ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เทศกาลพ้อต่อ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Wedjet (คุย | ส่วนร่วม)
แจ้งขาดความสำคัญด้วยสจห.
ป้ายระบุ: แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
 
== ชื่อเรียกต่าง ๆ ==
งานเทศกาลพ้อต่อ มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการ 2 ชื่อ คือ พระพุทธศาสนานิกายมหายาน เรียกว่า ''เทศกาลอุลลัมพน'' ([[อักษรจีนตัวเต็ม|ตัวเต็ม]]: 盂蘭勝會, [[อักษรจีนตัวย่อ|ตัวย่อ]]: 盂兰胜会, [[พินอิน]]: Yú lán shèng huì ''หฺยฺวีหลันเซิ่งฮุ่ย'', [[หมิ่นหนาน|ฮกเกี้ยน]]: ''อูหลานเซ่งโห่ย'' ) ซึ่งคำว่า ''โห่ย'' หมายถึง ชุมนุม, งานชุมนุม, คณะ ฯลฯ รวมความแล้ว คำว่า อูหลานเซ่งโห่ย แปลว่า งานชุมนุมอุลลัมพน โดยคำว่า ''อุลลัมพน'' มาจาก[[ภาษาสันสกฤต]] ที่หมายถึง "แขวนห้อยหัว" มีความหมายเชิงอุปมาว่า ทุกข์และภัยอันใหญ่ยิ่ง จะถูกช่วยให้หัวกลับขึ้นมา
 
ส่วนของลัทธิเต๋าจะเรียกเทศกาลนี้ว่า ''ตงหง่วนพ้อต่อ'' ([[อักษรจีนตัวเต็ม|ตัวเต็ม]]:中元普渡, ตัวย่อ: 中元普渡, พินอิน: Zhōng yuán Pǔ dù ''จงเหฺยฺวียนผูตู้'', ฮกเกี้ยน: ตงหงวนพ้อต่อ)
บรรทัด 33:
ในช่วงเทศกาล ผู้คนจะจัดโต๊ะตั้งสำรับอาหารเพื่อเซ่นไหว้ บูชาวิญญาณบรรพบุรุษเอาไว้ โดยทั่วไปแล้วจะทำกันในตอนบ่ายของวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 7 ตามปฏิทินจีน อาหารเซ่นไหว้โดยมาก มักประกอบไปด้วย ปลา หมู เป็ด ไก่ ผัก ผลไม้ และขนมต่าง ๆ ซึ่งข้าวของที่ตั้งบนโต๊ะบูชาทุกอย่าง จะต้องมีธูปปักไว้อย่างละ 1 เล่มและบางคนก็นำประทัดมาจุดจำนวนมากจนเมื่อทำการเซ่นไหว้เสร็จแล้ว ก็จะทำการเผากระดาษเงิน อันหมายถึงการแจกจ่ายค่าเดินทาง ให้แก่เหล่าดวงวิญญาณบรรพบุรุษเหล่านั้นด้วย โดยมักมีขนมรูปเต่าสีแดง เรียกว่า ''อั่งกู'' รวมอยู่ด้วยแทบทุกครั้งของการทำบุญ
 
ส่วนการทำบุญแก่วิญญาณไร้ญาติ ถ้าไหว้ที่มูลนิธิ หรือที่วัดที่ประกอบพิธีกรรม ผู้คนจะนำอาหารมาตั้งไว้ให้แก่วิญญาณเหล่านั้นที่โต๊ะ ซึ่งคณะกรรมการจะจัดงานเตรียมไว้ให้ หากเป็นการไหว้วิญญาณไร้ญาติที่บ้านเรือน จะนิยมไหว้หลังจากตอนบ่ายไปแล้ว หรือไหว้ตอนพลบค่ำ โดยจะตั้งอาหารเครื่องเซ่นบนโต๊ะขนาดเล็กหรือบนพื้น เมื่อไหว้เสร็จแล้วก็จะนำอาหารมารับประทาน บุคคลที่ถือเคล็ด มีครูบาอาจารย์ ก็จะไม่นิยมทานกัน
<br />
=== ไหว้วิญญานเร่ร่อน ===
บรรทัด 62:
เนื่องจากที่ฮ่องกง โดยส่วนมากเป็นชาวจีนกวางตุ้ง จึงมีพิธีบางพิธี แตกต่างจาก ภูเก็ต มาเลเซีย สิงคโปร์ ซึ่งเป็นชาวจีนฮกเกี้ยน พิธีพ้อต่อ มีการไหว้วิณณาญเร่ร่อน โดยตอนเช้าประชาชนจะไปที่ศาลเจ้า หรือ วัดเต๋า ที่มีการประกอบพิธี และจะกลับมาไหว้วิญาญานเร่รอนกันเกือบทุกบ้าน ซึ่งชาวฮ่องกงให้ความสำคัญมาก แต่จะไหว้เป็นเครื่องกระดาษ มากกว่าอาหาร ทางด้านพิธีกรรม ตามหมู่บ้านต่าง ๆ จะจัดเด็กชายจำนวนหลายคน ถือโคมไฟและเคาะกระป๋องให้เกิดเสียง เดินไปทั่วหมู่บ้าน เพื่อเป็นการส่องแสงสว่างแก่วิญญาน จะต่างจากสิงคโปร์และมาเลเซีย คือ เวลากลางคืนที่ฮ่องกงไม่มีการจัดงานมหรสพผู้คนจะไม่ออกจากบ้าน
=== ประเทศไทย ===
จะมีงานเทศกาลคล้าย ๆ เทศกาลพ้อต่อ เช่นกัน นั้นก็คือ เทศกาลทิ้งกระจาด หรือใน [[ภาษาจีนสำเนียงแต้จิ๋ว|สำเนียงแต้จิ๋ว]] เรียกว่า ซิโกวโผวโต่ว ซึ่งจัดในเดือนจัดเดือนเจ็ดจีน ของทุกปี หรือ เทศกาลสารทจีน มีการไหว้วิญญานเร่ร่อน และ การทิ้งกระจาด เพื่อเป็นการอุทิศกุศลให้แก่วิญญาน และเป็นการทำทานช่วยเหลือผู้ยากไร้ แต่ลักษณะของพิธี และ เทศกาล จะต่างกับที่ ภูเก็ต ประเทศสิงคโปร์ ประเทศมาเลเซีย ฮ่องกง และไต้หวัน
 
== ชื่อเรียกอื่น ๆ ==
บรรทัด 89:
* http://yutphuket.wordpress.com/2008/08/26/portor/
* [http://travel.sina.com.cn/world/2009-09-05/1552105383.shtml 中元普渡:台湾大祭祀 (组图)]
* {{cite web|url=https://www.thairath.co.th/news/politic/1642500|title=ฮ้อเฮียตี๋|work=[[ไทยรัฐ]]|date=2019-08-22|accessdate=2019-08-24|author=กิเลน ประลองเชิง}}
 
{{รายการอ้างอิง}} http://www.somboon.info/default.asp?content=contentdetail&id=9696<nowiki/>{{คอมมอนส์-หมวดหมู่|Ghost Festival|เทศกาลพ้อต่อ}}