ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปลาฉลามวาฬ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 8446453 สร้างโดย 171.97.76.243 (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 8:
| image = Whale shark Georgia aquarium.jpg
| image_width = 250px
| image_caption = ปลาฉลามวาฬจากไต้หวันใน[[พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำจอร์เจีย]]
| image2 = Rhtyp u0 white bg.gif
| image2_width = 250px
บรรทัด 26:
| range_map = Rhincodon typus distmap.png
| range_map_width = 250px
| range_map_caption = พิสัยของปลาฉลามวาฬ
| synonyms = *Rhiniodontidae <small>Müller and Henle, 1839</small> (วงศ์)
*''Rhiniodon'' <small>Smith, 1828</small> (สกุล)
บรรทัด 32:
|synonyms_ref=<ref>[http://www.itis.gov/servlet/SingleRpt/SingleRpt?search_topic=TSN&search_value=159854 จาก itis.gov]</ref>
}}
'''ปลาฉลามวาฬ''' ({{lang-en|whale shark}}) เป็นปลาฉลามเคลื่อนที่ช้าที่[[กินอาหารแบบกรองกิน]] เป็นปลาสัตว์ทะเลที่ขนาดใหญ่ที่สุด ยาวถึง 12.65 ม. หนัก 21.5 ตัน แต่มีรายงานที่ได้รับยืนยันว่ายังมีปลาฉลามวาฬที่ใหญ่กว่านี้ เป็นปลาสัตว์ทะเลชนิดเดียวชนิดเดียวใน[[สกุล]] '''''Rhincodon''''' ที่ยังคงดำรงเผ่าพันธุ์ถึงปัจจุบัน และ[[ครอบครัว|วงศ์]] '''Rhincodontidae''' (ก่อนปี ค.ศ. 1984 ถูกเรียกว่า Rhinodontes) ซึ่งเป็นสมาชิกในชั้นย่อย [[Elasmobranchii]] ในชั้น[[ปลากระดูกอ่อน]] ปลาฉลามวาฬพบได้ในทะเลเขตร้อนและอบอุ่น อาศัยอยู่ในทะเลเปิด มีช่วงอายุประมาณ 70 ปี<ref name="fishbase">{{cite web|author=Ed. Ranier Froese and Daniel Pauly|title=Rhincodon typus|publisher=FishBase|dateformat=dmy |accessdate=17 September 2006|url=http://www.fishbase.org/Summary/SpeciesSummary.php?id=2081}}</ref> ปลาฉลามชนิดนี้กำเนิดเมื่อประมาณ 60 ล้านปีมาแล้ว อาหารหลักของปลาฉลามวาฬคือ[[แพลงก์ตอน]] ถึงแม้ว่ารายการ[[แพลนเน็ตเอิร์ธ]]ของ[[บีบีซี]]จะถ่ายภาพยนตร์ขณะที่ปลาฉลามวาฬกำลังกินฝูงปลาขนาดเล็กไว้ได้<ref name=JurassicShark>''Jurassic Shark'' (2000) documentary by Jacinth O'Donnell; broadcast on [[Discovery Channel]], August 5, 2006</ref>
 
== ศัพทมูลวิทยาและความผูกพันกับมนุษย์ ==
ปลาฉลามวาฬมีชื่อเสียงในเดือนเมษายน ปี ค.ศ. 1828 ตามตัวอย่างยาว 4.6 [[เมตร|ม.]]ที่จับได้ด้วยฉมวกใน[[อ่าวเทเบิล]] [[ประเทศแอฟริกาใต้]] หมอทหารที่ชื่อ แอนดริว สมิท (Andrew Smith) ได้ร่วมกับค่ายทหารของอังกฤษใน[[เคปทาวน์]]บรรยายและจำแนกปลาฉลามวาฬในปีถัดมา<ref>{{cite web|url=http://elasmo-research.org/education/topics/ng_rhincodon_or_rhiniodon.htm|title=Rhincodon or Rhiniodon? A Whale Shark by any Other Name|last=Martin|first=R. Aidan|publisher=ReefQuest Centre for Shark Research|accessdate=2009-09-12}}</ref> เขาตีพิมพ์ลักษณะรายละเอียดมากขึ้นในปี ค.ศ. 1849 ชื่อ "ฉลามวาฬ" มากจากลักษณะของปลาสัตว์ทะเลที่มีขนาดใหญ่เหมือน[[วาฬ]]และยังกินอาหารแบบกรอกกินเหมือนกันอีกด้วย
 
ในความเชื่อในศาสนาของชาว[[เวียดนาม]] นับถือปลาฉลามวาฬเป็น[[เทพเจ้า]] โดยเรียกว่า "Ca Ong" ซึ่งแปลว่า "ท่านปลา"
บรรทัด 41:
ใน[[ประเทศเม็กซิโก]]และละตินอเมริกาส่วนมาก ปลาฉลามวาฬถูกรู้จักกันในชื่อ "pez dama" หรือ "domino" มาจากจุดที่เด่นชัดบนตัวมัน ใน[[ประเทศเบลีซ]] รู้จักกันในนาม "Sapodilla Tom" เพราะมักจะพบปลาฉลามวาฬอย่างสม่ำเสมอ ใกล้กับ Sapodilla Cayes ในกำแพงโขดหินแห่งเบลีซ (Belize Barrier Reef)
 
ใน[[ทวีปแอฟริกา]] ชื่อของปลาฉลามวาฬถูกเรียกกันหลากหลาย: [[ประเทศเคนยา]]เรียกว่า "papa shillingi" มาจากตำนานที่ว่าเทพเจ้าได้ขว้างเหรียญเงินลงไปบนตัวปลาฉลามซึ่งได้กลายเป็นจุดของมันในปัจจุบัน [[ประเทศมาดากัสการ์]]เรียกว่า "marokintana" หมายถึง "ดาวหลายดวง"
 
[[ชาวชวา]]ก็อ้างอิงถึงดวงดาวด้วยเช่นกัน จึงเรียกปลาฉลามวาฬว่า "geger lintang" แปลว่า "มีดาวอยู่บนหลัง" ใน[[ประเทศฟิลิปปินส์]]เรียกว่า "butanding"
 
ปลาฉลามวาฬ นับเป็นหนึ่งในชนิดของปลาฉลามที่ใกล้สูญพันธุ์แล้วของโลก เนื่องจากถูกจับทำเป็น[[หูฉลาม]]<ref>[http://www.thaigoodview.com/node/2835 ฉลามทะเลลึกใกล้สูญพันธุ์]</ref> และยังไม่เคยมีการพบลูกปลาฉลามวาฬขนาดเล็ก จนกระทั่งเมื่อต้นปี ค.ศ. 2009 จึงมีการค้นพบลูกปลาฉลามวาฬขนาดเล็กความยาว 15 [[นิ้ว (หน่วยความยาวระบบอังกฤษ)|นิ้ว]] ที่[[Donsol|ดอนซอล]] ในฟิลิปปินส์ และถูกนำเรื่องราวและภาพถ่ายลงในอินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษาต่อไป<ref>[http://news.nationalgeographic.com/news/2009/03/090309-smallest-whale-shark-baby.html Smallest Whale Shark Discovered -- On a Leash จากเนชั่นแนลจีโอกราฟิก]</ref>
 
ปลาฉลามวาฬ จัดเป็นปลาสัตว์ทะเลขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งที่นักดำน้ำต้องการจะพบเห็นตัวและถ่ายรูปมากที่สุด จัดเป็น 1 ใน 5 ผู้ยิ่งใหญ่แห่งท้องทะเล แต่ทว่าไม่ใช่เป็นปลาสัตว์ทะเลที่จะพบเห็นได้ง่าย ๆ แม้กระทั่งนักดำน้ำในทริปเดียวกัน แต่ดำในคนละจุด จุดหนึ่งจะเห็น แต่อีกจุดก็จะไม่เห็น จนเป็นที่กล่าวขานกันในหมู่นักดำน้ำว่า หากใครเคยพบเห็น ก็จะพบตลอด แต่ใครที่ไม่เคยพบ ก็จะไม่พบเลย<ref> ''มหัศจรรย์'', "มหัศจรรย์พันธุ์ลึก" .สารคดีทางไทยพีบีเอส: ศุกร์ที่ 1 มีนาคม 2556</ref>
 
== การกระจายพันธุ์และถิ่นอาศัย ==
ปลาฉลามวาฬอาศัยอยู่ในทะเลเขตร้อนและเขตอบอุ่น ตามผิวทะเล นอกจากนี้ในฤดูที่มีปรากฏการณ์การรวมตัวกันของแหล่งอาหารใกล้แนวชายฝั่งสามารถพบฉลามวาฬได้เช่นกัน เช่น
*โกลด์เดน สพิต (Gladden Spit) ใน[[ประเทศเบลีซ]]
*แนวโขดหินนิงกาโล (Ningaloo Reef) ใน[[รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย]] [[ประเทศออสเตรเลีย]]
บรรทัด 61:
*เกาะมาเฟีย (Mafia), เพมบา (Pemba) และ [[แซนซิบาร์]] ใน[[ประเทศแทนซาเนีย]]
 
ถึงแม้ว่าโดยปกติแล้วจะพบอยู่ห่างจากชายฝั่ง แต่ก็มีการพบปลาฉลามวาฬใกล้แผ่นดินเช่นกัน อย่างในทะเลสาบหรือเกาะรูปวงแหวนที่เกิดจากหินปะการัง และใกล้กับปากแม่น้ำ โดยมีพิสัยจำกัดอยู่ในเส้นรุ้งประมาณ ±30° ความลึกไม่เกิน 700 ม. และท่องเที่ยวเร่ร่อนไปทั่ว<ref name="fishbase">{{cite web|author=Ed. Ranier Froese and Daniel Pauly|title=Rhincodon typus|publisher=FishBase|dateformat=dmy |accessdate=17 September 2006|url=http://www.fishbase.org/Summary/SpeciesSummary.php?id=2081}}</ref>
 
== ลักษณะ ==
 
ลักษณะของปลาฉลามวาฬที่แตกต่างจากปลาฉลามส่วนใหญ่ คือ หัวที่ใหญ่โตมากเมื่อเทียบกับขนาดลำตัว และปากที่อยู่ด้านหน้าแทนที่จะอยู่ด้านล่าง ฉลามวาฬ เกือบทั้งหมดที่พบมีขนาดใหญ่กว่า 3.5 เมตร ใช้เหงือกในการหายใจ มีช่องเหงือก 5 ช่อง มีครีบอก 2 อัน ครีบหาง 2 อัน และ ครีบก้น(หาง) 1 อัน หางของปลาฉลามวาฬอยู่ในแนวตั้งฉาก และโบกไปมาในแนวซ้าย-ขวา แตกต่างจากสัตว์เลือดอุ่นในทะเลที่หางอยู่ในแนวขนานและหายใจด้วยปอด อาทิ วาฬ, โลมา หรือพะยูน เป็นต้น
 
ในการระบุตัวของปลาฉลามวาฬนั้น พิจารณาจากด้านข้างลำตัว ตั้งแต่ช่องเหงือกช่องที่ 5 จนถึงสิ้นสุดครีบอก โดยแต่ละตัวจะมีจุดที่แตกต่างกันออกไปเป็นอัตลักษณ์ประจำตัว<ref>''ความหวัง'', "มหัศจรรย์พันธุ์ลึก" .สารคดีทางไทยพีบีเอส: ศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2556</ref>
 
== อาหาร ==
 
กิน[[แพลงก์ตอน]]เป็นอาหาร โดยใช้[[วิธีกรองกิน]] แต่ลักษณะการกินอาหารไม่ใช่ปัจจัยที่นักวิทยาศาสตร์ใช้แบ่งปลาฉลามวาฬออกจากปลาฉลามชนิดอื่น ๆ เนื่องจากยังมีปลาฉลามอีก 2 ชนิดที่กินแพลงก์ตอนเป็นอาหารแต่อยู่คนละ[[อันดับ (ชีววิทยา)|อันดับ]]กับปลาฉลามวาฬ
 
ปลาฉลามวาฬปกติเป็นปลาที่อาศัยอยู่ในน้ำลึก และจะขึ้นมากินแพลงก์ตอนในเวลากลางคืนบริเวณผิวน้ำ โดยใช้การดูดน้ำเข้าปากแล้วผ่านช่องกรอง โดยจะทิ่งตัวเป็นแนวดิ่งกับพื้นน้ำ ที่[[ออสลอบ]] ใน[[จังหวัดเซบู]] ของฟิลิปปินส์ ชาวพื้นเมืองที่นั่นซึ่งดั้งเดิมมีอาชีพประมงจับปลาทั่วไป ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2010 เป็นต้นมา ได้เปลี่ยนวิถีชีวิตด้วยการโปรยอาหารเลี้ยงปลาฉลามวาฬ เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวจนกลายเป็นไฮไลต์ของการท่องเที่ยวดำน้ำของที่นี่ โดยอาหารที่ป้อนนั้น คือ [[เคย]] และจะมีช่วงเวลาที่ป้อนตั้งแต่ 05.00 หรือ 06.00 น.-13.00 น. ในแต่ละวัน จากนั้นปลาฉลามวาฬก็จะว่ายออกไปทะเลลึกเพื่อหากินเอง ซึ่งเชื่อว่าวิธีการแบบนี้จะไม่ทำให้พฤติกรรมของปลาฉลามวาฬเปลี่ยนไป<ref>''ฉลามวาฬ'', "มหัศจรรย์พันธุ์ลึก" สารคดีทางไทยพีบีเอส: ศุกร์ที่ 29 มีนาคม 2556</ref>
 
สถานภาพในประเทศไทย ปัจจุบันเป็น[[สัตว์ป่าสงวน]]ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ พุทธศักราช 2535
บรรทัด 82:
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
{{คอมมอนส์|Rhincodon typus|ปลาฉลามวาฬ}}
{{wikispecies-inline|Rhincodon typus}}
* [http://www.whaleshark.org/ Whale Shark Photo-identification Library]