ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระราชลัญจกรประจำรัชกาล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Armonthap (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 57:
*'''พระราชลัญจกรประจำ[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]]''' เรียกว่า พระราชลัญจกรพระแสงศร ลักษณะเป็นรูปพระแสงศร 3 องค์ คือ พระแสงศรพรหมาสตร์ พระแสงศรประลัยวาต พระแสงศรอัคนีวาต อันเป็นเทพอาวุธของ[[พระพรหม]] [[พระอิศวร]] และ[[พระนารายณ์]]ตามลำดับ เหนือราวพาดพระแสงเป็นดวงตรา[[ราชวงศ์จักรี|มหาจักรีบรมราชวงศ์]]ภายใต้[[พระมหาพิชัยมงกุฎ]] เบื้องซ้ายและเบื้องขวาของราวพาดพระแสงตั้ง[[บังแทรก]] สอดแทรกด้วยลายกนกอยู่บนพื้นตอนบนของดวงตรา พระแสงศร 3 องค์นี้ เป็นพระราชสัญลักษณ์ของพระบรมนามาภิไธยว่า "ประชาธิปกศักดิเดชน์" ซึ่งมาจากความหมายของศัพท์คำสุดท้ายของวรรคที่ว่า "เดชน์" แปลว่า ลูกศร องค์พระราชลัญจกรนี้เป็นตรางากลมรีรูปไข่แนวนอน กว้าง 5.4 เซนติเมตร ยาว 6.7 เซนติเมตร
* '''พระราชลัญจกรประจำ[[พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร|พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล]]''' ลักษณะเป็นรูป[[พระโพธิสัตว์]]ประทับบนบัลลังก์[[ดอกบัว]] ห้อยพระบาทขวาเหนือบัวบาน (ซึ่งดัดแปลงจากพระราชลัญจกรโพธิสัตว์สวนดุสิตในรัชกาลที่ 5) หมายถึงแผ่นดิน พระหัตถ์ซ้ายถือดอกบัวตูม และมีเรือนแก้วด้านหลังแทนรัศมี มีแท่นรองรับตั้งฉัตรบริวารทั้งสองข้าง เป็นพระราชสัญลักษณ์ของบรมนามาภิไธยว่า "อานันทมหิดล" ซึ่งแปลความว่า เป็นที่ยินดีของแผ่นดิน เพราะพระองค์ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ใน[[ระบอบประชาธิปไตย]] ด้วยความยินดีของอเนกนิกรชาวไทย ประหนึ่งพระโพธิสัตว์เสด็จมาประทานความร่มเย็นเป็นสุขแก่ทวยราษฎร์ทั้งมวล องค์พระราชลัญจกรนี้เป็นตรากลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 7 เซนติเมตร
* '''พระราชลัญจกรประจำ[[พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร]]''' เป็นรูป[[พระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์]] ประกอบด้วยวง[[จักร]] กลางวงจักรมีอักขระเป็น "อุ" หรือ "เลข 9" รอบวงจักรมีรัศมีเปล่งออกโดยรอบ เหนือจักรเป็นรูปเศวตฉัตร 7 ชั้น ฉัตรตั้งอยู่บนพระที่นั่งอัฐทิศ แปลความหมายว่า มีพระบรมเดชานุภาพในแผ่นดิน โดยที่วันบรมราชาภิเษก ตามโบราณราชประเพณี ได้เสด็จประทับเหนือพระที่นั่งอัฐทิศ [[สมาชิกรัฐสภา]]ถวายน้ำอภิเษกจากทิศทั้ง 8 นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ที่พระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย ทรงรับน้ำอภิเษกจากสมาชิกรัฐสภา แทนที่จะรับจาก[[ราชบัณฑิต]]ดั่งในรัชกาลก่อน องค์พระราชลัญจกรนี้เป็นตรากลมรีรูปไข่แนวตั้ง กว้าง 5 เซนติเมตร สูง 6.7 เซนติเมตร <br/>พระราชลัญจกรองค์นี้นอกจากจะใช้ประทับในเอกสารสำคัญส่วนพระองค์ที่ไม่เกี่ยวข้องกับราชการแผ่นดินแล้ว ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานตรานี้แก่[[สถาบันอุดมศึกษา]]กลุ่ม[[มหาวิทยาลัยราชภัฏ]] และ ทรงพระราชทานนาม "ราชภัฏ" แก่ [[มหาวิทยาลัยราชภัฏ]] ซึ่งหมายถึง "คนของพระราชา" เมื่อวันที่ [[14 กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2535]] และ [[มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล]] ใช้เป็นตราประจำมหาวิทยาลัยแต่ละแห่งในเครือของตน เมื่อปี [[พ.ศ. 2531]]และยังได้มีพระบรมราชานุญาตให้ใช้เป็นภาพประธานในตราสัญลักษณ์งานพระราชพิธีสำคัญต่างๆ ในรัขกาลของพระองค์ ได้แก่ [[ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก|พระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก]] [[ตราสัญลักษณ์งานฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี|งานฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี]] และ[[ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2550|งานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษา 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2550]]อีกด้วย
* '''''พระราชลัญจกรประจำ[[พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว]]''''' เป็นรูปวชิราวุธซึ่งหมายถึง สายฟ้าอันเป็นเทพศาสตราของ[[พระอินทร์]] มีแบบตามพระราชนิยมใน[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ด้านบนมี [[พระเกี้ยว]] มีแบบตามพระราชนิยมใน[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] แทนคำว่า “อลงกรณ์” ซึ่งแปลว่า เครื่องประดับ เป็นพระราชสัญลักษณ์ของพระบรมนามาภิไธย “มหาวชิราลงกรณ” เปล่งรัศมีเป็นสายฟ้า ประดิษฐานอยู่บนพานแว่นฟ้า พร้อมด้วยฉัตรบริวาร