ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฮิปฮอปไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
หัวใจร้าว (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: เพิ่มข้อความไม่เป็นวิกิขนาดใหญ่ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
หัวใจร้าว (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1:
{{ไม่เป็นกลาง}}
{{ตรวจลิขสิทธิ์}}
{{Issues|ต้นฉบับ=yes|ต้องการอ้างอิง=yes}}
ดนตรีแร็ปได้เข้าสู่วงการเพลงของไทยจากกลุ่มคนไทยกลุ่มเล็กๆ ที่ชื่นชอบเพลงแร็ป โดยเฉพาะในช่วงยุค 90s ซึ่งถือว่าเป็นยุคทองของดนตรีฮิปฮอปในโลกยุคโลกาภิวัตน์ และพัฒนาขยายกลุ่มต่อมาตามยุคสมัย ในช่วงแรกนั้น เป็นการเข้ามาในค่ายเพลงยักษ์ใหญ่ เช่น คีตา เอ็นเทอร์เทนเม้นท์ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ และอาร์เอส วง TKO ค่ายคีตา นับเป็นวงดนตรีแร็ปวงแรกที่บุกเบิกดนตรีแร็ป-ฮิปฮอปในบ้านเรา โดยออกอัลบั้ม Original Thai Rap เพื่อเป็นทางเลือกและท้าทายวงการเพลงไทยกระแสหลัก ขณะที่ศิลปินในค่ายใหญ่อย่างแกรมมี่และอาร์เอส ก็ได้นำเสนอเพลงแร็ปแฝงผ่านแนวเพลงป็อปและแดนซ์ เนื่องจากมีความเชื่อว่าคนไทยยังนิยมดนตรีกระแสหลักอยู่มาก
 
เส้น 16 ⟶ 14:
วงการแร็ปใต้ดินยังเป็นวงการที่มีการแข่งขันสูง เพราะรวมเหล่านักแร็ปไทยระดับแนวหน้าไว้จำนวนมากหนึ่งในนั้นคือ ดาจิม หรือ สุวิชชา สุภาวีระ ศิลปินแร็ปใต้ดินยุคแรกที่เป็นที่รู้จักของคนไทย ดาจิมสร้างชื่อจากอัลบั้มสองชุด คือ Hip Hop Underworld ปีพ.ศ. 2543 ในค่าย N.Y.U. ที่เขาดูแลเอง และอัลบั้ม Hip Hop Above the Law ที่มียอดขายในวงการใต้ดินถึง 8,000 ชุด แต่สุดท้ายดาจิมถูกตำรวจจับเนื่องจากเนื้อหาของเพลงอัลบั้มชุดที่สองมีเนื้อหาหยาบคายและไปในทางลากมกอนาจาร ก่อนที่เขาจะย้ายไปอยู่ในค่ายจีนี่ เรคคอร์ด และออกอัลบั้มชุดแร็ปไทย พ.ศ. 2545 และ Twilight Zone และย้ายไปอยู่ค่าย Masscotte Entertainment ตามลำดับ
 
นอกจากดาจิมแล้ว ยังมีศิลปินแร็ปใต้ดินที่มีชื่อเสียงอีกมากมายเช่น ณัฐวุฒิ ศรีหมอก หรือ ฟักกลิ้งฮีโร่ ศิลปินเครายาวร่างยักษ์ผู้มีฝีมือในการแต่งเพลงและร้องแร็ปอย่างช่ำชอง ผลงานของฟักกลิ้งฮีโร่ปรากฏทั้งบนดินและใต้ดิน เพลงแร็ปใต้ดินหรือ Lost Tapes ของเขาที่มีชื่อเสียง ได้แก่ Rapway สยามประเทศ ชู้รัก แร็ปตุ๊ด (รักนวลสงวนตัว) ฯลฯ ฑิฆัมพร เวชไทยสงค์ หรือ อิลสลิก (Illislick) แร็ปเปอร์ใต้ดินชื่อดังอีกคนที่สร้างเอกลักษณ์ของตัวเองในสไตล์ Slow Jam และได้ออกอัลบั้มชื่อ No Apologies (พ.ศ. 2557) ศิลปินวง CP สมิง แร็ปเปอร์ใต้ดินจากยะลาที่ได้รับความนิยมมากในขณะนี้ ด้วยเอกลักษณ์การแร็ปที่เป็นมืออาชีพ รวดเร็วกระฉับ เพลง “เพื่อนตาย” (พ.ศ. 2547) ของ CP สมิงมียอดวิวในยูทูบถึงสิบล้านวิว ส่วนศิลปินแร็ปใต้ดินกลุ่ม RAD หรือ Rap Against Dictatorship กับผลงาน เพลง“ประเทศกูมี” (พ.ศ.2561) ก็นับเป็นกลุ่มศิลปินที่ได้รับความนิยมสูงสุดตอนนี้ โดยมียอดวิวในยูทูบมากถึงเกือบสี่สิบล้านวิว
 
= อิทธิพลของดนตรีแร็ป-ฮิปฮอปต่อสังคมไทย=
สิ่งที่ทำให้ดนตรีแร็ปในประเทศไทยเป็นเริ่มที่นิยมนั้น ส่วนหนึ่งเป็นเรื่องของกระแสหรือค่านิยมจากการรับวัฒนธรรมดนตรีแร็ป-ฮิปฮอป จากสหรัฐอเมริกามาในยุค 90s แต่ถ้ามองอีกมุมหนึ่งจะเห็นได้ว่า ความเป็นดนตรีแร็ปและเอกลักษณ์ในตัวดนตรีมีเสน่ห์ดึงดูดใจผู้คนเป็นอย่างมาก ด้วยรูปแบบเพลง จังหวะสไตล์ต่างๆ เนื้อหาและภาษาที่ให้อิสระศิลปินในการจินตนาการ และใช้ความคิดสร้างสรรค์สร้างกลอนด้นเป็นบทกวีและบทเพลง ปัจจัยเหล่านี้มีส่วนอย่างมากที่ทำให้คนไทยให้ความสนใจแนวดนตรีชนิดนี้มากขึ้น