ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เลขที่อยู่ไอพี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
T22
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ย้อนการแก้ไขของ 101.108.246.214 (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย NP-chaonay
ป้ายระบุ: ย้อนรวดเดียว
บรรทัด 1:
'''เลขที่อยู่ไอพี'''<ref>10330[http://rirs3.royin.go.th/coinages/webcoinage.php ศัพท์บัญญัติ ราชบัณฑิตยสถาน] (สืบค้นออนไลน์)</ref> ({{lang-en|IP address: Internet Protocol address}}<ref name=":0" />) หรือชื่ออื่นเช่น ''ที่อยู่ไอพี, หมายเลขไอพี, เลขไอพี, ไอพีแอดเดรส'' คือฉลากหมายเลขที่กำหนดให้แก่อุปกรณ์แต่ละชนิด (เช่น[[คอมพิวเตอร์]] [[เครื่องพิมพ์]]) ที่มีส่วนร่วมอยู่ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์หนึ่ง ๆ ที่ใช้อินเทอร์เน็ตโพรโทคอลในการสื่อสาร <ref name="rfc760">RFC 760, ''DOD Standard Internet Protocol'' (January 1980)</ref> เลขที่อยู่ไอพีทำหน้าที่สำคัญสองอย่างได้แก่ [[การระบุ (สารสนเทศ)|การระบุ]]แม่ข่ายหรือส่วนต่อประสานเครือข่าย และ[[เลขที่อยู่เชิงตรรกะ|การกำหนดที่อยู่]]ให้ตำแหน่งที่ตั้ง บทบาทของมันได้บรรยายไว้ว่า "[[ชื่อแม่ข่าย|ชื่อ]]ใช้แสดงว่าเราค้นหาอะไร ที่อยู่ใช้แสดงว่ามันอยู่ที่ไหน เส้นทางใช้แสดงว่าจะไปที่นั่นอย่างไร" <ref name="rfc791">RFC 791, ''Internet Protocol – DARPA Internet Program Protocol Specification'' (September 1981)</ref>
 
แต่เดิมผู้ออกแบบอินเทอร์เน็ตโพรโทคอล ได้กำหนดเลขที่อยู่ไอพีให้เป็นตัวเลข [[32 บิต]]ค่าหนึ่ง <ref name=rfc760 /> ซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อ[[เลขที่อยู่ไอพีรุ่น 4]] (IPv4) และระบบนี้ยังคงมีการใช้งานอยู่ในปัจจุบัน อย่างไรก็ดี เนื่องจาก[[อินเทอร์เน็ต]]เติบโตขึ้นอย่างมหาศาล และมีการคาดการณ์ว่า[[การใช้หมดไปของเลขที่อยู่ไอพีรุ่น 4|เลขที่อยู่ไอพีรุ่น 4 จะถูกใช้หมดไป]] เลขที่อยู่ไอพีรุ่นใหม่จึงได้พัฒนาขึ้นใน ค.ศ. 1995 คือ[[เลขที่อยู่ไอพีรุ่น 6]] (IPv6) ซึ่งใช้ตัวเลข 128 บิตกำหนดที่อยู่ <ref name=rfc1883>RFC 1883, ''Internet Protocol, Version 6 (IPv6) Specification'', S. Deering, R. Hinden (December 1995)</ref> และได้ทำให้เป็นมาตรฐานใน อาร์เอฟซี 2460 เมื่อ ค.ศ. 1998 <ref name =rfc2460>RFC 2460, ''Internet Protocol, Version 6 (IPv6) Specification'', S. Deering, R. Hinden, The Internet Society (December 1998)</ref> ส่วน[[การเผยแพร่เลขที่อยู่ไอพีรุ่น 6|การนำมาใช้จริง]]นั้นเริ่มตั้งแต่กลางคริสต์ทศวรรษ 2000