ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การออกแบบอย่างสากล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Dolkungbighead (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''การออกแบบเพื่อทุกคน''' (Universal Design) หมายถึง [[การออกแบบผลิตภัณฑ์]] และสภาพแวดล้อม ที่ปราศจากการออกแบบหรือดัดแปลงเป็นพิเศษ เป็นการออกแบบที่ทุกคนสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้าง ขวางเท่าที่เป็นไปได้มากที่สุด โดยไม่มีข้อจำกัดทางด้านอายุและสภาพร่างกาย<ref>"Ronald L. Mace on NC State University, College of Design". Design.ncsu.edu. Retrieved 2013-07-26.</ref> ทั้งนี้แนวคิดดังกล่าว ถูกผลักดันจากกลุ่มผู้สูงอายุ และคนพิการ ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักของการออกแบบเพื่อทุกคน การทำความเข้าใจเรื่องผู้สูงอายุและคนพิการ จึงเป็นเรื่องสำคัญ
 
พัฒนาการการออกแบบเพื่อทุกคนนี้ เริ่มต้นขึ้นในปี ค.ศ. 1950 ซึ่งเป็นแนวคิดการออกแบบใหม่สำหรับ[[คนพิการ]]ใน[[ยุโรป]] [[ญี่ปุ่น]] และ[[สหรัฐอเมริกา]] จากแนวคิดเรื่องการออกแบบที่ปราศจากสิ่งกีดขวาง (Barrier-free design) มีการพัฒนาขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคในการสร้างสภาพแวดล้อมสำหรับคนที่มีความพิการทางร่างกาย ตามแนวทางของเครือข่ายทางสังคมในการดูแลคนพิการ โดยพัฒนาจากการดูแลแบบสถาบัน (Institutional care) เช่น [[โรงพยาบาล]] สถานสงเคราะห์ เป็นต้น ไปสู่การดูแลแบบชุมชน (Community care) การออกแบบนี้จะแยกการออกแบบพิเศษเป็นการเฉพาะ โดยเฉพาะกับผู้มีข้อจำกัดทางร่างกายที่รุนแรงมากของมากที่สุด
 
ในปี ค.ศ. 1970 บางส่วนของยุโรปและสหรัฐอเมริกา เริ่มเปลี่ยนแนวคิดจากการออกแบบเฉพาะ เจาะจง (Exclusive design) มาเป็นแนวคิดการออกแบบที่ครอบคลุม (Inclusive design) เป็นการทำให้ง่ายขึ้น และเริ่มใช้คำว่าการออกแบบที่สามารถเข้าถึงได้ (Accessible design) ในประเทศสหรัฐอเมริกา การเคลื่อนไหวสิทธิของคนพิการเป็นรูปเป็นร่างในช่วงกลางยุคปี 70 บนวิสัยทัศน์ของสิทธิมนุษยชน โดยพระราชบัญญัติสำหรับชนกลุ่มน้อย ปี ค.ศ. 1964 ที่มีเป้าหมายเพื่อความเท่าเทียมกันของโอกาสและการดูแล เป็นครั้งแรกที่การออกแบบนี้ได้รับการยอมรับเป็นเงื่อนไขเพื่อให้บรรลุถึงสิทธิมนุษยชน<ref>The Institute for Human Centered Design (IHCD), Boston, 2015.</ref> พัฒนาการของการออกแบบเพื่อทุกคนในแต่ละประเทศจึงมีรายละเอียดที่แตกต่างกันบ้างตามสภาพสังคม เศรษฐกิจ และการผลักดันของกลุ่มคนพิการและผู้สูงอายุ