ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ชาวมอญ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 32:
[[พระเจ้าอโนรธา]] กษัตริย์พม่าแห่ง[[พุกาม]] ยกทัพมาตีอาณาจักรสุธรรมวดีและกวาดต้อนผู้คน ทรัพย์สมบัติ พระสงฆ์ พระไตรปิฎก กลับไปพุกามจำนวนมาก ต่อมาระหว่างปี 1600-1830 กรุงหงสาวดี ตกอยู่ใต้อำนาจพุกาม แต่กระนั้นพม่าก็รับวัฒนธรรมมอญมาด้วย ไม่ว่าจะเป็น[[ภาษามอญ]]ได้แทนที่[[ภาษาบาลี]]และ[[สันสกฤต]]ในจารึกหลวง และพุทธศาสนานิกายเถรวาทได้เป็นศาสนาที่นับถือสูงสุดในพุกาม มอญยังมีความใกล้ชิดกับลังกา ซึ่งขณะนั้นเป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนานิกายเถรวาท และนิกายเถรวาทก็แพร่กระจายไปทั่ว[[เอเชียอาคเนย์]]
 
[[พระเจ้าจานซิต้า]]ทรงดำเนินนโยบายผูกมิตรกับราชตระกูลของพระเจ้ามนูหะ กษัตริย์มอญแห่งสะเทิม โดยยกพระราชธิดาให้กับเจ้าชายมอญ พระนัดดาที่ประสูติจากทั้งสองพระองค์นี้ ก็ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระองค์ พระนามว่า [[พระเจ้าอลองสิธู]] ในยุคที่พระองค์ปกครองอาณาจักรพุกามได้รวมตัวกันเป็นปึกแผ่นมากที่สุด นอกจากนี้ในสมัยของพระเจ้าจั่นจานซิตาต้ามีศิลาจารึกยกย่องไว้ว่า วัฒนธรรมมอญเหนือกว่าวัฒนธรรมพม่าอีกด้วย
 
ต่อมาในปี พ.ศ. 1830 [[จักรวรรดิมองโกล]]ยกทัพมาตีพุกาม ทำให้มอญได้รับเอกราชอีกครั้ง มะกะโท หรือ[[พระเจ้าฟ้ารั่ว]] ราชบุตรเขยของ[[พ่อขุนรามคำแหง]]ได้ทรงกอบกู้เอกราชมอญจากพม่า และสถาปนา [[อาณาจักรหงสาวดี]] พระองค์มีมเหสีเป็นราชธิดาของพ่อขุนรามคำแหง มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมาะตะมะ ต่อมาในสมัย[[พระยาอู่]] ได้ย้ายราชธานีมาอยู่ ณ เมืองพะโคหรือหงสาวดี ราชบุตรของพระองค์คือพญาน้อย ซึ่งต่อมาก็คือ [[พระเจ้าราชาธิราช]] ผู้ทำสงครามยาวนานกับกษัตริย์พม่าอังวะ ในสมัย[[พระเจ้าฝรั่งมังศรีชวา|พระเจ้าสวาซอเก]] กับสมัย[[พระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง|พระเจ้ามิงคอง]] (คนไทยเรียกว่า พระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง ในหนังสือเรื่อง [[ราชาธิราช]]) ขุนพลสำคัญของพระเจ้าราชาธิราช ก็คือ [[สมิงพระราม]], [[สมิงนครอินทร์|ละกูนเอง]] และแอมูน-ทยา ในสมัยของพระเจ้าราชาธิราชนั้นหงสาวดีกลายเป็นอาณาจักรที่มีอาณาเขตกว้างใหญ่ ครอบคลุมตั้งแต่ชายฝั่งทะเล[[อ่าวเบงกอล]] จาก[[แม่น้ำอิรวดี]]ขยายลงไปทางตะวันออกถึง[[แม่น้ำสาละวิน]] และเป็นศูนย์กลางทางการค้าที่ใหญ่โตมีเมืองท่าที่สำคัญหลายแห่งในหลายลุ่มน้ำ เช่น [[เมาะตะมะ]], [[แม่น้ำสะโตง|สะโตง]], [[พะโค]], [[พะสิม]] อาณาจักรมอญยุคนี้เจริญสูงสุดในสมัย[[พระนางเชงสอบู]]และสมัย[[พระเจ้าธรรมเจดีย์]] หลังจากนั้นในสมัย[[พระเจ้าสการะวุตพี]]หงสาวดีก็เสียแก่[[พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้]] ในปี พ.ศ. 2081
 
พ.ศ. 2283 [[สมิงทอพุทธกิตติ|สมิงทอพุทธิเกศ]] กู้เอกราชคืนมาจากพม่าได้สำเร็จ และสถาปนา [[อาณาจักรหงสาวดีใหม่]] ทั้งได้ยกทัพไปตี[[อังวะ|เมืองอังวะ]] ในปี พ.ศ. 2290 [[พญาทะละ]]ได้ครองอำนาจแทนสมิงทอพุทธิเกศพุทธกิตติ ขยายอาณาเขตอย่างกว้างขวางทำให้[[อาณาจักรตองอู]]ของพม่าสลายตัวลง จนในปี พ.ศ. 2300 [[พระเจ้าอลองพญา]] ก็กู้อิสรภาพของพม่ากลับคืนมาได้ ทั้งยังได้โจมตีมอญ กษัตริย์องค์สุดท้ายของมอญคือ พระเจ้าพญามองธิราชหรือพญาทะละ<ref>[http://www.monstudies.com/show_content.php?topic_id=135&main_menu_id=1 มอญ : ชนชาติบนแผ่นดินสุวรรณภูมิ]</ref>
 
== วัฒนธรรม ==
บรรทัด 91:
'''ครั้งที่ 5''' ใน พ.ศ. 2204หรือ 2205 ชาวมอญในเมือง[[เมาะตะมะ]]ก่อการกบฏขึ้นอีก แต่ถูกพม่าปราบลงได้ จึงต้องอพยพหนีเข้ากรุงศรีอยุธยาอีกระลอกหนึ่ง ผ่านทาง[[ด่านเจดีย์สามองค์]] เข้าใจว่ากลุ่มนี้สัมพันธ์กับกลุ่มชาวมอญที่ตั้งอยู่ชายแดน
 
'''ครั้งที่ 6''' หลังจากที่ชาวมอญสามารถตั้งอาณาจักรของตนขึ้นได้ใหม่ในปลายราชวงศ์ตองอู แล้วยกกำลังไปตีกรุงอังวะแตก ต่อมาสมัย[[พระเจ้าอลองพญา]]รวบรวมกำลังพม่าแล้วลุกขึ้นต่อสู้จนในที่สุดก็ตั้ง[[ราชวงศ์คองบโก้นบอง]]ได้ และใน พ.ศ. 2300 ก็สามารถตี[[หงสาวดี]]ได้อีก นโยบายของราชวงศ์นี้คือกลืนมอญให้เป็นพม่าโดยวิธีรุนแรง จึงมีชาวมอญอพยพหนีมาสู่เมืองไทยอีกหลายระลอก รวมทั้งกลุ่มที่หนีขึ้นเหนือไปสู่ล้านนา และเรียกกันว่าพวกเม็งในปัจจุบันนี้
 
'''ครั้งที่ 7''' ใน พ.ศ. 2316 ตรงกับสมัยกรุงธนบุรี ชาวมอญก่อกบฏใน[[ย่างกุ้ง]] พม่าปราบปรามอย่างทารุณแล้วเผาย่างกุ้งจนราบเรียบ ทำให้มอญอพยพเข้าไทยอีก [[พระเจ้าตากสิน]]โปรดฯ ให้ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่[[ปากเกร็ด]] ซึ่งทำให้เกิดกลุ่มมอญเก่า (พระยารามัญวงศ์) และมอญใหม่ ([[พระยาเจ่ง]]) คนที่นับตัวเองเป็นชาวมอญในปัจจุบันล้วนอพยพเข้ามาจากระลอกนี้หรือหลังจากนี้ ส่วนชาวมอญที่อพยพก่อนหน้านี้กลืนหายเป็นไทยไปหมด แม้แต่กลุ่มที่อยู่ตามชายแดนแถบเมือง[[กาญจนบุรี]]
บรรทัด 97:
'''ครั้งที่ 8''' พ.ศ. 2336 เมื่อ[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก]] ยึดเมือง[[ทวาย]]ได้ แต่รักษาไว้ไม่ได้ ต้องถอยกลับเข้าไทย ก็นำเอาชาวมอญโดยเฉพาะที่เป็นพวกหัวหน้าเข้ามา
 
'''ครั้งที่ 9''' พ.ศ. 2357 ในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย]] เมื่อชาวมอญไม่พอใจที่ถูกพม่าเกณฑ์แรงงานก่อสร้างพระ[[เจดีย์]] ได้ก่อกบฏที่เมือง[[เมาะตะมะ]] ถูกพม่าปราบ ต้องหนีเข้าไทยเป็นระลอกใหญ่มาก ราว 40,000 คนเศษ เจ้าฟ้ามงกุฎ (ต่อมาคือ[[รัชกาลที่ 4]]) เสด็จเป็นแม่กองพร้อมด้วยกรมหลวงพิทักษ์มนตรี ออกไปรับถึงชายแดน พวกนี้มาตั้งรกรากที่สามโคก ([[ปทุมธานี]]), [[ปากเกร็ด]] และ[[พระประแดง]] มอญที่อพยพเข้ามาครั้งนี้เรียกกันว่ามอญใหม่<ref>จุลลดา ภักดีภูมินทร์, [http://www.sakulthai.com/DSakulcolumndetail.asp?stcolumnid=1460&stissueid=2486&stcolcatid=2&stauthorid=13 เล่าเรื่องมอญ] บทความ-สารคดี ฉบับที่ 2486 ปีที่ 48 ประจำวันอังคารที่ 11 มิถุนายน 2545</ref>
 
=== ชุมชนมอญ ===
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ชาวมอญ"