ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แวร์มัคท์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Matable (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Matable (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 55:
'''แวร์มัคท์''' ({{lang-de|Wehrmacht}})({{IPA-de|ˈveːɐ̯maxt|-|De-Wehrmacht-pronunciation.ogg}}, {{literal translation|กองกำลังป้องกัน}}) เป็นกองทัพโดยรวมทั้งหมดของ[[นาซีเยอรมนี]] ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1935 ถึง ค.ศ. 1945 ประกอบด้วย[[กองทัพบกเยอรมัน (แวร์มัคท์)|แฮร์]] (กองทัพบก) [[ครีคส์มารีเนอ]] (กองทัพเรือ) และ[[ลุฟท์วัฟเฟอ]] (กองทัพอากาศ) การตั้งชื่อเป็น"แวร์มัคท์"นั้นมาแทนที่ชื่อกองทัพก่อนหน้าคือ ไรชส์แวร์ และเป็นที่ประจักษ์ของความพยายามของระบอบนาซีในการฟื้นฟูแสนยานุภาพของกองทัพขึ้นมาใหม่ในเยอรมนีในระดับที่เกินกว่าสนธิสัญญาแวร์ซายจะยอมรับได้{{sfn|Taylor|1995|pp=90–119}}
 
ภายหลังจาก[[การเถลิงอำนาจของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์|นาซีเถลิงอำนาจ]]ในปี ค.ศ. 1933 หนึ่งในความเคลื่อนไหวที่โจ่งแจ้งและไม่เกรงกลัวของ[[อดอล์ฟ ฮิตเลอร์]]คือการสร้างก่อตั้งแวร์มัคท์ กองทัพที่มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพอย่างมากในการรุกราน เพื่อบรรลุเป้าหมายระยะยาวของระบอบนาซีในการฟื้นฟูดินแดนที่เสียไปรวมทั้งการได้รับดินแดนใหม่และครอบครองประเทศเพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้เคียง ด้วยความต้องการสิ่งนี้จึงได้มีการฟื้นฟูการเกณฑ์ทหารขึ้นมาใหม่ และการลงทุนขนาดใหญ่ และค่าใช้จ่ายด้านการป้องกันในโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตอาวุธ{{sfn|Kitchen|1994|pp=39–65}}
 
แวร์มัคท์ได้กลายเป็นหัวใจสำคัญของอำนาจทางการเมือง-ทางทหารของเยอรมนี ในช่วงต้นของ[[สงครามโลกครั้งที่สอง]] แวร์มัคท์ได้คิดค้นกลยุทธ์กองกำลังรวมผสม(การสนับสนุนทางอากาศอย่างใกล้ชิด รถถัง และทหารราบ) เพื่อมีประสิทธิภาพการทำลายล้างในสิ่งที่ได้เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีคือ [[บลิทซ์ครีค]](สงครามสายฟ้าแลบ) ที่การทัพใน[[ยุทธการที่ฝรั่งเศส|ฝรั่งเศส(1940)]] [[ปฏิบัติการบาร์บาร็อสซา|สหภาพโซเวียต(1941)]] และ[[การทัพแอฟริกาเหนือ|แอฟริกาเหนือ(1941/42)]] ได้ถือว่าเป็นการกระทำที่อาจหาญ{{sfn|Van Creveld|1982|p=3}} ในเวลาเดียวกันการรุกแผ่ขยายอย่างกว้างใหญ่ไพศาลทำให้ขีดความสามารถของแวร์มัคท์ได้ถึงจุดแตกหักลง ซึ่งถึงที่สุดแล้วในความปราชัยครั้งใหญ่เป็นครั้งแรกใน[[ยุทธการที่มอสโก|ยุทธการที่มอสโก (1941)]] ในปลายปี ค.ศ. 1942 เยอรมนีได้สูญเสียการรุกในทุกเขตสงคราม ยุทธศิลป์นั้นไม่เท่าเทียบกับความสามารถในการทำสงครามของประเทศที่ร่วมมือกันของฝ่ายสัมพันธมิตร จึงทำให้กลายเป็นจุดอ่อนของแวร์มัคท์ในหลักสูตรทางด้านกลยุทธ์ และทางด้านโลจิสติกส์ที่ปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจน{{sfn|Müller|2016|pp=58–59}}
 
การให้ความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับ[[ชุทซ์ชตัฟเฟิล|หน่วยเอ็สเอ็ส]]และ[[ไอน์ซัทซ์กรุพเพิน]] กองทัพเยอรมันได้ก่อ[[อาชญกรรมสงครามของแวร์มัคท์|อาชญกรรมสงครามและการกระทำอย่างโหดร้าย]]เอาไว้หลายครั้ง อย่างไรก็ตามในภายหลังได้มีการออกมากล่าวปฏิเสธและส่งเสริม[[เรื่องปรัมปรา]]ถึง[[แวร์มัคท์บริสุทธิ์|ความบริสุทธิ์ของแวร์มัคท์]]{{sfn|Hartmann|2013|pp=85–108}} อาชญกรรมสงครามส่วนใหญ่เกิดขึ้นในสหภาพโซเวีนตโซเวียต โปแลนด์ ยูโกสลาเวีย กรีซ และอิตาลี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสงครามการทำลายล้างต่อสหภาพโซเวียต [[ฮอโลคอสต์]] และการสงครามความมั่นคงของนาซี
 
ในช่วงสงคราม มีทหารจำนวนประมาณ 18 ล้านนายที่ประจำการในกองทัพแวร์มัคท์{{Sfnm|1a1=Overmans|1y=2004|1p=215|2a1=Müller|2y=2016|2p=16|3a1=Wette|3y=2006|3p=77}} ในช่วงเวลาที่สงครามได้ยุติลงในทวีปยุโรปในเดือนพฤษภาคม ปี ค.ศ. 1945 กองทัพเยอรมัน(ประกอบไปด้วย[[กองทัพบกเยอรมัน (แวร์มัคท์)|กองทัพบก]] [[กองทัพเรือ]] และ[[ลุฟท์วัฟเฟอ]] [[วัฟเฟิน-เอ็สเอ็ส]] [[ฟ็อลคส์ชตวร์ม]] และหน่วยทหารต่างชาติที่ให้ความร่วมมือ) ได้สูญเสียไปประมาณ 11,300,000 นาย{{sfn|Fritz|2011| p=470}} ซึ่งจำนวนประมาณครึ่งนึงของทหารที่เป็นผู้สูญหายหรือเสียชีวิตในช่วงระหว่างสงคราม มีผู้นำระดับชั้นสูงของกองทัพแวร์มัคท์เพียวไม่กี่คนที่ถูกนำตัวขึ้นศาลสำหรับข้อหาอาชญากรรมสงคราม แม้ว่าจะมีหลักฐานที่บ่งชี้ว่าได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการปฏิบัติหน้าที่ที่ผิดกฏ{{sfn|Wette|2006|pp=195–250}}{{sfn|USHMM|n.d.}} ส่วนใหญ่ของทหารแวร์มัคท์จำนวนสามล้านนายที่ได้เข้าร่วมในการรุกราน[[สหภาพโซเวียต]]ซึ่งได้มีส่วนร่วมในการก่ออาชญากรรมสงคราม{{Sfn|Kershaw|1997|p=150}}