ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 61:
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยประกอบด้วยอาคาร 5 หลัง เป็นอาคารเรียนและวิจัย 4 หลัง คือ อาคารคณะเภสัชศาสตร์ (เปิดใช้ พ.ศ. 2525) อาคาร 80 ปี เภสัชศาสตร์ (เปิดใช้ พ.ศ. 2536) อาคารนวัตกรรมทางเภสัชศาสตร์ (เปิดใช้ พ.ศ. 2552) และอาคารเลี้ยงสัตว์ทดลอง ในสถานที่ตั้งปัจจุบันแต่เดิมมีอาคารคณะเภสัชศาสตร์เพียงหลังเดียว แต่เนื่องจากมีการขยายตัวทางด้านการเรียนการสอนและการวิจัยจึงจำเป็นต้องมีการขยายพื้นที่ใช้สอยเพิ่มเติม นำไปสู่การสร้างอาคาร "80 ปี เภสัชศาสตร์" ขึ้น<ref name ="80ปี">หนังสือ 80 ปี การศึกษาเภสัชศาสตร์ในประเทศไทย</ref> ซึ่งมีความทันสมัย และได้นำครุภัณฑ์และเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในกระบวนการเรียนการสอน<ref name="80ปี"/> อย่างไรก็ดี พื้นที่งานวิจัยยังต้องการการขยายตัวอีกมาก จึงมีการสร้างอาคารนวัตกรรมทางเภสัชศาสตร์ขึ้น เพื่อเป็นอาคารวิจัยและหอประชุม เริ่มต้นการก่อสร้างในปี [[พ.ศ. 2546]] แล้วเสร็จในปี [[พ.ศ. 2549]] และในวันที่ [[25 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2552]] [[สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี]] เสด็จฯ เป็นองค์ประธานในพิธีเปิดอาคารหลังนี้<ref>งานพิธีการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย [http://www.cca.chula.ac.th/protocol/opening.html?start=10 พิธีเปิดอาคารนวัตกรรมทางเภสัชศาสตร์] เรียกข้อมูลวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2556</ref>
 
นอกจากนี้ยังมีอาคารที่เกี่ยวข้องกับการฝึกปฏิบัติวิชาชีพคือ อาคารโอสถศาลา (เปิดใช้ พ.ศ. 2526, เปิดใช้ครั้งใหม่ พ.ศ. 2544) เป็นที่ตั้งของสถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชนหรือร้านยาของคณะสำหรับให้นิสิตและนักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ได้ฝึกปฏิบัติวิชาชีพในร้านยา สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เป็นองค์ประธานในพิธีเปิดอาคารหลังนี้ เมื่อวันที่ [[26 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2544]] ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อทดแทนอาคารหลังเดิมที่เปิดใช้ตั้งแต่วันที่ [[26 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2529]]<ref>[http://www.pharm.chula.ac.th/หน่วยงานสถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชนโอสถศาลา.html หน่วยงานสถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชนโอสถศาลา] เรียกข้อมูลวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2552</ref>
 
ภายในคณะยังมีพื้นที่เพื่อการนันทนาการสำหรับนิสิต คณาจารย์ และบุคลากร ได้แก่ สนามบาสเกตบอล และลานอาร์เอ็กซ์ (Rx) รวมถึงยังมีการรวบรวมพรรณพืช สมุนไพรท้องถิ่น สมุนไพรหายาก จัดตั้งขึ้นเป็น "พิพิธภัณฑ์สมุนไพร" เปิดเมื่อวันที่ [[26 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2544]] โดย[[สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี]]ทรงพระกรุณาเสด็จเข้าเยี่ยมชมเป็นพระองค์แรก พร้อมทั้งคณะผู้บริหารของมหาวิทยาลัย<ref>[http://www.pharm.chula.ac.th/museum/history-back.htm ประวัติพิพิธภัณฑ์สมุนไพร] เรียกข้อมูลวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2552</ref>
 
คณะเภสัชศาสตร์มีประตู 2 ประตู ได้แก่ ประตูซอยจุฬาฯ 64 ซึ่งจรดพื้นที่ของศูนย์การค้าสยามสแควร์ และประตูซอยจุฬาฯ 62 ติดต่อกับถนนพญาไท ภายในมหาวิทยาลัยมีการจัดระบบการเดินรถภายใน สายเดินรถที่ผ่านคณะเภสัชศาสตร์ ได้แก่สายที่ 1 และ 4<ref>[http://www.chula.ac.th/about/visitor_map/visitor_map_shuttle/index.htm รถโดยสารภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย] เรียกข้อมูลวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2556</ref> นอกจากนี้ยังสามารถเดินทางโดยใช้[[รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา|รถไฟฟ้าบีทีเอส]]ซึ่งใกล้กับ[[สถานีสยาม]]