ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Cacaotica (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Cacaotica (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 12:
<!-- general -->
| type = พงศาวดาร
| date = {{ubl|ไม่ระบุ|(มีรับสั่งใน พ.ศ. 2223)<ref name = ":2"/>}}
| scribe(s) =
| place of origin =
บรรทัด 42:
'''''พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ''''' เป็น[[พงศาวดารไทย]]ซึ่ง[[พระยาปริยัติธรรมธาดา (แพ ตาละลักษมณ์)|หลวงประเสริฐอักษรนิติ์ (แพ ตาละลักษมณ์)]] พบต้นฉบับที่บ้านราษฎรแห่งหนึ่งและนำมาให้[[หอพระสมุดวชิรญาณ]]ใน พ.ศ. 2450 หอพระสมุดจึงตั้งชื่อว่า ''ฉบับหลวงประเสริฐ'' ให้เป็นเกียรติแก่ผู้พบ<ref name = ":11"/>
 
[[บานแผนก]]ของพงศาวดารกล่าวว่า พงศาวดารนี้เกิดจากการที่มีรับสั่งใน จ.ศ. 1042 (พ.ศ. 2223) ให้คัดจดหมายเหตุต่าง ๆ เข้าด้วยกัน<ref name = ":2"/> และนักประวัติศาสตร์เห็นว่า ผู้มีรับสั่ง คือ [[สมเด็จพระนารายณ์]]แห่ง[[กรุงศรีอยุธยา]] เพราะปีที่ระบุไว้ตรงกับรัชสมัยของพระองค์<ref name = ":10"/><ref name = ":15"/><ref name = ":16"/><ref name = ":4"/> นอกจากนี้ พงศาวดารไม่ได้เอ่ยถึงผู้แต่ง แต่นักประวัติศาสตร์ตะวันตกบางคนเชื่อว่า เป็นผลงานของโหรหลวงที่มีบรรดาศักดิ์ว่า "โหราธิบดี"<ref name = ":12"/><ref name = ":13"/>
 
เนื้อหาของพงศาวดารว่าด้วยเหตุการณ์เกี่ยวกับกรุงศรีอยุธยา ตั้งแต่การสร้างพระพุทธรูป[[พระพุทธไตรรัตนนายก_(วัดพนัญเชิง)|เจ้าพแนงเชีง]]ใน จ.ศ. 686 (พ.ศ. 1867) ตามด้วยการสถาปนากรุงศรีอยุธยาใน จ.ศ. 712 (พ.ศ. 1893) มาจนค้างที่รัชกาล[[สมเด็จพระนเรศวร]]คราวที่ทรงยกทัพไปอังวะใน จ.ศ. 966 (พ.ศ. 2147) ต้นฉบับมีเนื้อหาเท่านี้ แต่[[กรมพระยาดำรงราชานุภาพ]]ทรงเชื่อว่า น่าจะมีต่อ จึงทรงเพียรหา กระทั่งทรงได้ฉบับคัดลอกในสมัย[[กรุงธนบุรี]]มาเมื่อ พ.ศ. 2456 ซึ่งมีเนื้อหาเท่ากัน จึงทรงเห็นว่า เนื้อหาที่เหลือคงสูญหายมาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรีเป็นอย่างน้อยแล้ว<ref name = ":0"/>