ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 17:
}}
 
'''คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย''' เป็น[[คณะเภสัชศาสตร์]]แห่งแรกในประเทศไทย โดยถือกำเนิดจาก "แผนกแพทย์ผสมยา โรงเรียนราชแพทยาลัย" หรือ "โรงเรียนปรุงยา"<ref>[http://www.pharm.chula.ac.th/แนะนำคณะประวัติ.html ประวัติคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย] เรียกข้อมูลวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2552</ref> ตามดำริของ[[สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ|สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ]]และ[[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร|สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาชัยนาทนเรนทร]] เมื่อวันที่ [[8 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2456]] ซึ่งถือเป็นวันสถาปนาคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นวันสถาปนาวิชาชีพ[[เภสัชกรรม]]ในประเทศไทยอีกด้วย<ref name="กระถิน">หนังสือ "'''กระถินณรงค์'44'''"</ref>
 
เมื่อประดิษฐานจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแล้ว โรงเรียนปรุงยามีฐานะเป็นแผนกแพทย์ผสมยา ในสังกัด[[คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล|คณะแพทยศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] (คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล) และได้รับการพัฒนาหลักสูตรขึ้น จัดตั้งเป็นแผนกเภสัชกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2477 ต่อมาในปี [[พ.ศ. 2486]] มีการโอนย้ายสังกัดไปยัง[[มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์]] (ปัจจุบันคือ [[มหาวิทยาลัยมหิดล]]) เมื่อ[[มหาวิทยาลัยมหิดล]]จัดตั้งคณะเภสัชศาสตร์ขึ้นใหม่ จึงได้โอนย้ายคณะเภสัชศาสตร์แห่งนี้กลับมาสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอีกครั้งหนึ่ง โดยใช้อาคารเภสัชศาสตร์ (ปัจจุบันคือ[[คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย|คณะศิลปกรรมศาสตร์]]) เป็นที่ทำการเรียนการสอนตั้งแต่ปี [[พ.ศ. 2482]] จนกระทั่งในปี [[พ.ศ. 2525]] ได้ย้ายอาคารมาทำการเรียนการสอน ณ ที่ตั้งปัจจุบัน บริเวณ[[สยามสแควร์]] ติดกับ[[คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย|คณะทันตแพทยศาสตร์]] และ[[คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย|คณะสัตวแพทยศาสตร์]]<ref name="กระถิน"/>
บรรทัด 27:
[[ไฟล์:เภสัชจุฬา 2456.jpg|thumb|left|250px|นักเรียนปรุงยาและคณาจารย์ถ่ายภาพร่วมกัน (รุ่น พ.ศ. 2456 - 2458)]]
 
ในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] [[สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ|สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ]] เสนาธิการทหารบก มีพระดำริประทานแก่[[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร|สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร]] ผู้ตรวจการ[[คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล|โรงเรียนราชแพทยาลัย]] ว่าตามกรมกองทหารบกมีแพทย์ประจำหน่วยพยาบาลอยู่แล้ว แต่ยังไม่มีผู้ใดได้เล่าเรียนและได้รับการอบรมไปประจำตามที่จ่ายยา ควรตั้งโรงเรียนแพทย์ปรุงยาขึ้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทรซึ่งมีพระดำริเห็นพ้องจึงมีพระบันทึกเรื่อง "ความคิดเห็นเรื่อง การฝึกหัดแพทย์ผสมยา" เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2456 เนื้อหาของบันทึกเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับระบบการจัดการเรียนการสอน สถานที่การปฏิบัติการ และครูผู้สอนในการเรียนแพทย์ผสมยา จากแนวพระดำริดังกล่าวจึงได้มีการสถาปนาแผนกแพทย์ผสมยาขึ้นตามประกาศเสนาบดีกระทรวงธรรมการ เรื่อง "ระเบียบการจัดนักเรียนแพทย์ผสมยา พ.ศ. 2457" เมื่อวันที่ [[8 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2456]] จึงถือว่าวันดังกล่าวเป็นวันสถาปนาวิชาชีพเภสัชกรรมขึ้นในประเทศไทย และถือเป็นวันกำเนิดคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอีกด้วย และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทรจึงได้รับการยกย่องเป็น "บิดาแห่งวิชาชีพเภสัชกรรมแห่งประเทศไทย"<ref name="กระถิน"/>
 
การศึกษาด้านเภสัชศาสตร์เริ่มต้นการสอนแผนกแพทย์ผสมยาหรือในอีกชื่อหนึ่งว่า "โรงเรียนปรุงยา" ในสังกัดโรงเรียนราชแพทยาลัย เมื่อวันที่ [[2 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2457]] เมื่อจบการศึกษาจะได้รับประกาศนียบัตรแพทย์ปรุงยา โดยมีนักเรียนจบการศึกษาในรุ่นแรก 4 คน ต่อมาได้มีการประดิษฐานจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขึ้น กระทรวงธรรมการจึงได้ประกาศให้รวมโรงเรียนราชแพทยาลัยเข้ามาสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ [[6 เมษายน]] [[พ.ศ. 2460]] เป็นคณะแพทยศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดลในปัจจุบัน) การศึกษาด้านเภสัชศาสตร์จึงได้ยกระดับขึ้นสู่ระดับอุดมศึกษา<ref name="กระถิน"/> โดยใช้สถานที่ทำการสอนบริเวณ[[วังวินด์เซอร์]] เรือนนอนหอวังและ[[โรงพยาบาลศิริราช]] ต่อมาในปี พ.ศ. 2475 ปทานุกรมของไทยได้กำหนดให้บัญญัติใช้คำว่า "เภสัชกรรม" แทนคำว่า "ปรุงยา" หรือ "ผสมยา"<ref>ภญ.รศ.ภรทิพย์ นิมมานนิตย์, "ประวัติการศึกษาเภสัชศาสตร์" '''การประกาศเกียรติคุณศิษย์เก่าดีเด่น''', สมาคมนิสิตเก่าคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2553.</ref> จึงได้มีประกาศกระทรวงธรรมการให้มีการเปลี่ยนชื่อแผนกเป็น "แผนกเภสัชกรรม" ในสังกัดของคณะแพทยศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย<ref>ราชกิจจานุเบกษา [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2476/D/290.PDF ประกาศกระทรวงธรรมการ เรื่อง แก้ไขความคลาดเคลื่อนประกาศขนานนามแผนกเภสัชกรรม] เรียกข้อมูลวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553</ref> ต่อมาได้มีการตราพระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2477 บังคับใช้ขึ้น โดยกำหนดจัดตั้งแผนกเภสัชกรรมศาสตร์ มีฐานะเป็นแผนกอิสระในบังคับบัญชาโดยตรงของมหาวิทยาลัยเช่นเดียวกับแผนกสถาปัตยกรรมศาสตร์ และได้ยกระดับวุฒิการศึกษาเป็น "ประกาศนียบัตรเภสัชกรรม (ป.ภ.)" เทียบเท่าอนุปริญญา โดยให้คณบดีคณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รักษาการตำแหน่งหัวหน้าแผนกเภสัชกรรมศาสตร์อีกตำแหน่งหนึ่ง
บรรทัด 59:
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งอยู่บริเวณพื้นที่การศึกษาด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Medical Square) จรด[[สยามสแควร์]]ตรงข้ามศูนย์การค้า[[มาบุญครอง]] มีพื้นที่ติดต่อกับคณะทันตแพทยศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ และสถาบันวิจัยของมหาวิทยาลัย<ref>หนังสือ 95 ปี คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย</ref> แต่เดิมคณะเภสัชศาสตร์ใช้สถานที่ทำการเรียนการสอน ณ อาคารของคณะศิลปกรรมศาสตร์ในปัจจุบัน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2484 และได้ย้ายมายังสถานที่ตั้งปัจจุบันในปี [[พ.ศ. 2525]]
 
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยประกอบด้วยอาคาร 5 หลัง เป็นอาคารเรียนและวิจัย 4 หลัง คือ อาคารคณะเภสัชศาสตร์ (เปิดใช้ พ.ศ. 2525) อาคาร 80 ปี เภสัชศาสตร์ (เปิดใช้ พ.ศ. 2536) อาคารนวัตกรรมทางเภสัชศาสตร์ (เปิดใช้ พ.ศ. 2552) และอาคารเลี้ยงสัตว์ทดลอง ในสถานที่ตั้งปัจจุบันแต่เดิมมีอาคารคณะเภสัชศาสตร์เพียงหลังเดียว แต่เนื่องจากมีการขยายตัวทางด้านการเรียนการสอนและการวิจัยจึงจำเป็นต้องมีการขยายพื้นที่ใช้สอยเพิ่มเติม นำไปสู่การสร้างอาคาร "80 ปี เภสัชศาสตร์" ขึ้น<ref name ="80ปี">หนังสือ 80 ปี การศึกษาเภสัชศาสตร์ในประเทศไทย</ref> ซึ่งมีความทันสมัย และได้นำครุภัณฑ์และเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในกระบวนการเรียนการสอน<ref name="80ปี"/> อย่างไรก็ดี พื้นที่งานวิจัยยังต้องการการขยายตัวอีกมาก จึงมีการสร้างอาคารนวัตกรรมทางเภสัชศาสตร์ขึ้น เพื่อเป็นอาคารวิจัยและหอประชุม เริ่มต้นการก่อสร้างในปี [[พ.ศ. 2546]] แล้วเสร็จในปี [[พ.ศ. 2549]] และในวันที่ [[25 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2552]] [[สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี]] เสด็จฯ เป็นองค์ประธานในพิธีเปิดอาคารหลังนี้<ref>งานพิธีการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย [http://www.cca.chula.ac.th/protocol/opening.html?start=10 พิธีเปิดอาคารนวัตกรรมทางเภสัชศาสตร์] เรียกข้อมูลวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2556</ref>
 
นอกจากนี้ยังมีอาคารที่เกี่ยวข้องกับการฝึกปฏิบัติวิชาชีพคือ อาคารโอสถศาลา (เปิดใช้ พ.ศ. 2526, เปิดใช้ครั้งใหม่ พ.ศ. 2544) เป็นที่ตั้งของสถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชนหรือร้านยาของคณะสำหรับให้นิสิตและนักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ได้ฝึกปฏิบัติวิชาชีพในร้านยา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เป็นองค์ประธานในพิธีเปิดอาคารหลังนี้ เมื่อวันที่ [[26 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2544]] ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อทดแทนอาคารหลังเดิมที่เปิดใช้ตั้งแต่วันที่ [[26 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2529]]<ref>[http://www.pharm.chula.ac.th/หน่วยงานสถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชนโอสถศาลา.html หน่วยงานสถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชนโอสถศาลา] เรียกข้อมูลวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2552</ref>