ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นาซา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
NP-chaonay (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนกลับไปรุ่นที่ 8480396 โดย XXBlackburnXx: ย้อนรุ่น (ก่อกวน/ทดลองเขียน)ด้วยสจห.
ป้ายระบุ: ทำกลับ
บรรทัด 45:
หลังจาก 8 ปีของภารกิจเบื้องต้นฃน ซึ่งรวมถึงอุบัติเหตุเพลิงไหม้ที่คร่าชีวิตนักบินอวกาศ 3 คนใน[[ยานอะพอลโล 1]] โครงการอะพอลโลบรรลุเป้าหมายได้ในที่สุดเมื่อ[[ยานอะพอลโล 11]] นำ[[นีล อาร์มสตรอง]] และ[[บัซซ์ อัลดริน]] ลงสัมผัสพื้นผิวดวงจันทร์เมื่อวันที่ [[20 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2512]] (ค.ศ. 1969) และกลับสู่โลกอย่างปลอดภัยในวันที่ [[24 กรกฎาคม]] ถ้อยคำแรกที่อาร์มสตรองกล่าวหลังจากก้าวออกจาก[[ส่วนลงดวงจันทร์ของโครงการอะพอลโล|ยานลงจอด ''อีเกิ้ล'']] คือ ''"นี่เป็นก้าวเล็ก ๆ ของคน ๆ หนึ่ง แต่เป็นก้าวกระโดดที่ยิ่งใหญ่ของมวลมนุษยชาติ"''
 
แม้ว่าองค์การนาซาจะทำให้สหรัฐฯ ได้ชัยชนะในการแข่งขันกับโซเวียต แต่ความสนใจของชาวอเมริกันที่มีต่อโครงการอวกาศ อันจะทำให้สภาคองเกรสทุ่มงบประมาณให้กับนาซา กลับลดน้อยถอยลง นาซาสูญเสียผู้สนับสนุนในสภาหลังจาก[[ลินดอน บี. จอห์นสัน]] ลงจากตำแหน่งประธานาธิบดี ผู้ที่มีบทบาทในการวิ่งเต้นเพื่อผลักดันงบประมาณให้กับนาซาในเวลาต่อมา คือ [[เวอร์เนอร์ ฟอน บราวน์]] วิศวกรผู้เชี่ยวชาญด้านจรวดชาวเยอรมัน เขาเสนอแผนสร้างสถานีอวกาศ ฐานปฏิบัติการบนดวงจันทร์ และโครงการส่งมนุษย์ไป[[ดาวอังคาร]]ภายในปี [[พ.ศ. 2533]] (ค.ศ. 1990) แต่สุดท้ายก็ไม่สามารถดำเนินการได้เพราะประสิทธิภาพของเทคโนโลยีจรวดขณะนั้นยังไม่ดีพอ อุบัติเหตุการระเบิดของถังออกซิเจน ที่เกือบจะเป็นโศกนาฏกรรมกับนักบินบน[[ยานอะพอลโล 13]] ทำให้ประชาชนเริ่มกลับมาสนใจในโครงการอวกาศ อย่างไรก็ตาม [[ยานอะพอลโล 17]] เป็นยานลำสุดท้ายที่ขึ้นบินภายใต้สัญลักษณ์อะพอลโล แม้ว่าโครงการอะพอลโลมีแผนไปถึง[[ยานอะพอลโล 20]] โครงการอะพอลโลสิ้นสุดลงก่อนกำหนดเนื่องจากถูกตัดงบประมาณ (ส่วนหนึ่งเป็นผลจาก[[สงครามเวียดนาม]]) และนาซาปรารถนาที่จะพัฒนายานอวกาศที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ **ไม่ควรพิมหรือนำเสอเป็ข้อมูลเท็จ**
 
=== สกายแลป ===
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/นาซา"