ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โทรทัศน์ในประเทศไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Soponwit Sangsai (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 7:
[[ประเทศไทย]]เริ่มต้นรู้จัก สิ่งที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า “Television” เป็นครั้งแรกเมื่อปี [[พ.ศ. 2474]] โดย[[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน]] ซึ่งทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคมในขณะนั้น ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะต้องการจัดตั้งกิจการโทรทัศน์ในประเทศไทยขึ้น โดยได้มีการติดต่อกับบริษัทเอกชนของ[[ประเทศสหรัฐอเมริกา]]รายหนึ่ง เพื่อจัดหาและติดตั้งเครื่องส่งโทรทัศน์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ในการทดลองการออกอากาศ และถ้าหากโครงการนี้เป็นที่พอพระราชหฤทัยของพระองค์แล้วก็จะให้สั่งซื้อเพื่อเก็บเอาไว้ใช้ในงานราชการ แต่เนื่องจากมี[[การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475|การเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อปี 2475]] จึงทำให้โครงการตามพระราชประสงค์ของพระองค์นั้นถูกยกเลิกลง (ซึ่งถ้าหากประสบความสำเร็จ ประเทศไทยอาจเป็นประเทศแรกในทวีปเอเชีย ที่มีกิจการและการออกอากาศทางโทรทัศน์)<ref>[http://www.oknation.net/blog/print.php?id=246355 เมื่อเริ่มกิจการโทรทัศน์ในประเทศไทย] จากบล็อก โอเคเนชั่น</ref><ref>หนังสือประวัติศาสตร์ อสมท 59 ปี สื่อไทย หน้า 34</ref> ในเวลาหลายปีต่อมา คือเมื่อปี [[พ.ศ. 2492]] [[สรรพสิริ วิรยศิริ]] ผู้สื่อข่าวต่างประเทศของ[[กรมประชาสัมพันธ์]] เขียนบทความขึ้นบทหนึ่ง เพื่อแนะนำให้ผู้อ่านรู้จักกับ “[[วิทยุภาพ]]” อันเป็นเทคโนโลยีสื่อสารชนิดใหม่ของโลก ต่อมา[[กรมประชาสัมพันธ์]] ส่งข้าราชการของกรมฯ กลุ่มหนึ่ง ไปศึกษางานวิทยุโทรภาพที่[[สหราชอาณาจักร]] ในราวปี [[พ.ศ. 2493]] เมื่อเล็งเห็นประโยชน์มหาศาลต่อประเทศชาติ กรมประชาสัมพันธ์จึงนำเสนอ “[[โครงการจัดตั้งวิทยุโทรภาพ]]” ต่อ[[แปลก พิบูลสงคราม|จอมพล แปลก พิบูลสงคราม]] [[รายนามนายกรัฐมนตรีของไทย|นายกรัฐมนตรี]] เพื่อเป็นสื่อประชาสัมพันธ์ของรัฐบาล เมื่อปี [[พ.ศ. 2494]] แต่เนื่องจาก[[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]]ส่วนมาก แสดงความไม่เห็นด้วยอย่างรุนแรง เนื่องจากเห็นว่าเป็นการสิ้นเปลือง ต่องบประมาณแผ่นดินโดยเปล่าประโยชน์ จึงจำเป็นต้องยุติโครงการดังกล่าวลง
 
หลังจากนั้น [[ประสิทธิ์ ทวีสิน]] ประธานกรรมการ[[บริษัท วิเชียรวิทยุและโทรภาพ จำกัด]] นำเครื่องส่งวิทยุโทรภาพ 1 เครื่อง เข้าทำการทดลองส่ง แพร่ภาพการแสดงดนตรี ของ[[วงดนตรีสากลกรมประชาสัมพันธ์]] จากห้องส่งวิทยุกระจายเสียง ของ[[สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย]] ภายในกรมประชาสัมพันธ์ โดยถ่ายทอดสดไปยังเครื่องรับจำนวน 4 เครื่อง ซึ่งตั้งไว้ภายในทำเนียบรัฐบาล, บริเวณใกล้เคียงกรมประชาสัมพันธ์ และบริเวณโถงชั้นล่างของ[[ศาลาเฉลิมกรุง]] เพื่อให้คณะรัฐมนตรีและประชาชนรับชม เป็นครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อวันที่ [[19 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2495]] ซึ่งเครื่องส่งและเครื่องรับดังกล่าว มีน้ำหนักรวมกว่า 2,000 กิโลกรัม ซึ่งในระยะนี้เอง [[สื่อมวลชน]]ซึ่งต้องการนำเสนอ ถึงสิ่งที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า “Television” ดังกล่าวนี้ แต่ไม่แน่ใจว่าควรเรียกเป็นภาษาไทยว่าอย่างไร จึงกราบทูลถามไปยัง [[พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์]] อดีตนายก[[ราชบัณฑิตยสถาน]] และ[[รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ]]ในขณะนั้น ด้วยทรงเป็น[[ศาสตราจารย์]]ทางอักษรศาสตร์ จึงทรงวิเคราะห์ศัพท์ดังกล่าว ก่อนจะทรงบัญญัติขึ้นเป็นคำว่า “[[วิทยุโทรทัศน์]]” ซึ่งต่อมาประชาชนทั่วไป นิยมเรียกอย่างสังเขปว่า “โทรทัศน์”
 
โดยระหว่างเดือน[[กันยายน]]ถึง[[พฤศจิกายน]] ปีเดียวกัน มีรัฐมนตรีและข้าราชการของกรมประชาสัมพันธ์ กลุ่มหนึ่งรวม 7 คนซึ่งประกอบด้วย [[หลวงสารานุประพันธ์]], [[หม่อมหลวงขาบ กุญชร]], [[ประสงค์ หงสนันทน์]], [[เผ่า ศรียานนท์|พลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์]], เล็ก สงวนชาติสรไกร, มุนี มหาสันทนะ เวชยันต์รังสฤษฎ์ และ[[เลื่อน พงษ์โสภณ]] ดำเนินการระดมทุน ด้วยการเสนอขายหุ้น ต่อกรมประชาสัมพันธ์ เป็นเงิน 11 ล้านบาท จึงเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐอีก 8 แห่ง เป็นเงิน 9 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 20 ล้านบาท เพื่อเป็นทุนจดทะเบียนจัดตั้ง ''[[บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด]]'' ({{lang-en|Thai Television Co.,Ltd.}} ชื่อย่อ: ท.ท.ท.) ขึ้นเมื่อวันที่ [[10 พฤศจิกายน]] ของปีดังกล่าว เพื่อรองรับการดำเนินกิจการ ส่งโทรทัศน์ในประเทศไทย อนึ่ง ในปีเดียวกันนั้น [[กระทรวงกลาโหม (ประเทศไทย)|กระทรวงกลาโหม]]ออกข้อบังคับว่าด้วย การมอบหมายงานแก่เจ้าหน้าที่กองทัพบก โดยกำหนดให้[[กรมการทหารสื่อสาร]] (สส.) เพิ่มชื่อกองการกระจายเสียง เป็นกองการกระจายเสียงและโทรทัศน์ เพื่อรองรับการจัดตั้ง แผนกกิจการวิทยุโทรทัศน์ เป็นหน่วยขึ้นตรงประจำกองดังกล่าว