ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เรือโดยสารคลองแสนแสบ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Kurino (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 3:
'''เรือโดยสารคลองแสนแสบ''' เป็นบริการ[[เรือด่วน]]ใน[[คลองแสนแสบ]] และ[[คลองมหานาค]] มีเส้นทางระหว่าง [[ท่าวัดศรีบุญเรือง|ท่าน้ำวัดศรีบุญเรือง]] ใน[[เขตบางกะปิ]] จนถึง [[ท่าผ่านฟ้าลีลาศ|ท่าสะพานผ่านฟ้าลีลาศ]] [[เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย]] โดยมีจุดต่อเรือที่ [[ท่าประตูน้ำ]] รวม 28 ท่าเรือ ดำเนินงานโดยกลุ่มเรือหางยาวที่รวมตัวกันในนาม ห้างหุ้นส่วนจำกัด ครอบครัวขนส่ง เปิดให้บริการครั้งแรกในวันที่ [[1 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2533]] จากการชักชวนของ [[จำลอง ศรีเมือง|พล.ต.จำลอง ศรีเมือง]] [[ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร]]ในสมัยนั้น
 
เส้นทางการเดินเรือมีความยาวประมาณ 18 กิโลเมตร ให้บริการผู้โดยสารวันละกว่า 4 หมื่นคนทางการเดินเรืออกไปอีก 11 กิโลเมตรถึง[[มีนบุรี]]<ref>[http://www.bmanews.co.cc/bmanews/index.php/2008-11-07-06-57-02/1468-2009-02-02-07-20-07 ผว.กทม.ตรวจเส้นทางเดินเรือส่วนต่อขยาย วัดศรีบุญเรืองถึงตลาดมีนบุรี ] สืบค้นเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2552</ref> ปี 2562 [[นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ]] รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐพลเอก[[ประยุทธ์ จันทร์โอชา]] จัดระเบียบเรือแสนแสบ เพิ่มราวจับรอบโป๊ะท่าเทียบเรือ ติดตั้งกล้องวงจรปิด, จอสมาร์ททีวี ติดตั้งอินเตอร์เน็ตอินเทอร์เน็ตไร้สาย (ไวไฟ) ในทุกท่าเทียบเรือ, รวมทั้งให้ติดตั้งจีพีเอสในเรือจำนวน 55 ลำ ที่ให้บริการในคลองแสนแสบ ทั้งนี้ จะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน<ref>[https://www.thairath.co.th/news/business/1643115 สั่งจัดระเบียบ "เรือแสนแสบ" ติดเพิ่มอุปกรณ์ไฮเทค-ชูชีพ!]</ref>
== ประวัติ ==
โครงการเดินเรือในคลองมีความคิดริเริ่มมาในช่วง[[จำลอง ศรีเมือง]] เป็นผู้ว่ากรุงเทพมหานครสมัยแรก โดยได้หาวิธีแก้ปัญหาการจราจรที่ติดขัดบนท้องถนน ได้มีการศึกษาความเป็นไปได้ในการที่กรุงเทพมหานคร จะใช้การขนส่งทางน้ำผ่านคลองต่าง ๆ ที่มีอยู่เข้ามาช่วย และเริ่มศึกษาโครงการเมื่อปลายปี 2531-2532 โดยทางสำนักงานนโยบายและแผนกรุงเทพมหานครได้ทำการศึกษาเส้นทางเดินเรือในคลองที่มีแนวโน้มความเป็นไปได้ไว้ทั้งหมดประมาณ 16 เส้นคลองได้แก่ คลองแสนแสบ คลองพระโขนง คลองประเวศน์ คลองเปรมประชากร คลองตัน คลองสามวา คลองบางซื่อ คลองบางใหญ่ คลองบางกอกน้อย คลองมอญ คลองชักพระ คลองบางมด คลองภาษีเจริญ คลองทวีวัฒนา คลองมหาสวัสดิ์ และคลองสนามชัย ก่อนจะถูกพัฒนาต่อในยุคจำลอง ศรีเมืองสมัยที่สองโดยเลือกคลองแสนแสบเป็นจุดเดินเรือ ในระหว่างนั้นมีหลายบริษัทให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก เช่น [[องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์]] ก็สนใจติดต่อมาจะขอทำเรือติดแอร์ แล้วก็เงียบหาย และบริษัทสินสมุทรมีหนังสือมาว่าจะขอทำโดยมีเงื่อนไขสัมปทานจากกทม. 20 ปี แต่กทมไม่มีอำนาจดังกล่าว แต่กรุงเทพสะดุดตากับบริษัท หจก. ครอบครัวขนส่งที่ยื่นเรื่องเข้ามาโดยไม่มีเงื่อนไขอย่างใดเหนือจากการให้บริการและประโยชน์กับประชาชนสูงสุด จึงถูกเลือกให้เข้ามาทดลองทำการเดินเรือในคลองแสนแสบนี้ เชาวลิต เมธยะประภาส ในนาม หจก ครอบครัวได้คลุกคลีกับเรือมาตั้งแต่เด็ก อาทิการส่งผู้โดยสารจากเจ้าพระยาสู่ปากเกร็ด หรือในครั้งเรียนรามคำแหงเมื่อปี 2514 เชาวลิตมองถึงปัญหาว่ายังไม่มีขสมกหรือรถเมล์รับนักศึกษาบริเวณรามคำแห และได้นำรถวิ่งเส้น ปากคลองตลาด-ม.รามคำแหง อีกทั้งยังนำเรือหางยาวจำนวน 10 ลำมาวิ่งในคลองแสนแสบเพื่อรับส่งนักศึกษาและประชาชนทั่วไป ระหว่างประตูน้ำกับม.รามคำแหง <ref>[http://info.gotomanager.com/news/details.aspx?id=9636 เชาวลิต ผู้วาดฝันให้ "จำลอง" ในคลองแสนแสบ]</reF>