ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Sodacan (คุย | ส่วนร่วม)
vector version available (GlobalReplace v0.6.5)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 146:
{{คำพูด|การปกครองในระบอบ[[สมบูรณาญาสิทธิราชย์]]คือการปกครองแบบพระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจด้วยพระองค์เอง ใครจะออกเสียงหรือความเห็นคัดค้านอย่างใดมิได้ทั้งสิ้น การปกครองแบบนี้ได้ปล่อยให้อาณาประชาราษฎรเผชิญโชคชะตาทางเศรษฐกิจและการภาษีต่าง ๆไปตามลำพัง ไม่ได้คิดหาทางแก้ไขบูรณะบ้านเมืองให้ดีขึ้น จะปล่อยให้บ้านเมืองปั่นป่วนวุ่นวายและเป็นไปตามยถากรรมนั้นเป็นการไม่พึงบังควรยิ่ง เราจึงต้องการเปลี่ยนแปลงการปกครองให้พระมหากษัตริย์ทรงสถิตอยู่ใต้กฎหมาย }}
 
เมื่อท่านต้องรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นคนที่ 2 ของประเทศ แทนที่[[พระยามโนปกรณนิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์)]] ที่ถูก[[รัฐประหารในประเทศไทย มิถุนายน พ.ศ. 2476|รัฐประหารไปเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476]] การทำหน้าที่ของท่านไม่ราบรื่น เนื่องด้วยประสบกับปัญหาหลายด้าน ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง รวมทั้งการสงคราม ที่กำลังจะเกิด[[สงครามโลกครั้งที่สอง]] ขึ้น ทำให้ท่านต้องดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีติดต่อกันถึง 3 สมัย จากนั้นก็ลงจากตำแหน่ง แล้วเข้ามาเป็นรัฐมนตรีอีก 23 กระทรวง คือ รัฐมนตรีว่าการ[[กระทรวงกลาโหม]] ในปี [[พ.ศ. 2477]] รัฐมนตรีว่า[[กระทรวงการต่างประเทศ]] และรัฐมนตรีว่าการ[[กระทรวงการคลัง]]ในปี [[พ.ศ. 2478]] จากนั้นเมื่อมีเหตุการณ์ผันผวนทางการเมือง ท่านก็กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรี เป็นสมัยที่ 4 โดยนั่งควบตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการ[[กระทรวงเกษตราธิการ]] หลังจากนั้น ก่อนจะเข้าดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 5 วันที่ [[21 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2480]] และลาออกจากตำแหน่ง เมื่อวันที่ [[11 กันยายน]] [[พ.ศ. 2481]] และยุติบทบาททางการเมืองไป ซึ่งตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อมา ก็คือ หลวงพิบูลสงคราม ([[แปลก พิบูลสงคราม]]) นายทหารรุ่นน้องที่ท่านรักและไว้ใจนั่นเอง
 
พระยาพหลพลพยุหเสนา ได้รับพระราชทาน[[วังปารุสกวัน]] จาก[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ให้เป็นที่พำนัก แม้ถึงตอนที่พ้นจากตำแหน่งไปแล้ว ซึ่งท่านได้ใช้ที่นี่เป็นที่พำนักพักอาศัยตราบจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต<ref name="พระยาพหลฯ นายกรัฐมนตรีผู้ซื่อสัตย์"/>