ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ศิลป พีระศรี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
จันทราสว่าง (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 40:
เมื่อแรกเริ่มการเข้ารับราชการ ศาสตาจารย์คอร์ราโดทำสัญญารับราชการในสยามเป็นระยะเวลา 3 ปี ด้วยอัตราเงินเดือน 800 บาท แต่ในตอนแรกก็ยังไม่ได้รับการยอมรับมากเท่าใดเนื่องจากยังไม่มีใครได้เห็นฝีมือของท่าน จนกระทั่งท่านได้มีโอกาสเข้าเฝ้าสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ซึ่งได้ประทับทดลองเป็นแบบปั้นให้อาจารย์คอร์ราโด และปรากฏว่าศาสตรจารย์คอร์ราโดสามารถปั้นได้อย่างสมจริงเป็นอย่างมาก กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์จึงกราบบังคมทูลฯ เชิญให้รัชกาลที่ 6 มาเป็นแบบจริงให้แก่ศาสตรจารย์คอร์ราโด โดยปั้นเฉพาะพระพักตร์ เป็นที่พอพระราชหฤทัย และเป็นที่ยอมรับของคนในกระทรวง แรกเริ่มศาสราจารย์คอร์ราโดได้วางหลักสูตรอบรมให้แก่ผู้ที่สนใจในวิชาประติมากรรมซึ่งส่วนมาจบการศึกษามาจาก[[โรงเรียนเพาะช่าง]]โดยไม่เก็บค่าธรรมเนียมใดๆ ซึ่งต่อมาบุคคลที่ผ่านการอบรมก็ได้เป็นหนึ่งในกำลังสำคัญของกิจการงานปั้นหล่อของกรมศิลปากร ทำให้ทางราชการได้ขอให้ศาสตราจารย์คอร์ราโดวางหลักสูตรการศึกษารูปแบบเดียวกันกับสถาบันศิลปยุโรป
 
ศาสตรจารย์คอร์ราโดได้วางหลักสูตรวิชาจิตรกรรมและประติมากรรประติมากรรมขึ้นพร้อมกับก่อตั้ง เพื่อใช้ใน[[โรงเรียนประณีตศิลปกรรม]]ขึ้น สังกัดกรมศิลปากร ที่[[พระสาโรชรัตนนิมมานก์ (สาโรช สุขยางค์)]] ก่อตั้งขึ้น ภายหลังได้รวมโรงเรียนเข้ากับโรงเรียนนาฏยดุริยางคศาสตร์และเปลี่ยนชื่อเป็น “[[โรงเรียนศิลปากรแผนกช่าง]]” และพัฒนาการเรียนการสอนเรื่อยมา จนในปี [[พ.ศ. 2485]] [[กรมศิลปากร]]ได้แยกจาก[[กระทรวงศึกษาธิการ]]ไปขึ้นอยู่กับสำนักนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลในขณะนั้นโดย ฯพณฯ[[จอมพล ป.พิบูลสงคราม]] นายกรัฐมนตรีตระหนักถึงความสำคัญของศิลปะว่าเป็นวัฒนธรรมที่สำคัญยิ่งสาขาหนึ่งของชาติ จึงได้มีคำสั่งให้ [[อธิบดีกรมศิลปากร]] ในขณะนั้นคือ [[พระยาอนุมานราชธน]] ดำเนินการปรับปรุงหลักสูตร และตรา[[พระราชบัญญัติ]] ยกฐานะโรงเรียนศิลปากรขึ้นเป็น [[มหาวิทยาลัยศิลปากร]] เมื่อวันที่ [[12 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2486]] โดยจัดตั้ง[[คณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร|คณะจิตรกรรมและประติมากรรม]] ขึ้นเป็นคณะวิชาแรก ซึ่งศาสตราจารย์คอร์ราโดก็ได้ดำรงตำแหน่งคณบดีคนแรกของมหาวิทยาลัยคณะจิตรกรรมควบคู่ไปกับตำแหน่งอาจารย์ผู้สอนอีกด้วย
 
=== การได้รับสัญชาติไทยและชีวิตในบั้นปลาย ===