ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Famefill (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Oohlanla (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มเติมเนื่อหา เนื่องจากมีผู้ก่อกวนลบเนื้อหาก่อนหน้านี้
บรรทัด 24:
| การยกเลิก = ประกาศใช้[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560]]แทน
}}
 
ปัจจุบันรัฐธรรมนูญฉบับนี้สิ้นสุดลงแล้วเมื่อมีการประกาศใช้[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560]]
'''รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557''' เป็น[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย]] ฉบับที่ 19 ซึ่งเป็นฉบับชั่วคราว จัดทำร่างโดย[[คณะรักษาความสงบแห่งชาติ]] (คสช.) [[คณะผู้ยึดอำนาจการปกครอง]]หลัง[[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557|รัฐประหาร]]เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ซึ่ง[[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]]พระราชทานพระบรมราชานุญาตและลงพระปรมาภิไธยเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 โดยมีพลเอก [[ประยุทธ์ จันทร์โอชา]] ในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 131 ตอนที่ 55 ก และมีผลใช้บังคับเป็น[[กฎหมาย]]ทันที แทนที่[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550]] ปัจจุบันรัฐธรรมนูญฉบับนี้สิ้นสุดลงแล้วเมื่อมีการประกาศใข้[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560]]
== ที่มา ==
 
วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้ก่อรัฐประหาร ทำให้[[คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 60|คณะรัฐมนตรีรักษาการ]]สิ้นสุดลง คณะที่มีนาย[[นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล]] เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี และในวันเดียวกัน คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้ประกาศให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 สิ้นสุดลง เว้นหมวด 2 พระมหากษัตริย์ <ref name="รธน.57">{{Cite web|title=รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ |url=http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/A/055/1.PDF|publisher=[[ราชกิจจานุเบกษา]] |accessdate=27 ตุลาคม 2558}}, เล่ม ๑๓๑, ตอน ๕๕ ก, ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๗, หน้า ๑-๑๗</ref><ref>{{cite web | title = คสช. ประกาศสิ้นสุด รธน. คงอำนาจ สว. | trans_title = | language = Thai | date = 2014-05-22 | accessdate = 2014-05-22 | publisher = Post Today | url = http://www.posttoday.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87/296427/%E0%B8%84%E0%B8%AA%E0%B8%8A-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%98%E0%B8%99-%E0%B8%84%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%AA%E0%B8%A7}}</ref>
ทั้งนี้ ในอารมภบทของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ระบุว่า การจัดให้มีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 อยู่ในแนวทางการแก้ปัญหาระยะที่ 2 จากที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้กำหนดไว้ทั้งสิ้น 3 แนวทาง ซึ่งแนวทางการแก้ปัญหาระยะที่ 2 จะจัดให้มีรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว จัดตั้งสภาขึ้นทำหน้าที่ในทางนิติบัญญัติ ให้มีคณะรัฐบาลบริหารราชการแผ่นดินแก้ไขสถานการณ์อันวิกฤติให้กลับคืนสู่สภาวะปกติ จัดตั้งสภาปฏิรูปแห่งชาติและองค์กรต่างๆ เพื่อให้มีการปฏิรูปในด้านการเมืองและด้านอื่นๆ และให้มีการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ก่อนจะส่งมอบภารกิจเหล่านี้แก่ผู้แทนปวงชนชาวไทยและคณะรัฐบาลที่จะเข้ามาบริหารราชการแผ่นดินในระยะต่อไป ซึ่งในการดำเนินการนี้จะให้ความสำคัญแก่หลักการพื้นฐานยิ่งกว่าวิธีการในระบอบ[[ประชาธิปไตย]] จึงจำเป็นต้องใช้เวลาสร้างบรรยากาศแห่งความสงบเรียบร้อยและปรองดอง เพื่อนำความสุขที่สูญหายไปนานกลับคืนสู่ประชาชน และปฏิรูปกฎเกณฑ์บางเรื่องที่เคยเป็นชนวนความขัดแย้ง จึงให้มีรัฐธรรมนูญฉบับนี้ จนกว่าจะได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่จะจัดทำขึ้นตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ต่อไป<ref name="รธน.57"/>
 
วันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2557 มีประกาศว่าจะมีการร่างรัฐธรรมนูญชั่วคราวเพื่อให้มีผลใช้บังคับแทนรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 โดยศาสตราจารย์ ดร.[[วิษณุ เครืองาม]] เป็นหัวหน้าคณะร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ <ref name = "draft"/>
 
วันที่ 22 มีนาคม 2559 [[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]]พระราชทานพระบรมราชานุญาตและลงพระปรมาภิไธย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2559 โดยมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 133 ตอนที่ 25 ก <ref>http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/A/025/1.PDF</ref>
 
ในวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2559 [[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]] ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยและพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2559 ที่กำหนดให้มีการแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพิ่มเติมจากเดิม 220 คนเป็น 250 คน โดยได้มีการประกาศลง [[ราชกิจจานุเบกษา]] เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2559 และให้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2559 <ref> [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/A/077/1.PDF รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2559] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 133 ตอน 77 ก หน้า 1 1 กันยายน พ.ศ. 2559 </ref>
 
== เนื้อหา ==
 
รัฐธรรมนูญนี้มีทั้งหมด 48 มาตรา
 
รัฐธรรมนูญฉบับนี้เปิดทางให้สถาปนา[[สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ประเทศไทย) พ.ศ. 2557|สภานิติบัญญัติแห่งชาติ]]เพื่อใช้อำนาจนิติบัญญัติ [[คณะรัฐมนตรีคณะที่ 61 ของไทย|คณะรัฐมนตรีชั่วคราว]]เพื่อรับผิดชอบการบริหารราชการแผ่นดิน [[สภาปฏิรูปแห่งชาติ]] (และต่อมา[[สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ]]) เพื่อดำเนินการปฏิรูปประเทศอย่างกว้างขวางและอนุมัติร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และ[[กรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ]]เพื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ทว่า รัฐธรรมนูญไม่ได้ระบุกรอบเวลาที่แน่นอนสำหรับงานเหล่านี้<ref name = "prachatai">{{cite web | title = 2014 Interim Charter to re-engineer Thai political landscape | url = http://www.prachatai.com/english/node/4244 | publisher = Prachatai | author = Taweporn | date = 2014-07-24 | accessdate = 2014-07-27 }}</ref>
 
รัฐธรรมนูญฉบับนี้กำหนดให้ตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สภาปฏิรูปแห่งชาติ และคณะรัฐมนตรีชั่วคราว โดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติมีสมาชิก 200 คน มาจากการเลือกโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และเกินกึ่งหนึ่งเป็นนายทหาร<ref name = "legislature">{{cite web | title = คาดทหารนั่ง สนช. ครึ่งสภาจาก 200 คน - รธน. ชั่วคราว ม. 17 คงอำนาจเหนือ รบ. | url = http://www.isranews.org/isranews-news/item/30767-rotono-kosoco.html#.U6vOL3OpKzE.twitter | date = 2014-06-26 | accessdate = 2014-06-27 | publisher = Isara News }}</ref> สภาปฏิรูปแห่งชาติมีสมาชิก 250 คน ซึ่งมาจากการเลือกโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติเช่นกัน<ref name = "reformcouncil">{{cite web | title = เปิดสเปค สภาปฏิรูป - สนช. คสช. เลือกเอง | url = http://www.prachatai.com/journal/2014/06/54116 | date = 2014-06-20 | accessdate = 2014-06-27 | publisher = Prachatai }}</ref>
 
รัฐธรรมนูญฉบับนี้ยังกำหนดการเตรียมรัฐธรรมนูญถาวรฉบับใหม่ซึ่งจะมีคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญซึ่งมีสมาชิก 35 คน โดย 20 คนมาจากสภาปฏิรูป 5 คนมาจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 5 คนมาจากคณะรัฐมนตรีชั่วคราว และ 5 คนมาจาก คสช.<ref name = "draft">{{cite web | title = คสช. สั่งตัดทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ | trans_title = NCPO orders deletion of referendum on new charter draft | url = http://www.isranews.org/isranews-news/item/30646-คสช-สั่งแก้รธน-ฉบับใหม่-ไม่ต้องทำประชามติ.html#.U6eRvdbz7Vo.twitter | publisher = Isara News | language = Thai | date = 2014-06-23 | accessdate = 2014-06-23 }}</ref> สภาปฏิรูปจะอนุมัติร่างรัฐธรรมนูญก่อนกราบทูลฯ พระมหากษัตริย์ลงพระปรมาภิไธยผ่านเป็นกฎหมาย<ref name = "reformcouncil"/> เดิมกำหนดให้รัฐธรรมนูญถาวรฉบับร่างได้รับอนุมัติจากพลเรือนในการลงประชามติทั่วประเทศก่อนนำขึ้นทูลเกล้าฯ ทว่า คสช. ไม่อนุมัติข้อกำหนดดังกล่าว และข้อกำหนดนี้ถูกลบไป<ref name = "draft"/> รัฐธรรมนูญชั่วคราวจะกำหนดให้ คสช. ควบคุมคณะรัฐมนตรีชั่วคราวและให้อำนาจ คสช. ออกคำสั่งใด ๆ ที่เห็นว่าชอบด้วยกฎหมายเพื่อความมั่นคงของชาติ<ref name = "legislature"/>
 
=== บทบัญญัติทั่วไป ===