ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิกิพีเดีย:การควบคุมประวัติ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Wedjet (คุย | ส่วนร่วม)
Wedjet (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
'''การควบคุมประวัติในวิกิพีเดีย''' ({{lang-en|Oversight}}) เป็นการดำเนินการชั้นสูงในการลบ ซึ่งจะแตกต่างจากการลบโดยทั่วไปซึ่งเป็นการดำเนินการของผู้ดูแลระบบ โดยใช้เครื่องมือดังกล่าวเพื่อป้องกันสารสนเทศส่วนบุคคล นำสารสนเทศที่หมิ่นประมาทออก และในบางครั้งอาจลบเนื้อหาที่ละเมิดลิขสิทธิ์จากการแก้ไขทุกรุ่น ทุกหน้า หรือจากปูมการดำเนินการ (รวมทั้งการลบรายชื่อผู้ใช้เมื่อมีความจำเป็น) บนวิกิพีเดียภาษาไทย
 
การควบคุมประวัติบนวิกิพีเดียภาษาไทย มอบหมายให้[[Special:ListUsers/oversight|ผู้ควบคุมประวัติเหล่านี้]] สามารถสกัดกั้นเนื้อหาได้ ถ้าเนื้อหานั้นเข้าข่ายเนื้อหาต้องห้ามซึ่งกำหนดไว้ด้านล่าง โดยการใช้เครื่องมือเหล่านี้จะถูกสังเกตการณ์และตรวจสอบโดยผู้ควบคุมประวัติรายอื่น ซึ่งจะทำเครื่องหมายว่าการดำเนินการนั้นได้รับการตรวจสอบแล้ว และจากประชาคมวิกิพีเดียภาษาไทย ผู้ควบคุมประวัติอาจถูกประชาคมเพิกถอนสิทธิผู้ควบคุมประวัติหากใช้เครื่องมือควบคุมประวัติในทางที่ผิด <!--หรือมีการดำเนินการบนเครื่องมือควบคุมประวัติต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในหนึ่งปีที่ผ่านมา-->
 
การให้สิทธิผู้ควบคุมประวัติจะกระทำผ่านการเสนอชื่อจากประชาคม โดยใช้คุณสมบัติเดียวกับ [[วิกิพีเดีย:เสนอชื่อเพื่อเป็นผู้ดูแล|การเสนอชื่อเพื่อเป็นผู้ดูแลระบบ]] โดยอนุโลม และมีคุณสมบัติเพิ่มเติมสำหรับผู้ถูกเสนอชื่อเป็นควบคุมประวัติคือไม่จำต้องเป็น[[WP:ADMIN|ผู้ดูแลระบบ]] แต่จะต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไป ณ วันที่เสนอชื่อ และได้ลงนามใน[[m:Confidentiality agreement for nonpublic information|ข้อตกลงการรักษาความลับสำหรับสารสนเทศส่วนบุคคล]]ต่อ[[มูลนิธิวิกิมีเดีย]] แล้ว
บรรทัด 52:
* ผู้ใช้ที่ได้รับสถานะผู้ควบคุมประวัติ ที่ขาดความเคลื่อนไหวเป็นเวลานานกว่า 1 ปี จะถูกถอนสถานะโดยปริยาย
* หากมีการใช้เครื่องมือควบคุมประวัติในทางที่ผิด เช่น มีการสกัดกั้นเนื้อหาโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรเป็นเวลาบ่อยครั้ง ผู้ควบคุมประวัติที่ดำเนินการเช่นนั้นจะถูกถอนสถานะทันที
* หากมีข้อสงสัยว่ามีการเครื่องมือในทางที่ผิด ให้อภิปรายกรณีดังกล่าวในวิกิพีเดียภาษาไทย โดยประชาคมวิกิพีเดียภาษาไทยจะเป็นผู้ตัดสินให้ถอนสถานะ และดำเนินเรื่องให้ผู้จัดการโครงการถอนสถานะต่อไป ผู้จัดการโครงการจะไม่เป็นผู้ถอนสถานะด้วยตนเอง แต่สามารถให้ข้อมูลเพื่อแสดงว่ามีการใช้เครื่องมือในทางที่ผิด และหากกรณีการถอดเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล สามารถขอให้มูลนิธิวิกิมีเดียเป็นผู้ประกาศถอดถอนสถานะได้
* สามารถส่งข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือในทางที่ผิด หรือการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลไปที่คณะกรรมการผู้ตรวจการวิกิมีเดีย (Ombudsman committee) ได้เช่นกัน หากเป็นกรณีอื่น ๆ สามารถส่งให้ประชาคมวิกิพีเดียภาษาไทยเป็นผู้พิจารณาได้
 
บรรทัด 58:
โดยทั่วไป ผู้ควบคุมประวัติเป็นผู้ใช้ที่มีประสบการณ์ในการรับมือกับกรณีที่ละเอียดอ่อน กรณีเกี่ยวกับสิทธิส่วนบุคคล และกรณีอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับเนื้อหา หรือปูมบันทึกการดำเนินการต่างๆ ภายในวิกิพีเดียภาษาไทย หากต้องการให้มีการสกัดกั้นเนื้อหา กรุณาแจ้งเรื่องไว้ที่ [[WP:AN|หน้าแจ้งผู้ดูแลระบบ]] เพื่อให้ผู้ควบคุมประวัติดำเนินการต่อไป อย่างไรก็ดี กรณีที่เป็นเรื่องละเอียดอ่อนมาก ๆ อาจสามารถติดต่อกับผู้ควบคุมประวัติได้โดยใช้ช่องทางดังต่อไปนี้
* ติดต่อผู้ควบคุมประวัติเป็นรายคน ผู้ควบคุมประวัติอาจให้คำแนะนำ ช่วยจัดการกรณีดังกล่าว หรือส่งเรื่องไปพิจารณากับผู้ควบคุมประวัติรายอื่น
* ติดต่อกับคณะผู้ควบคุมประวัติทั้งหมด วิธีนี้มักเป็นวิธีการที่ดีที่สุดที่จะได้รับคำตอบจากผู้ควบคุมประวัติ เป็นการให้ผู้ควบคุมประวัติรู้โดยทั่วกัน หรืออาจใช้ในกรณีที่ไม่รู้จักผู้ควบคุมประวัติเป็นการส่วนตัวและไม่อาจพิจารณาได้ว่าจะติดต่อผู้ใด หากกรณีดังกล่าวเป็นกรณีละเอียดอ่อนที่สุด อาจใช้วิธีติดต่อกับประชาคมชาวิกิพีเดียภาษาไทย หรือคณะกรรมการอนุญาโตตุลาการ ไม่ว่าจะทั้งหมดหรือรายบุคคลก็ได้
* สำหรับกรณีที่อาจเกี่ยวข้องกับโครงการอื่น เช่น ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล หรือกรณีที่อยู่นอกเหนืออำนาจของผู้ควบคุมประวัติในวิกิพีเดียภาษาไทย สามารถส่งอีเมลไปยังกลุ่มรวมของผู้ควบคุมประวัติผู้ใช้ทุกโครงการของวิกิมีเดียได้ แต่เนื่องจากอีเมลดังกล่าวไม่สามารถส่งจากผู้ใช้ทั่วไปไปยังกลุ่มรวมได้โดยตรง ผู้ที่ต้องการติดต่อกับผู้ควบคุมประวัติผู้ใช้รวมนั้นจึงต้องติดต่อกับคณะผู้ควบคุมประวัติรายคน แล้วขอให้ส่งอีเมลไปยังกลุ่มรวมของผู้ควบคุมประวัติ
 
บรรทัด 67:
# ถ้าผู้ถูกเสนอตอบรับให้เสนอชื่อตนได้ ผู้เสนอนำชื่อมาใส่ไว้ด้านล่างในส่วนการเสนอชื่อ พร้อมเขียนเหตุผลที่เสนอบุคคลนั้น และควรไปประกาศเพิ่มในส่วน [[แม่แบบ:ประกาศ]] เพื่อให้ผู้อื่นได้รับรู้ว่าช่วงนี้มีการเสนอชื่อ
# ผู้ใช้คนอื่น (นอกจากผู้เสนอชื่อและตัวผู้ถูกเสนอเอง และไอพี) สามารถลงชื่อให้การสนับสนุน เป็นกลาง หรือคัดค้านได้ พร้อมแสดงเหตุผลประกอบ หรือสามารถถามคำถามต่อผู้ถูกเสนอชื่อก่อนตัดสินใจได้ ''อนึ่งผู้ลงชื่อให้การสนับสนุน เป็นกลาง หรือ คัดค้าน จะต้องไม่เป็น[[วิกิพีเดีย:หุ่นเชิด|หุ่นเชิด]]ของผู้ใด'' หากพบ/สันนิษฐานว่าเป็นหุ่นเชิด จะไม่ถูกนำไปประกอบพิจารณาการตัดสินใจ
# หลังการเสนอชื่อแล้ว 2 สัปดาห์ ชุมชนวิกิพีเดียภาษาไทยจะทำการตัดสินว่าคนนั้นควรเป็นผู้ควบคุมประวัติหรือไม่ '''โดยจะต้องได้รับคะแนนสนับสนุน 25 คะแนนขึ้นไป และคะแนนสนับสนุนต้องไม่ต่ำกว่า 75% ของจำนวนผู้ลงคะแนนทั้งหมด''' รวมทั้งดูจากความเห็นและเหตุผลประกอบต่าง ๆ ที่ถูกเสนอเข้ามา หากผ่านเกณฑ์ดังกล่าว จะส่งชื่อผู้ถูกเสนอชื่อไปดำเนินการ[[m:Steward_requests/Permissions#Oversight_access|ขอสิทธิผู้ควบคุมประวัติที่เมทาวิกิ]] เมื่อผู้ดูแลโครงการรับทราบการขอสิทธิดังกล่าว ผู้ดูแลโครงการจะให้ผู้ถูกเสนอชื่อยืนยันตัวบุคคล และลงนามในข้อตกลงการรักษาความลับสำหรับสารสนเทศส่วนบุคคลตามช่องทางที่มูลนิธิวิกิมีเดียกำหนด
# เมื่อการตัดสินเสร็จสิ้นลง ผู้ที่ถูกเสนอชื่ออาจแสดงความเห็นไว้ในส่วนล่าง และหลังจากนั้นรายชื่อและความเห็นจะถูกเก็บเข้าไป [[วิกิพีเดีย:การควบคุมประวัติ/การเสนอชื่อ/การเสนอชื่อที่ปิดไปแล้ว|ในส่วนการเสนอชื่อที่ปิดไปแล้ว]]