ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บุญผ่อง สิริเวชชะพันธ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Taweetham (คุย | ส่วนร่วม)
Taweetham (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 36:
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นมีแผนในการสร้าง[[ทางรถไฟสายมรณะ|ทางรถไฟเพื่อที่จะตัดต่อไปยังประเทศพม่า]] จึงมีการต้อนเชลยศึกซึ่งส่วนใหญ่เป็นทหารสัมพันธมิตรชาติอังกฤษ, ออสเตรเลีย และเนเธอร์แลนด์ และสิงคโปร์มาที่กาญจนบุรีเพื่อสร้างทางรถไฟ จึงได้มาติดต่อขอซื้ออาหารจากร้านบุญผ่องแอนด์บราเดอร์ ซึ่งเป็นกิจการของครอบครัว ของนายบุญผ่อง เพื่อให้ไปส่งถึงที่ค่ายที่บริเวณเขาช่องไก่ เลียบ[[แม่น้ำแควน้อย]] ([[ช่องเขาขาด]] ในปัจจุบัน) นายบุญผ่องเมื่อได้เข้าไปถึงในค่ายเห็นสภาพความเป็นอยู่ของเชลยแล้วพบว่า มีความเป็นที่อยู่ที่ทรมานอย่างยิ่ง ส่วนใหญ่บาดเจ็บล้มป่วยจาก[[ไข้ป่า|โรคมาเลเรีย]]และการทำงานหนัก แต่ไม่มียารักษา จากสภาพแวดล้อมที่เป็นป่าดิบทึบ มีเชลยที่ต้องเสียชีวิตจากการนี้เป็นจำนวนมาก นายบุญผ่องจึงแอบลักลอบนำยาตลอดจนอาหารและจดหมายติดต่อต่าง ๆ เข้าไปยังค่ายก่อสร้าง โดยซ่อนไว้ในหีบห่อหรือบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ แม้จะต้องเสี่ยงต่อชีวิต ซึ่งในครั้งหลัง ๆ นายบุญผ่องได้ให้บุตรสาวเพียงคนเดียวเอาเข้าไปให้แทน จากการที่สร้างมิตรภาพแก่ทหารญี่ปุ่น จนได้รับความไว้วางใจ กระทั่งได้รู้จักกับ น.พ.[[เอ็ดเวิร์ด "เวรี่" ดันล็อป]] แพทย์ทหารชาวออสเตรเลีย หนึ่งในเชลยศึก
 
หลังสงครามยุติ บุญผ่องได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ [[The George Cross]] (GC) จากสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เมื่อครั้งเสด็จฯเยือนเมืองไทยในปี [[พ.ศ. 2515]] อีกทั้งได้รับสั่งให้บุญผ่องและภรรยาเข้าเฝ้าและร่วมโต๊ะเสวยด้วย สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ได้พระราชทานยศ[[พันโท]]แก่นายบุญผ่อง และพระราชทานบรรดาศักดิ์ท่านเซอร์ แก่น.พ.ดันล็อปอีกด้วย ทั้งคู่ได้ร่วมกันก่อตั้งมูลนิธิ "Weary Dunlop Boon Pong Exchange Fellowship" ซึ่งเป็นมูลนิธิที่ให้ทุนแก่นักศึกษาแพทย์ชาวไทย โดยเฉพาะ[[ศัลยแพทย์]] ไปศึกษาต่อด้านแพทยศาสตร์ที่ประเทศออสเตรเลีย<ref name="คม"/> <ref>[http://news.thaipbs.or.th/content/%E2%80%9C%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%8D%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E2%80%9D-%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%8D-%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1 “บุญผ่อง” ละครสะท้อนเรื่องราวความกล้าหาญ - มีมนุษยธรรม จากไทยพีบีเอส]</ref>
 
วีรกรรมที่พันโทบุญผ่องได้สร้างไว้ ทำให้ได้รับการยกย่องอย่างมากจากชาติสัมพันธมิตร และได้รับฉายาจาก น.พ.ดันล็อปว่า "The Quiet Lions" (สิงโตเงียบ) เนื่องจากในช่วงต้นที่ติดต่อกันนั้น พันโทบุญผ่องต้องระมัดระวังตัวมาก โดยหลังสงคราม ได้เดินทางเข้าสู่[[กรุงเทพมหานคร]] เพื่อประกอบกิจการรถเมล์ ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ตอบแทนน้ำใจนายบุญผ่อง ด้วยการมอบรถที่ยึดได้จากกองทัพญี่ปุ่นเกือบ 200 คัน ให้ไปเป็นรถประกอบกิจการ ในนาม บริษัท บุญผ่อง จำกัด เรียกกันว่า รถเมล์สายสีน้ำเงิน นับเป็นคู่แข่งรถเมล์ขาวของบริษัท นายเลิศ ของนาย[[เลิศ เศรษฐบุตร]] <ref name="คม">[http://www.komchadluek.net/detail/20130512/158221/%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%8D%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%94.html บุญผ่อง วีรชนช่องเขาขาด โดยธีรภาพ โลหิตกุล จากคมชัดลึก]</ref>