ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 36:
| footnote =
}}
'''วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก''' เป็นวัดของคณะสงฆ์ฝ่าย[[ธรรมยุติกนิกาย]]ที่[[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร]]มีพระราชดำริให้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2538 ตั้งอยู่เลขที่ 999 ซอยพระราม 9 ซอย 19 [[ถนนพระราม 9]] แขวงห้วยขวาง [[เขตห้วยขวาง]] [[กรุงเทพมหานคร]] เป็นวัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคมสีมา<ref>[[ราชกิจจานุเบกษา]], [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2541/D/057/87.PDF ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานวิสุงคามสีมา (วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก)], เล่ม ๑๑๕, ๕๗ ง , ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๑, หน้า ๘๗</ref> และได้รับการยกขึ้นเป็นพระอารามหลวงเป็นกรณีพิเศษในตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2542<ref>[[ราชกิจจานุเบกษา]], [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2543/D/021/7.PDF ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ยกวัดราษฎร์เป็นพระอารามหลวง (วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก)],เล่ม ๑๑๗, ๒๑ ง , ๑๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๓, หน้า ๗</ref> ปัจจุบันมี[[พระธรรมบัณฑิต (อภิพล อภิพโล)]] เป็นเจ้าอาวาส<ref>วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก . แหล่งข้อมูล :http://watphraram9.org/about/</ref>
 
== ก่อนจะมาเป็นวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก ==
บรรทัด 42:
สืบเนื่องจากสภาพสังคมไทยในปัจจุบันปัญหาเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม นับเป็นปัญหาใหญ่ที่ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น ซึ่งชุมชนบึงพระราม ๙ ก็เป็นสถานที่อีกแห่งหนึ่ง ที่ปราบปัญหาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เนื่องจากจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น อันก่อให้เกิดปัญหาน้ำเน่าเสีย ส่งผลให้เกิดการทำลายสภาพแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน กอรปกับแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งเป็นแหล่งปลายทางรับน้ำเสียจากทุกหนแห่ง ได้เริ่มเสื่อมโทรมลงทุกขณะ หากไม่เร่งแก้ไขปัญหาต่างๆ ก็จะตามมาอย่างไม่หยุดยั้ง
 
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้นกับประชาชนและประเทศชาติ จึงมีพระราชดำริให้ทดลองแก้ไขปัญหาน้ำเสียด้วยวิธีเติมอากาศ ณ บริเวณบึงพระราม ๙ ในลักษณะเป็นระบบบำบัดน้ำเสียขนาดเล็กและทำการทดสอบการบำบัดน้ำเน่าเสียที่ไหลมาตามคลองลาดพร้าวบางส่วนให้มีคุณภาพดีขึ้น โดยใช้วิธีเติมอากาศลงไปในน้ำและปล่อยให้น้ำตกตะกอนแล้วปรับสภาพก่อนระบายออกสู่ลำคลองตามเดิม รวมทั้งการปรับปรุงคุณภาพน้ำซึ่งเป็นการนำน้ำสะอาดจากแม่น้ำเจ้าพระยามาชะล้างทำความสะอาดคลองและระบายลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง โดยอาศัยจังหวะน้ำขึ้น – น้ำลง ตามธรรมชาติ อันเป็นการบรรเทาปัญหาได้ในระดับหนึ่ง
 
== สวนสาธารณะ คือ ปอด และบึงพระราม ๙ คือไต ของกรุงเทพมหานคร ==
[[ไฟล์:กังหันน้ำชัยพัฒนา.jpeg|left|200px|thumb|กังหันน้ำชัยพัฒนาภายในวัด]]
{{โครงส่วน}}
จากพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรที่ได้พระราชทานไว้เกี่ยวกับการบำบัดน้ำเสียในเขตกรุงเทพมหานคร โดยการฟอกน้ำเสียให้เป็นน้ำดี ซึ่งจากนั้นเป็นต้นมาพื้นที่บริเวณบึงพระราม ๙ ก็ได้รับการพัฒนาและเป็นตัวอย่างในการบรรเทาแก้ไขปัญหาสภาพแวดล้อมเกี่ยวกับน้ำเน่าเสียให้แก่กรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นการพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของราษฎรในบริเวณพื้นที่ดังกล่าวให้ดีขึ้น
 
โครงการบึงพระราม ๙ จึงได้กำเนิดขึ้น โดยมีการดำเนินงานในเขตที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งอยู่ติดกับคลองลาดพร้าวฝั่งทิศตะวันตก และด้านใต้จรดกับคลองแสนแสบ มีพื้นที่ประมาณ ๑๓๐ ไร่ เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่เดือนมีนาคม ๒๕๓๑ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วยสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) กรมชลประทาน สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และกรุงเทพมหานคร ร่วมกันดำเนินงานในการเพิ่มประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียที่บึงพระราม ๙ ให้มีคุณภาพดีขึ้น เพื่อบรรเทาปัญหาน้ำเน่าเสียและเป็นการระบายน้ำซึ่งส่งผลต่อสภาพแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของชุมชนบึงพระราม ๙ ให้ดียิ่งขึ้น จวบจนกระทั่งปัจจุบัน
บรรทัด 53:
== ศูนย์รวมแห่งจิตใจ กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม ==
{{โครงส่วน}}
เมื่อการดำเนินการแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสีย ตามโครงการบึงพระราม ๙ ดำเนินการไปได้ระดับหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จึงได้พระราชทานพระราชดำริเพิ่มเติม เมื่อวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๓๑ ให้มีการดำเนินการปรับปรุงสภาพพื้นที่ และชุมชนในพื้นที่บริเวณใกล้เคียงกับโครงการบึงพระราม ๙ ดังกล่าว พร้อมกันนั้นก็ให้มีการจัดตั้งวัดขึ้นในที่ดินที่อยู่ใกล้เคียงกัน ซึ่งนางสาวจวงจันทร์ สิงหเสนี ได้น้อมเกล้าฯ ถวายที่ดินจำนวน ๘ – ๒ – ๕๔ ไร่ และได้รับการอนุญาตให้สร้างวัดจากกรมการศาสนา เมื่อวันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๓๔ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานนามวัดแห่งนี้ว่า “ วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก ” โดยมีสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เป็นองค์อุปถัมภ์ฝ่ายสงฆ์ และสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีเป็นองค์อุปถัมภ์ฝ่ายฆราวาส ในการนี้ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการดำเนินงานก่อสร้างวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษกขึ้น โดยมีนายจริย์ ตุลยานนท์ กรรมการมูลนิธิชัยพัฒนา เป็นประธานคณะอนุกรรมการดำเนินการก่อสร้างวัด ทำหน้าที่ในรับผิดชอบในการดำเนินการก่อสร้างวัดให้เป็นไปตามพระราชประสงค์ ในลักษณะวัดขนาดเล็กที่มีลักษณะเรียบง่าย ประหยัด และทันสมัย เป็นศูนย์รวมแห่งจิตใจ และศรัทธา เป็นแหล่งเผยแพร่ความรู้ ทั้งทางศาสนา สังคม และจริยธรรม แก่เยาวชน และประชาชนในชุมชน เพื่อขัดเกลาจิตใจของชุมชนให้มีจิตสำนึกต่อสังคมโดยส่วนรวมอันจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติต่อไป
 
ดังพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในการเปิดประชุมยุวพุทธิกสมาคม ครั้งที่ ๑๔ วันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๑๘ ความตอนหนึ่งดังต่อไปนี้
 
“...จุดมุ่งหมายโดยตรงแท้ของศาสนาทั้งปวง และโดยเฉพาะของพระพุทธศาสนามุ่งจะให้บุคคลศึกษาพิจารณาหลักการ และแนวความคิดในศาสนธรรม และน้อมนำมาเป็นที่ยึดเหนี่ยวและปฏิบัติด้วยตนเองตามความสามารถ เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการครองชีวิต คือให้เกิดความผาสุก ความร่มเย็น และความเจริญในแต่ละบุคคลในส่วนรวม และให้เกิดความบริสุทธิ์หลุดพ้นอันเป็นปรมัตถประโยชน์ ดังนั้นการบำรุงส่งเสริมพระศาสนาจึงควรจะได้กระทำให้ถูกเป้าหมาย...”
บรรทัด 65:
ในส่วนของพระอุโบสถจะเป็นลักษณะผสมผสานกลมกลืนระหว่างสถาปัตยกรรมสมัยโบราณผสมผสานกับสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ ซึ่งให้เกิดความเป็นเอกลักษณ์ โดยคำนึงถึงประโยชน์แห่งการใช้สอยเป็นสำคัญ และเมื่อวันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๔๐ กระทรวงศึกษาธิการจึงได้ประกาศตั้งวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก เป็นวัดในพระพุทธศาสนาอย่างสมบูรณ์
 
ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ยกฐานะวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษกเป็นพระอารามหลวงเป็นกรณีพิเศษ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒ ซึ่งได้ผ่านมติของมหาเถรสมาคม เมื่อวันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๔๒ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
 
== บันทึกการก่อสร้าง ==
บรรทัด 71:
การดำเนินการก่อสร้าง วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก เริ่มดำเนินการโดยการถมดินปรับพื้นที่โครงการก่อสร้างวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก ที่บริเวณบึงพระราม ๙ แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร นับตั้งแต่วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๓๘ และเริ่มงานก่อสร้างอาคารวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษกเมื่อวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๙
 
จากนั้น เมื่อวันจันทร์ที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๓๙ เวลาประมาณ ๖.๐๐ น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ทรงวางศิลาฤกษ์พระอุโบสถวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก และทรงเปิดอาคารเรียน โรงเรียนวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก
 
== อาณาเขตที่ตั้งวัด ==