ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฮิปฮอปไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
หัวใจร้าว (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
หัวใจร้าว (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 30:
เป็นที่ทราบกันดีว่า อิทธิพลของดนตรีแร็ปต่อสังคมไทยในปัจจุบันที่เด่นชัด คงไม่พ้นปรากฏการณ์เพลงแร็ป “ประเทศกูมี” ที่มียอดวิวในยูทูบถึงเกือบสี่สิบล้านวิว และเป็นข่าวใหญ่ในตอนนี้ เพลงนี้มีจุดเด่นเรื่องเนื้อหาและภาษา ซึ่งสะท้อนความคิดเห็นที่มีต่อสังคมไทย เนื้อหาของเพลงกล่าวถึงเหตุการณ์ด้านลบทั้งในอดีตและปัจจุบัน รวมถึงมีการใช้คำหยาบคายซึ่งมีผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ความจริงแล้วถ้าพิจารณาข้อเท็จจริงจากประวัติศาสตร์จะเห็นว่า การใช้กลอนเพลงและคำหรือวลี (ที่ปัจจุบันอาจมองว่าไม่สุภาพ) ในการเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับสังคม การเมือง และเพศ เป็นเรื่องที่มีมานานแล้ว ทั้งในสังคมต้นกำเนิดแร็ปอย่างสหรัฐอเมริกา และในสังคมไทย ดังปรากฏให้เห็นในการละเล่นพื้นบ้านอย่างลำตัด อีแซว ลิเก การขับซอพื้นเมืองล้านนา ฯลฯ
 
== ประวัติ ==
ใน[[ประเทศไทย]] เพลง[[แร็ป]]ได้ปรากฏเป็นครั้งแรกราวปี [[พ.ศ. 2534]]<ref>ในปกเทปอัลบั้ม ทัช ธันเดอร์ ของทัช ณ ตะกั่วทุ่ง เนื้อเพลง เท้าไฟ ซึ่งแต่งโดย [[ธนพล อินทฤทธิ์]] มีคำว่า แร็ป ปรากฏขึ้น แต่สะกดคำว่า แร็ป เป็น RAB ซึ่งสะกดผิด </ref>ในอัลบั้ม จ เ-ะ บ ของ [[เจตริน วรรธนะสิน]] ในสังกัด[[แกรมมี่]] กับ ทัช ธันเดอร์ ของ [[ทัช ณ ตะกั่วทุ่ง]] ในสังกัด[[อาร์เอส]] โดยในเวลานั้นทั้งคู่เสมือนเป็นคู่แข่งกัน แต่ว่าดนตรีของทั้งคู่ในเวลานั้นยังไม่ใช่แร็ปเต็มตัว เพียงแต่แฝงเข้าไปในทำนองเพลง[[ป๊อปแดนซ์]]เท่านั้นเอง จนกระทั่ง เจ เจตรินได้ออกอัลบั้มชุดที่ 2 คือ 108-1009 มาในปี [[พ.ศ. 2536]] มีหลายเพลงในอัลบั้มที่เป็นแร็ปมากขึ้น โดยเฉพาะในเพลง ''ยุ่งน่า, สมน้ำหน้า'' นับเป็นแร็ปเต็มตัว และในเพลง ''ประมาณนี้หรือเปล่า'' ก็มีบางช่วงที่เป็นแร็ป แต่หลังจากนี้ เจตรินก็ไม่ได้ทำเพลงในลักษณะแร็ปออกมาอีกเลย จนกระทั่งอัลบั้มชุดใหม่ Seventh Heaven ในปลายปี [[พ.ศ. 2550]] กับเพลง ''สวรรค์ชั้น 7''
 
[[แร็พเตอร์]]ก็น่าจะถือเป็นศิลปินเพลงในแนวฮิปฮอปด้วยเพราะก็มีหลายเพลงที่มีแร็ปมาเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะ 2 อัลบั้มแรก คือ Raptor ในปี พ.ศ. 2537 อัลบั้มแรกของทั้งคู่ แนวเพลงเป็นแนวป๊อป และผสมกับแนวแร็ป ซึ่งจะนำเพลงดังในยุคนั้นของอาร์เอส มาทำใหม่และเพิ่มเติม เนื้อเพลงในส่วนที่เป็นท่อนแร็ป เช่น ''ซูเปอร์ฮีโร่'' และอัลบั้ม Waab Boys ในปี พ.ศ. 2539 อัลบั้มที่สอง แนวเพลงจะแปลกไปจากชุดก่อนเพราะจะเป็นแนวป๊อปแดนซ์มากยิ่งขึ้น แต่ในเพลงก็ยังมีท่อนแร็ปมาผสมอยู่บ้าง เพลงที่ได้รับความนิยมในอัลบั้มนี้ได้แก่ ''อย่าพูดเลย''<ref>{{cite web|title=แฟนพันธุ์แท้ - บอยแบนด์ & เกิร์ลแก๊ง 07ก.ค. 2006|author=BigChild|url=https://www.youtube.com/watch?v=AK6NO1APX0E|work=[[แฟนพันธุ์แท้ 2006]]|date=Jun 9, 2015}}</ref>
 
แต่ว่า ศิลปินไทยที่นับว่าเป็นแร็ปเปอร์กลุ่มแรกจริง ๆ คือ [[ทีเคโอ (วงดนตรี)|ทีเคโอ]]<ref>[http://music.mthai.com/news/scoop/209489.html ย้อนวันวาน TKO ต้นฉบับวงแรป วงแรกของไทย]จาก[[เอ็มไทยดอตคอม]]</ref> ในปี พ.ศ. 2536 สังกัด[[คีตา เรคคอร์ดส]] โปรดิวซ์โดย [[กมล สุโกศล แคลปป์]] แต่ว่ากลับไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากอาจเพราะกระแสดนตรีไทยในเวลานั้นยังไม่อาจรับได้กับเพลงในลักษณะนี้
 
แร็ป มาประสบความสำเร็จครั้งแรก ในปี [[พ.ศ. 2538]] เมื่อ [[โจอี้ บอย]] สังกัด[[เบเกอรี่ มิวสิก]] ได้ออกอัลบั้ม โจอี้ บอย เป็นชุดแรก ซึ่งเป็นแร็ปแท้ทั้งอัลบั้ม โดยในช่วงเวลานั้นกระแสการฟังดนตรีในเมืองไทยได้เปลี่ยนไปจากแนวดนตรีกระแสหลักไปสู่แนวอิสระมากขึ้น จึงทำให้เพลงแร็ปได้รับความนิยมขึ้นมาด้วย
 
ในปี [[พ.ศ. 2544]] แกรมมี่ ก็ได้มีศิลปินแร็ปออกมาอีกหนึ่งชุดและประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี คือ [[ดาจิม]]
 
ต่อมาปี พ.ศ. 2547 [[ไทยเทเนี่ยม]] เป็นอีกหนึ่งวงฮิปฮอปได้ปล่อยอัลบั้ม และเป็นที่รู้จักคือเพลง ยักไหล่ กลายเป็นรันวงการ สมัยนั้นใครไปเหยียบคลับ แต่ไม่ได้ฟัง"ยักไหล่" แสดงว่าคุณยังไปไม่ถึงคลับ!
 
ถัดมาปี พ.ศ. 2549 [[บุดด้า เบลส]] สมัยนั้นฮิปฮอปที่รันวงการคงจะเป็นวงซะส่วนใหญ่ สุดท้าย บุดด้า เบลส ก้ได้มีเพลงติดหู Fire - Buddha Bless
 
หลังจากนั้น [[ปี พ.ศ. 2553]] จากที่กระแสฮิปฮอปเงียบอยู่สักพัก [[อิลสลิก|ILLSLICK]] ก็ได้ปล่อยอัลบั้ม fixtape2 มีผลงานโด่งดังหลายเพลง และที่รู้จักกันก็คือเพลง : รักเมียที่สุดในโลก , ใจร้าย และ illslick ก็เป็นที่พูดถึงและมีผลงานดังเยอะแยะมากมายจากที่รันยาวนาน ถึงแม้จะมีเพลงดังเยอะ [[อิลสลิก]] ก็ยังคงความเป็น [[HipHop underground|underground]] สูง เลยเป็นเหตุผลที่ทำให้มีผู้ติดตามจำนวนมาก
 
เพลงแร็ปในประเทศไทยมักจะมีคำไม่สุภาพหรือหยาบโลนเหมือนอย่างศิลปินในต่างประเทศ เช่น [[ไทเทเนี่ยม]] [[โจอี้ บอย]] และ [[ดาจิม]] (ในช่วงเป็นศิลปินใต้ดิน)
 
อนึ่ง ซึ่งความจริงแล้ว เพลงที่น่าจะเรียกได้ว่าเป็นเพลงแร็ปเพลงแรกของประเทศไทย มีมาตั้งแต่ปี [[พ.ศ. 2528]] ชื่อเพลง ''หมูแข้งทอง'' ในอัลบั้ม My Lover โดย มิสเตอร์แตงโม เป็นเพลงที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับชีวิตนักมวยไทยชื่อดังในอดีต [[ผุดผาดน้อย วรวุฒิ]]<ref>{{cite news|title=แฟนพันธุ์แท้ 2014 มวยไทย|url=https://www.youtube.com/watch?v=-sJ45kj54Pc|date=Apr 5, 2014|work=[[แฟนพันธุ์แท้ 2014]]}}</ref>
 
ปี 2561 กลุ่ม Rap Against Dictatorship นำโดย Liberate P, Hockhacker ร่วมกับศิลปินหลายคน ได้ปล่อยซิงเกิ้ล "ประเทศกูมี" เป็นบทเพลงสะท้อนสังคม และเป็นเพลงที่ทำให้คนไทยสนใจการเมืองมากขึ้นจากช่วงรัฐประหาร และได้รางวัลที่ Václav Havel Prize for Creative Dissent ในงาน Oslo Freedom Forum ที่กรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์<ref>https://www.matichon.co.th/politics/news_1511559</ref>
 
13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 เว็บไซต์ Highsnobiety ได้เสนอคอลัม "10 Thai Rappers You Need to Know" (10 แร๊พเปอร์ไทยที่คุณต้องรู้) ได้แก่ 19TYGER เจ้าของเพลง "กูนะคลองเคย", Chink99 (นำเสนอ GT), Fiixd, J$R ('''Jayrun''', '''Sir Poppa Lot''' และ '''Rahboy'''), Nur$etime <small>(ปุ๊บปั๊บ และ Cyanide ได้กล่าวถึง)</small>, Og-Anic (<small>Lazyloxy ได้กล่าวถึง)</small>, Pee Clock (<small>Diamond ได้กล่าวถึง),</small> Rap Against Dictatorship, UDT BOY$ และ Younggu<ref>https://www.highsnobiety.com/p/best-thai-rappers-2019/</ref>
 
ปี 2562 [[เดฟแจมเรเคิดดิงส์]] ได้เปิดสาขาในประเทศไทยผ่าน[[ยูนิเวอร์ซัลมิวสิคกรุ๊ป]] '''Daboyway''' เป็นศิลปินคนแรกที่ได้เซ็นสัญญา ภายใต้เดฟแจมไทยแลนด์ พร้อมปล่อยอัลบั้มเดี่ยวภายในปี 2562<ref>http://music.trueid.net/detail/nLMnzVQMQMnq</ref>
 
== วิวัฒนาการของฮิปฮอปไทย ==