ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Kritsnp (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 80:
ผู้เจ็บป่วยทางอากาศ นับว่าพระองค์ทรงวางรากฐานแนวทางเสริมสร้างกำลังทางอากาศของประเทศไทยอย่างจริงจัง จนกระทั่งได้มาเป็น[[กองทัพอากาศ]]ในปัจจุบัน<ref>[http://www.awc.rtaf.mi.th/historyT.html พระประวัติโดยสังเขปของ จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ กรมหลวงพิศณุโลกประชานา] วิทยาลัยกองทัพอากาศ</ref>
 
ชีวิตในส่วนพระองค์ของสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถนั้น หลังจากที่หม่อมคัทรินพระชายาได้เสด็จไปพักผ่อนเพื่อรักษาสุขภาพที่[[ประเทศญี่ปุ่น]]และ[[แคนาดา]] หลังจากกลับมาพระองค์ก็ได้ทรงหย่าขาดจากกัน และในเวลาต่อมาพระองค์ก็ได้ทูลขอพระบรมราชานุญาตจะทำการสมรสกับหม่อมเจ้าหญิงชวลิตโอภาสต่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่พระองค์ก็ไม่ได้ทรงรับพระบรมราชานุญาต จึงทรงร่วมชีวิตกันเองโดยมิได้มีพิธีสมรส ด้วยเหตุเพราะขัดกับข้อบังคับสำหรับทหารบกที่พระองค์ทรงเป็นผู้ร่างเองว่า ต้องมีการพิธีเสกสมรส จึงจะอยู่กับคู่สมรสได้ ดังนั้นพระองค์จึงได้ทรงลาออกจากราชการ[[ทหาร]] แต่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงได้รับใบลาแล้ว ก็มิได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ลาออก และยังทรงขอแก้ไขข้อบังคับทหารข้อนั้นเป็นการผ่อนปรน แต่สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ ก็ทรงยืนยันกราบถวายบังคมทูลลาออกเช่นเดิม และในปีนั้นเองสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชนนี พระพันปีหลวง (สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ) ได้เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2462<ref name="สมาคมศิษย์เก่าจักรพงษภูวนาถ"/>
 
ครั้นเมื่อเสร็จสิ้นงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวงในต้นปี พ.ศ. 2463<ref name="สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ"/> แล้วพระองค์จึงขอพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ขอลาพักผ่อน ครั้นเมื่อได้รับพระบรมราชานุญาตแล้ว พระองค์ทรงแต่งตั้งให้พลตรี[[พระยาภักดีภูธร (ชื่น ภักดีกุล)]] เจ้ากรมแผนที่ทหารบกเป็นผู้รักษาการในตำแหน่งเสนาธิการทหารบกแทนพระองค์ ตั้งแต่วันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2463<ref name="สมาคมศิษย์เก่าจักรพงษภูวนาถ"/>
=== เสด็จทิวงคต ===
จอมพล สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ พระองค์ตกลงพระทัยว่าจะเสด็จประพาสทะเลทางฝั่ง[[แหลมมลายู]] ในครั้งนั้นพระองค์ได้ทรงพาหม่อมเจ้าหญิงชวลิตโอภาส พระชายา, พระโอรสคือ[[พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์]] และนายพันเอก[[พระยาสุรเสนา (หม่อมราชวงศ์ชิต กำภู)|พระยาสุรเสนา]] ปลัดกรมเสนาธิการทหารบก ตามเสด็จไปด้วย แต่ขณะที่เสด็จไปทางเรือไปตามแนวฝั่งทะเลตะวันตก เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2463<ref name="พระประวัติ"/> ได้เพียงวันเดียว ก็มีพระอาการประชวรไข้ไปตลอดทาง กลายเป็นพระปับผาสะเป็นพิษ (เป็น[[โรคปอดบวม]]) ขณะที่เรือถึงเมืองสิงคโปร์เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2463 พระอาการกำเริบหนักขึ้น ครั้นความทราบใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พันโท[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว|สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมขุนสุโขทัยธรรมราชา]]และพันเอก[[พระยาดำรงแพทยาคุณ (ชื่น พุทธิแพทย์)|พระศักดาพลรักษ์]]รีบออกไปสิงคโปร์โดยรถไฟพิเศษ เพื่อจัดการรักษาพยาบาลร่วมมือกันกับนายแพทย์ในเมือง[[สิงคโปร์]] ซึ่งได้ถวายพระโอสถประคับประคองเต็มความสามารถอยู่แล้ว พระอาการมีแต่ทรงกับทรุดตลอดมา และเสด็จทิวงคตเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2463 เวลา 13 นาฬิกา 50 นาที<ref>สรศัลย์ แพ่งสภา, [http://www.maneebooks.com/German_capt/germ_11.html นักเรียนนายร้อยไทยในเยอรมัน ยุค ไกเซอร์]</ref> พระอาการกำเริบหนักเหลือกำลังที่พระองค์จะทนทานได้เสด็จทิวงคตในเวลานั้น<ref name="สมาคมศิษย์เก่าจักรพงษภูวนาถ"/>
 
การเสด็จทิวงคตของจอมพลสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ได้นำความโศกเศร้าอาลัยต่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและข้าราชการฝ่ายทหารอย่างสุดซึ้ง ดังปรากฏข้อความในคำนำหนังสือที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์แจกในงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ มีความตอนหนึ่งว่า