศหญิงและชายเรียกว่าเป็น ''อวัยวะเพศปฐมภูมิ'' หรือ '''อวัยวะสืบพันธุ์''' (genitals, genitalia) ส่วนอวัยวะภายในเรียกว่าเป็น ''อวัยวะเพศทุติยภูมิ'' หรือ ''อวัยวะสืบพันธุ์ภายใน'' ลักษณะที่เริ่มเกิดขึ้นใน[[วัยเริ่มเจริญพันธุ์]] เช่น [[ขนหัวหน่าว]]ในผู้หญิงและผู้ชาย และหนวดในผู้ชาย เรียกว่าเป็น[[การเปลี่ยนแปลงลักษณะทางเพศทุติยภูมิ]] (secondary sex characteristics)
 
[[มอสส์]], [[เฟิร์น]] และพืชบางชนิดที่คล้ายกันมี[[อับเซลล์สืบพันธุ์]] (gametangia) เป็นอวัยวะสืบพันธุ์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ[[แกมีโทไฟต์]] (gametophyte)<ref>{{cite web |url=http://biology.clc.uc.edu/courses/Bio106/mosses.htm |title=Mosses and Ferns |publisher=Biology.clc.uc.edu |date=2001-03-16 |accessdate=2012-08-01 |deadurl=yes |archiveurl=https://web.archive.org/web/20120728014926/http://biology.clc.uc.edu/courses/Bio106/mosses.htm |archivedate=28 July 2012 |df=dmy-all }}</ref> [[ดอกไม้]]ของ[[พืชดอก]]สร้าง[[ละอองเรณู]]และ[[เซลล์ไข่]] ทว่าอวัยวะเพศอยู่ข้างในแกมีโทไฟต์ภายในละอองเรณูและ[[ออวุล]] (ovule)<ref>{{cite web |url=http://www2.estrellamountain.edu/faculty/farabee/BIOBK/BioBookflowers.html |title=Flowering Plant Reproduction |publisher=Emc.maricopa.edu |date=2010-05-18 |accessdate=2012-08-01}}</ref> พืชจำพวกสนก็ผลิตโครงสร้างการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศข้างในแกมีโทไฟต์ภายในลูกสนและละอองเรณู โดยลูกสนและละอองเรณูเองไม่ใช่อวัยวะเพศ
 
== คำศัพท์ ==
ศัพท์[[ภาษาละติน]]คำว่า ''genitalia'' หรือ ''genitals'' ในภาษาอังกฤษถูกใช้บรรยายอวัยวะเพศที่มองเห็นได้จากภายนอกหรือ ''อวัยวะเพศปฐมภูมิ'' ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหมายถึง[[องคชาต]]กับ[[ถุงอัณฑะ]]ของเพศชาย และ[[คลิตอริส]]กับ[[โยนี]]ของเพศหญิง
 
อวัยวะเพศอื่นที่ซ่อนอยู่ถูกเรียกว่า ''อวัยวะเพศทุติยภูมิ'' หรือ ''อวัยวะสืบพันธุ์ภายใน'' อวัยวะที่สำคัญที่สุดได้แก่[[ต่อมบ่งเพศ]] โดยเฉพาะ[[อัณฑะ]]ในเพศชายและ[[รังไข่]]ในเพศหญิง ต่อมบ่งบอกเพศเป็นอวัยวะเพศที่แท้จริงซึ่งผลิต[[เซลล์สืบพันธุ์]]บรรจุ[[ดีเอ็นเอ]]ที่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรม อวัยวะเหลานี้ยังผลิตฮอร์โมนหลักส่วนใหญ่ที่ส่งผลต่อการพัฒนาทางเพศ และควบคุมอวัยวะเพศและพฤติกรรมทางเพศอื่น
 
ในสัตววิทยาทั่วไป ด้วยความหลากหลาบของรูปร่างหน้าตาอวัยวะและพฤติกรรม[[การร่วมเพศ]] อวัยวะสืบพันธุ์เพศผู้ถูกให้ความหมายว่าเป็น "โครงสร้างเพศผู้ที่ถูกสอดใส่เข้าไปในเพศเมียหรือถูกค้างไว้ใกล้รูเปิด (gonopore) ระหว่างการถ่ายทอดน้ำอสุจิ" ส่วนอวัยวะสืบพันธุ์เมียถูกให้ความหมายว่า "ส่วนของระบบสืบพันธุ์เพศเมียที่สัมผัสกับอวัยวะสืบพันธุ์เพศผู้โดยตรงหรือสัมผัสกับผลผลิตเพศชาย (น้ำอสุจิ, ถุงน้ำเชื้อ) ระหว่างหรือหลังการร่วมเพศ"<ref>Eberhard, W.G., 1985. Sexual Selection and Animal Genitalia. Harvard University Press</ref>
 
== สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ==
{{anchor|Human genitals}}
 
=== อวัยวะภายนอกและภายใน ===
ส่วนของอวัยวะสืบพันธุ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมซึ่งเห็นได้จากภายนอกได้แก่ [[ถุงอัณฑะ]]และ[[องคชาต]] สำหรับผู้หญิง ได้แก [[โยนี]] ([[แคม (อวัยวะเพศ)|แคม]], [[คลิตอริส]] และอื่น ๆ) รวมถึง [[ช่องคลอด]]
 
ใน[[ยูเธอเรีย|สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีสายรก]] เพศเมียมีรูเปิดของอวัยวะสืบพันธุ์สองรู (ช่องคลอดและท่อปัสสาวะ) ส่วนเพศผู้มีเพียงแค่รูเดียวคือท่อปัสสาวะ<ref name="Wake1992">{{cite book|author=[[Marvalee H. Wake]]|title=Hyman's Comparative Vertebrate Anatomy|url=https://books.google.com/books?id=VKlWjdOkiMwC&pg=PA583|accessdate=6 May 2013|date=15 September 1992|publisher=University of Chicago Press|isbn=978-0-226-87013-7|pages=583}}</ref> อวัยวะสืบพันธุ์ทั้งเพศผู้และเมียมีปลายประสาทจำนวนมากส่งผลให้รู้สึกดีเมื่อถูกสัมผัส<ref>[https://books.google.com/books?id=gbsZyQ1_muUC&pg=PT13&dq=&hl=en&sa=X&ei=tUF7T_LBIYaL8gPv9-SkCA&ved=0CE8Q6AEwBQ#v=onepage&q=&f=false Sexual Intimacy in Marriage] William Cutrer</ref><ref>[https://books.google.com/books?id=I9xrbK6CwzUC&pg=PA9&dq=&hl=en&sa=X&ei=oD97T8mgD-Or0QX0_d2uCQ&ved=0CEoQ6AEwBA#v=onepage&q=&f=false Daphne's Dance: True Tales in the Evolution of Woman's Sexual Awareness] Brigitta Olsen</ref> ในสังคมมนุษย์ส่วนใหญ่ โดยเฉพาะในกลุ่มที่ถือคติอนุรักษนิยม มองการแสดงอวัยวะเพศว่าเป็น[[การแสดงลามกอนาจาร]]<ref>[https://books.google.com/books?id=fxYhR6hqc3QC&pg=PA219&dq=&hl=en&sa=X&ei=_-IzT8-4N4bN0QXNwcm0Ag&ved=0CDoQ6AEwAQ#v=onepage&q=&f=false Unpopular Privacy: What Must We Hide?] retrieved 9 February 2012</ref>
 
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมมีอวัยวะเพศดังนี้:
{| class="wikitable"
|-
! [[เพศชาย]]
 
! [[เพศหญิง]]
|-
|
*[[ต่อมคาวเปอร์]]
****[[Frenulum of labia minora|minora]]
*[[เอพิดิไดมิส]] (Epididymis)
 
*[[องคชาต]]
**[[หนังหุ้มปลาย]]
**[[เส้นสองสลึง]]
**[[ส่วนหัวขององคชาต]] (Glans penis)
*[[ต่อมลูกหมาก]]
*[[ถุงอัณฑะ]]
*[[ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ]] (seminal vesicles)
*[[อัณฑะ]]
[[ไฟล์:ShortForeskin.jpg|thumb|center|รูปอวัยวะเพศชายภายนอก]]
|
*[[ต่อมบาร์โทลิน]]
*[[ท่อนำไข่]] (Fallopian tube)
*[[รังไข่]]
*[[Skene's gland]]
*[[มดลูก]]
**[[ปากมดลูก]] (Cervix)
*[[ช่องคลอด]]
*[[โยนี]]
**[[เยื่อพรหมจรรย์]]
**[[คลิตอริส]]
***[[Clitoral frenulum]]
***[[Clitoral glans]] (glans clitoridis)
***[[Clitoral hood]]
**[[แคม (อวัยวะเพศ)|แคม]]
***[[แคมใหญ่]]
***[[แคมเล็ก]]
****[[Frenulum of labia minora|minora]]
[[ไฟล์:Vulva with tiny labia minora.jpg|thumb|upright|center|รูปอวัยวะเพศหญิงภายนอก (หลังโกนขนหัวหน่าว)]]
|}
 
=== พัฒนาการ ===
<br />
ในพัฒนาการก่อนเกิด (prenatal development) ทั่วไป อวัยวะเพศชายและหญิงมาจากโครงสร้างเดียวกันระหว่างช่วงแรกของการตั้งครรภ์ ต่อมาจึงค่อยแยกเป็นเพศชายหรือหญิง ยีน SRY (sex-determining region) หรือจุดบอกเพศใน[[โครโมโซมวาย]]เป็นปัจจัยกำหนดให้สิ่งมีชีวิตแสดงลักษณะทางเพศชายแทนที่จะเป็นเพศหญิง (testis determing factor) [[ต่อมบ่งเพศ]]จะพัฒนาต่อไปเป็นรังไข่หากไม่มีปัจจัยกำหนดให้เปลี่ยนเป็นเพศชาย
 
ต่อมาการพัฒนาอวัยวะสืบพันธุ์ภายในและภายนอกกำหนดโดยฮอร์โมนสร้างจาก[[ต่อมบ่งเพศ]]ของทารกในครรภ์ (รังไข่หรืออัณฑะ) ส่งผลให้เซลล์ตอบสนองตาม อวัยวะเพศของทารกในครรภ์ตอนแรกมีลักษณะเหมือนอวัยวะเพศหญิง โดยมี "รอยพับอวัยวะเพศและทางเดินปัสสาวะ (urogenital fold)" คู่หนึ่งและท่อปัสสาวะอยู่ด้านหลังส่วนที่ยื่นออกมาตรงกลาง หากทารกมีอัณฑะ และหากอัณฑะสร้างฮอร์โมน[[เทสโทสเตอโรน]] และหากเซลล์ของอวัยวะเพศตอบรับต่อเทสโทสเตอโรน รอยพับจะขยายตัวและเชื่อมต่อกันในเส้นผ่ากลางกลายเป็นถุงอัณฑะ ส่วนที่ยื่นออกมาขยายใหญ่ข้นและตั้งตรงกลายเป็นองคชาต ส่วนขยายอวัยวะเพศและทางเดินปัสสาวะด้านในโตขึ้นห่อรอบองคชาต และเชื่อมต่อกันตรงเส้นกลางเป็นท่อปัสสาวะ
 
แต่ละส่วนของอวัยวะเพศในเพศหนึ่งมีคู่เหมือนกำเนิดเดียวกันในอีกเพศ ขั้นตอนทั้งหมดของการแยกเพศรวมถึง[[การเปลี่ยนแปลงลักษณะทางเพศทุติยภูมิ]] เช่น รูปแบบของขนหัวหน่าวและขนบนใบหน้า รวมถึงหน้าอกของผู้หญิงในวัยเริ่มเจริญพันธุ์ นอกจากนี้ยังเริ่มมีความแตกต่างในโครงสร้างสมอง ทว่าอาจไม่ได้กำหนดพฤติกรรม
 
[[ภาวะเพศกำกวม]]เป็นพัฒนาการของอวัยวะเพศที่อยู่ระหว่างเพศหญิงและเพศชาย เมื่อทารกเกิดมา ผู้ปกครองต้องทำการตัดสินใจว่าจะปรับแต่งอวัยวะเพศหรือไม่, จัดให้เด็กเป็นเพศหญิงหรือชาย หรือปล่อยอวัยวะเพศไว้อย่างนั้น ผู้ปกครองบางคนอาจให้แพทย์เป็นผู้ตัดสินใจ หากพวกเขาตัดสินใจที่จะปรับแต่งอวัยวะเพศ พวกเขามีโอกาส 50% ที่จะเลือกตรงกับ[[เอกลักษณ์ทางเพศ]] (gender identity) ของเด็ก หากพวกเขาเลือกผิดเพศ เด็กอาจแสดงอาการ[[ภาวะอยากแปลงเพศ|อยากแปลงเพศ]] และอาจทำให้เด็กมีชีวิตที่ยากลำบากจนกว่าจะแก้ปัญหา<ref name="Anne Fausto Sterling">{{cite book|last=Fausto Sterling|first=Anne|title=Sexing The Body|year=2000|publisher=New York|location=New York|pages=44–77}}</ref>
 
ด้วยความแตกต่างระหว่างโครงสร้างและการใช้งานของอวัยวะเพศทำให้เป็นระบบอวัยวะที่พัฒนาเร็วกว่าระบบอื่น<ref>Schilthuizen, M. 2014. [https://books.google.nl/books?id=xqM7AgAAQBAJ&pg=PT2&dq=nature%27s+nether+regions&hl=nl&sa=X&ei=iV3xVOmpLob7PJaagRA&ved=0CCQQ6AEwAA#v=onepage&q=nature's%20nether%20regions&f=false Nature's Nether Regions: What the Sex Lives of Bugs, Birds, and Beasts Tell Us About Evolution, Biodiversity, and Ourselves]. Penguin USA</ref> ดังนั้นในสัตว์ต่าง ๆ จึงมีรูปแบบและการใช้งานของอวัยวะเพศที่หลากหลาย
 
== อ้างอิง สิ่งที่ใช้ ในการ เอากัน ==
{{รายการอ้างอิง}}