ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เฉลียง (วงดนตรี)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 11:
|อดีตสมาชิก=[[สมชาย ศักดิกุล]]}}
 
'''เฉลียง''' เป็นชื่อของ[[วงดนตรีไทย]] ที่มีผลงานระหว่างปี พ.ศ. 2525 - พ.ศ. 2534 ทั้งหมด 6 ชุด เฉลียงเป็นวงดนตรีวงแรก ๆ ที่บุกเบิกเพลงแนวแปลกใหม่ ทั้งด้านเนื้อหาและท่วงทำนอง ให้กับวงการเพลงไทย มีผู้ก่อตั้งและผู้แต่งเพลงส่วนใหญ่ของวงเฉลียงคือ จิก - [[ประภาส ชลศรานนท์]]
 
ภายหลังจากออกผลงานชุดสุดท้ายในปี พ.ศ. 2534 เฉลียงยังคงมีการรวมตัวกันเล่นคอนเสิร์ตและออกผลงานเพลงเฉพาะกิจเป็นครั้งคราว
บรรทัด 40:
'''เฉลียง'''เกิดจากการรวมกันของกลุ่มนิสิต[[คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย|คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์]] [[จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] ประกอบด้วย จิก - [[ประภาส ชลศรานนท์]] และเจี๊ยบ - [[วัชระ ปานเอี่ยม]] ทำเพลงตัวอย่างให้ดี้ - [[นิติพงษ์ ห่อนาค]] นำไปร้อง ก่อนจะนำไปขอให้เต๋อ - [[เรวัต พุทธินันทน์]] อำนวยการผลิตให้
 
หลังจากเต๋อได้ฟังแล้วพบว่าดี้ร้องเสียงเพี้ยนต่ำไม่เหมาะกับการเป็นนักร้องนำ จึงเสนอให้เล็ก - [[สมชาย ศักดิกุล]] ที่ขณะนั้นเป็นนักดนตรีอาชีพอยู่มาเป็นนักร้องคู่กับเจี๊ยบในผลงานชุดแรก ในปี [[พ.ศ. 2525]] ซึ่งแท้จริงแล้วไม่มีชื่อชุด แต่เนื่องจากหน้าปกที่ออกแบบโดยจิกมีรูปฝน จึงถูกเรียกว่าชุด ''ปรากฏการณ์ฝน'' ตามชื่อเพลงเพลงหนึ่งในชุดนั้น แต่หลังจากผลงานชุดแรกออกมาไม่ประสบความสำเร็จทั้งด้านรายได้และเสียงตอบรับ มียอดขายไม่เกิน 4,000 - 5,000 ม้วน <ref>''เฉลียงเรื่องราวบนแผ่นไม้'' หน้า 65</ref> เฉลียงจึงไม่ได้ออกผลงานอีกเป็นระยะเวลา 4 ปี
 
=== ยุคที่สอง ===
ในปี [[พ.ศ. 2529]] จิกมีผลงานเพลงอยู่ชุดหนึ่งที่เคยมีความคิดให้เกี๊ยง - [[เกียรติศักดิ์ เวทีวุฒาจารย์]] รุ่นน้องร่วมคณะที่เคยร่วมร้องเพลงประกอบโฆษณาที่จิกแต่ง ออกผลงานเป็นศิลปินเดี่ยว แต่เนื่องจากอุปสรรคด้านผู้สนับสนุน จึงทำให้โครงการไม่เกิดขึ้น จนกระทั่ง จุ้ย - [[ศุ บุญเลี้ยง]] หนึ่งในเจ้าของอัลบั้ม ''ปรากฏการณ์ฝน'' และมีความประทับใจในเพลงเที่ยวละไม จึงติดต่อกับจิกเพื่อนำผลงานเพลงของตัวเองไปให้พิจารณา และไปชนกับผลงานเพลงเดี่ยวที่ถูกพับไว้ของเกี๊ยง จึงเกิดความคิดที่จะรวมตัวเป็นศิลปินคู่ในชื่อ ''ไปยาลใหญ่'' แต่จิกยังไม่พอใจในผลงานบางเพลง จึงเสนอให้เจี๊ยบและดี้กลับมารวมวงอีกครั้งเป็นวงเฉลียงในยุคที่สองหรือยุคคลาสสิก แต่เนื่องจากในหลายบทเพลงมีเสียงของ[[แซกโซโฟน]] จึงได้ชักชวนให้แต๋ง - [[ภูษิต ไล้ทอง]] นักดนตรีเครื่องเป่าที่เคยร่วมงานกันเมื่อครั้งยังเป็นนิสิตมาร่วมเป็นสมาชิกวงอีกคน ก่อนจะออกผลงานชุดแรกในยุคที่สองกับค่าย[[ครีเอเทีย]]คือ ''อื่นๆ อีกมากมาย'' อำนวยการดนตรีโดย ทรงวุฒิ จรูญเรืองฤทธิ์ และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากนักฟังเพลงมีการออกแสดงคอนเสิร์ตและมิวสิกวีดีโอ
 
ต้นปี [[พ.ศ. 2530]] เฉลียงออกผลงานเพลงชุดที่สามกับค่าย[[คีตา เรคคอร์ดส|คีตาแผ่นเสียงและเทป]] (ต่อมาคือ[[คีตา เรคคอร์ดส]]และ[[คีตา เอนเตอร์เทนเมนท์]]) ในชุด ''เอกเขนก'' มีเพลง ''[[เร่ขายฝัน]]'' ที่ถูกทำเป็นมิวสิกวีดีโอยาว 9 นาที และได้รับรางวัลมิวสิกวิดีโอยอดเยี่ยมจาก[[สมาคมผู้กำกับศิลป์กรุงเทพฯ]] (B.A.D. Awards) ประจำปี พ.ศ. 2530 นอกจากผลงานบทเพลงแล้ว ชื่อเสียงของเฉลียงทำให้ได้เล่นโฆษณาของน้ำอัดลม[[เป๊ปซี่]] ซึ่งเพลงประกอบโฆษณาที่ดัดแปลงมาจากเพลง ''รู้สึกสบายดี'' ก็ได้รับรางวัลจากสมาคมผู้กำกับศิลป์กรุงเทพฯ เช่นเดียวกัน <ref>''เฉลียงเรื่องราวบนแผ่นไม้'' หน้า 141-143</ref>
 
ปลายปี พ.ศ. 2530 เฉลียงออกผลงานเพลงชุดที่สี่คือ ''เฉลียงหลังบ้าน'' ที่ผลงานเพลงส่วนใหญ่เป็นบทเพลงประกอบละครเรื่องต่างๆ ที่จิกเป็นผู้แต่ง และได้จัดแสดงคอนเสิร์ต ''หัวบันไดไม่แห้ง'' ที่หอประชุมใหญ่ [[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] ท่าพระจันทร์ เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531 เป็นการปิดอัลบั้ม ''เฉลียงหลังบ้าน''
 
=== ยุคที่สาม ===
หลังจากคอนเสิร์ต ''หัวบันไดไม่แห้ง'' ซึ่งเป็นคอนเสิร์ตปิดอัลบั้ม ''เฉลียงหลังบ้าน'' แล้ว จุ้ยที่งานส่วนตัวเริ่มรัดตัวและดี้ที่ต้องกลับไปเป็นนักแต่งเพลงให้กับ [[จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่|แกรมมี่ เอ็นเตอร์เทนเมนต์]] ได้ตัดสินใจขอยุติบทบาทกับวง จิกจึงชักชวนให้นก - ฉัตรชัย ดุริยประณีต [[นักแต่งเพลง]]ที่เคยส่งเพลงมาให้เขาพิจารณาเข้ามาเพิ่มเป็นสมาชิกอีกคนหนึ่งในเฉลียงยุคที่สาม ที่มีสมาชิก 4 คน ในเดือนมีนาคม [[พ.ศ. 2532]] และมีผลงานชุดแรกในยุคที่สามคือ ''แบ-กบาล'' มิวสิกวีดีโอที่มีชื่อเสียงของชุดนี้คือ ''ใจเย็นน้องชาย'' ที่ได้รับรางวัลชมเชยประเภทมิวสิกวีดีโอดีเด่นของคณะกรรมการ[[รางวัลโทรทัศน์ทองคำ|โทรทัศน์ทองคำ]]<ref>''เฉลียงเรื่องราวบนแผ่นไม้'' หน้า 175</ref> เฉลียงมี ''คอนเสิร์ตปิดท้ายทอย'' ที่[[ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย]]ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2532
 
และผลงานชุดสุดท้ายของเฉลียงซึ่งออกในปี [[พ.ศ. 2534]] คือ ''ตะไคร่น้ำสุดขอบฟ้า'' มีเนื้อหาหลักเกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ธรรมชาติ และมีการเปลี่ยนแปลงในส่วนของแนวเพลงจาก[[ดนตรีสวิง|สวิงแจ๊ส]]มาเป็น[[โฟล์กร็อก]] ทำให้เฉลียงได้รับรางวัล[[สีสันอะวอร์ดส์]]ถึง 2 รางวัล คือรางวัลเพลงยอดเยี่ยมในเพลง ''โลกาโคม่า'' และรางวัลศิลปินกลุ่มยอดเยี่ยม แต่เนื่องจากภาระและหน้าที่การงานส่วนตัวของสมาชิกแต่ละคนทำให้การทำการตลาดและการออกแสดงคอนเสิร์ตเป็นไปได้ยาก เฉลียงจึงประกาศยุบวงในที่สุด โดยมีเพลงสุดท้ายของเฉลียงอยู่ในอัลบั้มตะไคร่น้ำสุดขอบฟ้า คือ ''ฝากเอาไว้''<ref>''เฉลียงเรื่องราวบนแผ่นไม้'' หน้า 193</ref>
 
== ผลงาน ==
บรรทัด 189:
ต่อมาในวันที่ 2-3 ธันวาคม พ.ศ. 2543 วงเฉลียงได้มารวมตัวกันจัดคอนเสิร์ตสั่งลาอีกครั้งในชื่อ ''คอนเสิร์ตเรื่องราวบนแผ่นไม้'' แสดงที่หอประชุมใหญ่ [[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] ท่าพระจันทร์<ref>[http://www.chaliang.com/calendar.asp?ID=12 ปฏิทินเฉลียงเดือนธันวาคม] จากเว็บวงเฉลียง</ref> และได้ออกผลงานอีกชุดเป็นชุดพิเศษที่มีจำหน่ายหน้าคอนเสิร์ต คือ ชุด ''[http://www.chaliang.com/new/Albumc655.html นอกชาน]'' ซึ่งเป็นการรวบรวมเพลงใหม่ที่แต่งมาใหม่ในช่วง 7 ปีที่ผ่านมา และในคอนเสิร์ต ดี้ได้ประกาศอำลาแฟนเพลงและบอกว่าจะไม่รวมตัวเล่นคอนเสิร์ตกันอีก การแสดงรอบสุดท้ายของคอนเสิร์ตนี้อาจเป็นประวัติศาสตร์ของวงการดนตรีว่าเป็นคอนเสิร์ตที่ใช้เวลาหลังจากจบการแสดงยาวนานที่สุด เนื่องจากภายหลังแสดงเพลงสุดท้ายไปเรียบร้อยแล้ว แฟนเพลงเฉลียงปรบมือต่อเนื่องเป็นเวลายาวนาน ทำให้ดี้ออกมาประกาศว่าจะไม่ลงจากเวทีจนกว่าแฟนเพลงคนสุดท้ายที่ต้องการลายเซ็นจะเดินทางกลับ นอกจากนั้นวงยังออกมาแสดงเพลง [http://www.youtube.com/watch?v=hE49dc7cF0s&list=PLfJhkM7KfAcdP7NBa3ILdefHp_8njIUFY&index=27 เรื่องราวบนแผ่นไม้] เพลงประจำคอนเสิร์ตอีกครั้งหนึ่ง โดยมีจิกซึ่งเป็นผู้แต่งร่วมร้องด้วยเป็นครั้งแรก
 
พ.ศ. 2550 สมาชิกวงเฉลียงทั้ง 6 คนใน 2 ยุคสุดท้ายสุดหลังกลับมารวมตัวกันจัดคอนเสิร์ตอีกครั้งเพื่อจัดหารายได้ให้กับสมาคมนิสิตเก่าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสนับสนุนด้านการศึกษาของคณะ มีชื่อว่า [[เหตุเกิด...ที่เฉลียง]] และมีนิยามว่า "ดนตรีบำบัด ถาปัดจัด เฉลียงโชว์" ที่จุ้ยเป็นผู้ตั้ง<ref>[http://www.komchadluek.net/2007/06/09/f001_122011.php? เฉลียงกลืนน้ำลายตัวเอง ขึ้นเวทีอีกครั้งเพื่อ 'ถาปัด'] ข่าวจากหนังสือพิมพ์คมชัดลึก</ref> แสดงที่ [[อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี]] จำนวน 2 รอบในวันเสาร์ที่ 30 มิถุนายน เวลา 13.00 น. และ 19.00 น. โดยมีเพลงใหม่ที่แสดงในคอนเสิร์ตนี้ คือ ''เธอหมุนรอบฉัน ฉันหมุนรอบเธอ''<ref>[http://www.chaliang.com/concert2550.html หน้างานคอนเสิร์ตจากเวบวงเฉลียง]</ref> และล่าสุด วงเฉลียงก็ได้กลับมารวมตัวกันจัดคอนเสิร์ตอีกครั้งในชื่อ ''ปรากฏการณ์เฉลียง'' แสดงที่ [[รอยัลพารากอนฮอลล์]] [[สยามพารากอน]] ในวันที่ 17-18 กันยายน พ.ศ. 2559<ref>[http://createintelligence.co.th/2016/05/ปรากฏการณ์เฉลียง/ การกลับมาขึ้นเวทีคอนเสิร์ตเต็มรูปแบบอีกครั้ง ของเฉลียง!]</ref><ref>[http://www.chaliangteam.com/home.html คอนเสิร์ต โตโยต้า พรีเซนต์ '''ปรากฏการณ์เฉลียง''' ที่ รอยัล พารากอน ฮอลล์]</ref>
 
=== เอกลักษณ์ของคอนเสิร์ตเฉลียง ===