ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คิงเพาเวอร์สเตเดียม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
เลสเตอร์ ?ซิตี้?→เลสเตอร์ซิตี
Wowstucupy (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 9:
| opened = 23 [[กรกฎาคม]] [[ค.ศ. 2002]]
| operator = [[สโมสรฟุตบอลเลสเตอร์ซิตี|เลสเตอร์ซิตี]]
| surface = หญ้าเดสโซกราสมาสเตอร์
| tenants = [[สโมสรฟุตบอลเลสเตอร์ซิตี|เลสเตอร์ซิตี]] (ค.ศ. 2002–ปัจจุบัน)
| tenant_years = 1884–1892<br /> 1892–ปัจจุบัน
บรรทัด 19:
 
เดิมสนามแห่งนี้มีชื่อว่า '''เดอะวอร์กเกอส์ สเตเดี้ยม''' (The Walkers Stadium) เป็นชื่อที่ใช้ในระหว่างปี ค.ศ. 2002–ค.ศ. 2011 ตามชื่อของสินค้าผู้สนับสนุนในสมัยนั้น<ref>[http://www.lcfc.premiumtv.co.uk/page/LatestNews/0,,10274~1029628,00.html "Allen Named New Foxes Manager"] ''LCFC.co.uk'', 30 May 2007 (Retrieved: 11 August 2009)</ref>
[[ไฟล์:King Power Stadium (2).jpg|thumb|297x297px|King Power Stadium|link=Special:FilePath/King_Power_Stadium_(2).jpg]]
ที่สนามแห่งนี้ ได้ชื่อว่าเป็นสนามที่สวยงาม มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน แต่ในห้องแต่งตัวของทีมเยือนมีสิ่งก่อสร้างที่สร้างสงครามจิตวิทยา เช่น เสาปลอมที่ไม่ได้มีไว้สำหรับพยุงโครงสร้างของสนามที่กลางห้อง แต่มีไว้สำหรับบังสายตาไม่ให้ทีมฝ่ายตรงข้ามมองเห็นการประชุมแก้เกมการแข่งขันของเลสเตอร์ซิตี หรือน้ำประปาที่ห้องนี้ก็มีความเย็นกว่าที่อื่น ๆ <ref>หน้า 20 กีฬา, ''เยือนถิ่น จิ้งจอกสยาม 'คิง เพาเวอร์' '' โดย แท ยอน. '''เดลินิวส์'''ฉบับที่ 23,972: วันจันทร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2558 ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 ปีมะแม</ref> ซึ่งเป็นเรื่องปกติของห้องแต่งตัวของทีมคู่แข่งในสนามฟุตบอลที่มักจะไม่ได้รับความสะดวกสบาย
 
บรรทัด 28:
สนามเหย้าของทีมเลสเตอร์ เดิมตั้งอยู่บนถนนฟิลเบิร์ต ซึ่งใช้งานมาตั้งแต่ปี 1891 และมีการต่อเติมเพิ่มจำนวนที่นั่งมาหลายต่อหลายครั้ง ทว่าในปี 1989 ก็เกิดโศกนาฏกรรมฮิลส์โบโรขึ้น ส่งผลให้ในปีถัดมามีการสืบสวนหาข้อเท็จจริงถึงต้นเหตุของการสูญเสียครั้งดังกล่าว โดยมีรายงานจากเทย์เลอร์ รีพอร์ตว่า ต้นเหตุมาจากการที่สนามที่เกิดเหตุนั้นมีผู้ชมมากเกินความจุและยังเป็นอัฒจรรย์แบบยืนทำให้สุ่มเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ จึงทำให้เกิดข้อบังคับให้ยกเลิกตั๋วเข้าชมแบบยืนและผู้เข้าชมทุกคนจะต้องมีที่นั่งเป็นของตนเอง ส่งผลให้ทางสโมสรเลสเตอร์ซิตี เริ่มมองหาสถานที่เพื่อสร้างสนามแห่งใหม่ขึ้น เนื่องมาจากสนามแห่งเดิมที่ตั้งอยู่บนถนนฟิลเบิร์ตนั้นมีความจุลดลงอย่างมาก โดยเหลือเพียงแค่ 21,500 ที่นั่งเท่านั้นแม้ว่าจะมีการต่อเติมเพิ่มขึ้นแล้วก็ตาม ประจวบเหมาะกับในฤดูกาล 1994-1995 เลสเตอร์ซิตี ยังทำผลงานได้ยอดเยี่ยมจนสามารถกลับขึ้นไปเล่นในลีกสูงสุดได้อีกครั้ง ทำให้ความนิยมของแฟนบอลมีมากขึ้น และต้องการเข้ามาชมในสนามเมื่อทีมลงแข่งขันจนตั๋วขายหมดเกลี้ยงแทบทุกนัด ความจุจำนวน 21,500 ที่นั่งจึงดูเหมือนจะไม่เพียงพอต่อไปอีกแล้ว ทำให้ผู้บริหารของทีมต้องกลับมารื้อแผนสร้างสนามขึ้นใหม่อีกครั้ง ตามหลังทีมในระดับเดียวกันอย่างสโต๊ค ซิตี้ และดาร์บี้ เคาท์ตี้ ที่เพิ่งย้ายสนามเหย้าแห่งใหม่ไปก่อนหน้านี้ จนกระทั่งในปี 2001 เป็นฤกษ์งามยามดีที่ทางสโมสรริเริ่มโครงการก่อสร้างสนามแห่งใหม่ขึ้นบ้าง โดยใช้เวลาประมาณ 2 ปี กว่าจะแล้วเสร็จและเปิดใช้อย่างเป็นทางการในซีซั่น 2002-2003
 
[[ไฟล์:King Power Stadium (3).jpg|thumb|293x293px|link=Special:FilePath/King_Power_Stadium_(3).jpg]]
 
=== พิธีเปิด ===
บรรทัด 34:
 
== ความเป็นเจ้าของ ==
[[ไฟล์:King Power Stadium (1).jpg|thumb|294x294px|King Power Stadium|link=Special:FilePath/King_Power_Stadium_(1).jpg]]
ในปัจจุบันสนามกีฬาแห่งนี้ถูกแฟนบอลที่ยอดเยี่ยมของทีมจิ้งจอกสยาม รวมไปถึงผู้คลั่งไคล้ในกีฬาลูกหนังเรียกขานกันว่า “คิง เพาเวอร์ สเตเดี้ยม” ซึ่งชื่อดังกล่าวถูกใช้มาตั้งแต่เดือนกรกฎาคมปี 2011 ระยะเวลาเกือบหนึ่งปีหลังจากที่คุณวิชัย ศรีวัฒนประภา นักธุรกิจชาวไทยผู้มีชื่อเสียง ซึ่งเป็นประธานกลุ่มธุรกิจคิง เพาเวอร์ ดิวตี้ ฟรี เข้าซื้อสโมสร นอกจากนี้ในปี 2013 เพื่อการเป็นเจ้าของกิจการของเลสเตอร์ซิตีโดยสมบูรณ์ ทางคิง เพาเวอร์จึงเข้าซื้อสินทรัพย์ทั้งหมดของสโมสรผ่าน K Power Holdings Co., Ltd. ต่อจากกลุ่มธุรกิจสัญชาติอเมริกาอย่าง American Pension Fund Manager