ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เหี้ย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Peeravich23 (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Torpido (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 62:
 
[[รัชกาลที่ 1]] ทรงโปรดการเสวยไข่เหี้ยมาก ครั้งหนึ่งมีโปรดจะเสวยไข่เหี้ยกับมังคุด แต่หาไม่ได้ เนื่องจากขณะนั้นไม่ใช่ฤดูกาลเหี้ยวางไข่ [[เจ้าจอมแว่น ในรัชกาลที่ 1|เจ้าจอมแว่น]]จึงได้ประดิษฐ์ขนมชนิดหนึ่งขึ้นมา โดยให้มีความใกล้เคียงกับไข่เหี้ยมากที่สุด คือ "ขนมไข่เหี้ย" ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น "[[ขนมไข่หงส์]]" ในช่วง[[รัชกาลที่ 4]]<ref>{{cite web|title=ตัวเงินตัวทองกับคำพังเพย “เกลียดตัวกินไข่ เกลียดปลาไหลกินน้ำแกง”|first=โกวิท|last=วงศ์สุรวัฒน์|date=2016-05-11|accessdate=2016-09-25|url=http://www.matichon.co.th/news/132070|work=มติชน}}</ref>
 
เชื่อว่าคำว่าเหี้ยเริ่มกลายมาเป็นคำหยาบและคำด่าทอในสมัยรัชกาลที่ 4 เนื่องจากก่อนหน้านั้น เหี้ย ก็ยังถูกบันทึกไว้ในวรรณกรรมของ[[เจ้าฟ้ากุ้ง]]ในสมัย[[กรุงศรีอยุธยา]]ในฐานะเป็นแค่ชื่อเรียกสัตว์เลื้อยคลานชนิดนี้เท่านั้น โดยเป็นการเรียกเพี้ยนมาจาก[[ภาษาจีนแต้จิ๋ว]]คำว่า "ตั่วเฮีย" ({{lang-zh|大哥}}) ซึ่งหมายถึง พี่ชายคนโต หรือพี่ใหญ่ เนื่องจากในสมัยนั้นมีการปราบปราม[[ฝิ่น]] และชาวจีนที่อาศัยอยู่ในประเทศสยามขณะนั้นถือได้ว่าเป็นผู้เสียผลประโยชน์จากการปราบปรามฝิ่น จึงออกล้างแค้นโดยฆ่าฟันชาวสยามล้มตายเป็นจำนวนมาก ดังนั้นชาวสยามในเวลานั้นจึงได้ใช้คำว่า ตั่วเฮีย เป็นคำด่าทอและเพี้ยนมาเป็น "ตัวเหี้ย" หรือ "เหี้ย" ในที่สุด<ref>{{cite web|url=https://program.thaipbs.or.th/UrbanWild/episodes/63251|work=[[ไทยพีบีเอส]]|date=2019-09-08|accessdate=2019-09-13|title=
เหี้ย นักกำจัดซาก "ตัวซวย"}}</ref>
 
ชาวบูกิต ซึ่งเป็นชาวพื้นเมืองบน[[เกาะซูลาเวซี]] ในอินโดนีเซีย ซึ่งนับถือศาสนาอิสลาม เชื่อว่าเหี้ยเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ โดยเชื่อว่าเป็นวิญญาณบรรพบุรุษที่กลับมาเกิดใหม่ในร่างของสัตว์เลื้อยคลาน มีตำนานเล่าว่ากษัตริย์โกอา ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของชาวบูกิตมีโอรสฝาแฝดสององค์ที่เพิ่งกำเนิดมา โอรสผู้ที่เป็นมนุษย์ได้ตายไป แต่อีกองค์หนึ่งเป็นเหี้ย พระองค์จึงรักเหี้ยมาก แต่หลังจากนั้นไม่นานเหี้ยก็ไม่ยอมกินอะไรจนเป็นที่กลัวว่าอาจจะตาย พระองค์จึงนำไปปล่อยที่ปากแม่น้ำ จึงทำให้ชาวบูกิตจะรักและเลี้ยงดูเหี้ยเสมือนหนึ่งว่าเป็นลูกหลานของตนเอง มีการเลี้ยงดูและอาบน้ำให้เป็นอย่างดี และเมื่อถึงเวลาจะมีพิธีแห่นำเหี้ยไปปล่อยที่แม่น้ำ ด้วยหวังว่าสักวันหนึ่งเหี้ยจะกลับหามาตนและครอบครัวอีกครั้ง ซึ่งน้ำที่เหี้ยลงไปว่ายถือเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์สามารถนำไปดื่มกินหรืออาบได้ ซึ่งความเชื่อนี้แม้ถูกมองว่าแปลกสำหรับสายตาคนนอก เพราะไม่มีอยู่ในหลักศาสนาอิสลาม แต่นี่เป็นความเชื่อดั้งเดิมที่มีมาก่อนที่ศาสนาอิสลามจะเข้ามาเผยแผ่ และชาวบูกิตก็นำเอาความเชื่อนี้มาผนวกเข้ากับศาสนา โดยเชื่อว่าผู้ที่เข้าร่วมพิธีปล่อยเหี้ยลงแม่น้ำ จะได้บุญเสมอเหมือนกับการได้ไป[[จาริกแสวงบุญ]]ที่[[นครเมกกะ]]<ref>{{cite web|url=http://www.zed.fr/en/tv/distribution/catalogue/programme/messengers-of-sulawesi-52|title=MESSENGERS OF SULAWESI 52'|first=Jean-Michel|last= Corillion|work=zed|language=France}}</ref>
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/เหี้ย"