ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรงเรียนราชินีบน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 35:
'''พ.ศ. 2469''' [[สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร]]ทรงพระศรัทธาบริจาคทุนทรัพย์อุดหนุนการศึกษาเป็นจำนวนมากโปรดให้จัดซื้อที่ดิน บ้านพระยามหิบาลจำนวน 2 ไร่ 75 ตารางวา กับขอพระราชทานที่ดินของ[[สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า]] ตรงริม[[ถนนเขียวไข่กา]] มาเพิ่ม ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ถมคูที่คั่นอยู่ตรงกลางนั้นเสีย จึงถมเนื้อที่ติดต่อกันรวม 4 ไร่ 1 งาน 97 ตารางวา โปรดให้กองช่างสุขาภิบาลอำนวยการสร้างสถานที่ศึกษาสำหรับสตรี ณ ที่แห่งนี้ ประทานเครื่องเรือนพร้อมเสร็จ ซึ่งจวนสำเร็จการเรียนอยู่แล้วควรจะให้คุ้นเคยกับสถานที่อันถูกต้องตามแบบสุขาภิบาลบ้าง เมื่อออกไปอยู่บ้านจะได้รู้จักแต่งบ้าน และรักษาสุขาภิบาล และอนามัยเป็นอันดี ทรงปรึกษา[[หม่อมเจ้าพิจิตรจิราภา เทวกุล|หม่อมเจ้าหญิงพิจิตรจิราภา เทวกุล]] ซึ่งท่านทรงเห็นด้วยและตัดสินพระทัยยุบโรงเรียนศรีจิตสง่า สมเด็จพระปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร ทรงพระกรุณาโปรดให้รับนักเรียนที่เคยเรียนที่โรงเรียนศรีจิตสง่านี้เข้าเรียนต่อไปในโรงเรียนใหม่นี้ จึงเป็นอันว่าโรงเรียนใหม่นี้รับนักเรียนตั้งแต่ชั้นมัธยมปีที่ 3 ขึ้นไป ตั้งแต่ พ.ศ. 2472 เป็นต้นไป
 
[[สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร]] ประทานนามโรงเรียนว่า “ โรงเรียนราชินีบน ” เพื่อเฉลิมพระเกียรติ[[สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง]] ดังแจ้งในแผ่นจารึกหน้าตึกพิจิตรจิราภาว่าสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เป็นองค์แรกที่ทอดพระเนตรเห็นความสำคัญของการศึกษาแห่ง[[สตรี]] ซึ่งจะเป็นมารดาและบุพพาจารย์สืบต่อไปในภายหน้า ได้ทรงสละพระราชทรัพย์เป็นอเนกประการ เพื่อพระราชทานการศึกษาแก่สตรี เริ่มตั้งแต่ พระราชธิดาใน[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ตลอดจนกุลสตรีทั่วไป สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร เป็นพระองค์หนึ่งที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จึงทรงสร้าง โรงเรียนราชินีบน แห่งนี้ขึ้นไว้เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระพันปีหลวงพระองค์นั้น
 
นอกจากนี้ยังได้ทรงสร้างห้องแถวไม้ไว้เก็บผลประโยชน์ไว้บำรุงโรงเรียนทุกปี ขณะที่ยังดำรงพระชนม์อยู่ก็จะประทานเงินสำหรับใช้สอยประจำตลอดมา นอกจากนี้ยังได้พระราชทาน[[วังคันธวาส]]ที่ตั้งอยู่ [[ถนนวิทยุ]] ให้แก่โรงเรียนราชินีบน