ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจฟฟรีที่ 2 ดยุกแห่งบริตานี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Darkydury (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Darkydury (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 4:
 
== วัยเยาว์ ==
เจฟฟรีย์ แพลนแทเจเนตเป็นพระราชโอรสลำดับที่สี่ในห้าของพระเจ้าเฮนรีที่ 2 แห่งอังกฤษกับพระราชินีอาลีเยนอร์แห่งอากีแตน ทรงประสูติที่ปราสามโบมอนต์ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1158 ซึ่งขณะนั้นพระราชบิดามารดาของพระองค์มีพระราชบุตรอยู่แล้วสามคน ได้แก่ พระราชโอรสสองคน คือ เฮนรีและริชาร์ด กับพระราชธิดาหนึ่งคน คือ มาทิลดา เจฟฟรีย์ถูกตั้งชื่อตามพระอัยกาฝั่งบิดา คือ จูฟเฟรย์ แพลนแทเจเนต เคานต์แห่งอ็องฌูที่สมญานาม "แพลนแทเจเนต" ของเขาถูกนำมาใช้เป็นชื่อราชวงศ์ เจฟฟรีย์มีพี่น้องทั้งหมดเจ็ดคน ได้แก่ วิลเลียมที่ 9 เคานต์แห่งปัวติเยร์, เฮนรียุวษัตริย์, มาทิลดา ดัชเชสแห่งซัคเซินและไบเอิร์น, พระเจ้าริชาร์ดที่ 1, เอเลนอร์ สมเด็จพระราชินีแห่งกัสติยา, โจน สมเด็จพระราชินีแห่งซิซิลี และพระเจ้าจอห์น
 
 
 
เนื่องจากเจฟฟรีย์เป็นพระราชโอรสเพียงคนเดียวของพระเจ้าเฮนรีกับพระนางอาลีเยนอร์ที่ไม่ได้รับการสวมมงกุฎ (วิลเลียม พระเชษฐาคนโตสิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังเด็ก, เฮนรียุวกษัตริย์ได้รับการสวมมงกุฎคู่กับพระราชบิดา ส่วนริชาร์ดกับจอห์นได้ขึ้นครองราชย์หลังพระเจ้าเฮนรีเสด็จสวรรคต) พระองค์จึงเป็นที่ละเลยของนักประวัติศาสตร์ ส่งผลให้ประวัติในวัยเด็กของพระองค์มีไม่มากและไม่มีภาพเขียนของพระองค์หลงเหลืออยู่ พงศาวดารยุคนั้นกล่าวว่าเจฟฟรีย์มีผมสีเข้มและรูปร่างเตี้ย พระองค์หน้าตาปานกลางและไม่ได้ดูดีมีเสน่ห์ พระองค์อาจเป็นพระราชโอรสที่ฉลาดที่สุดของพระนางอาลีเยนอร์กับพระเจ้าเฮนรี แต่ทรงใช้ปัญญาที่มีไปกับแผนการร้ายอันเห็นแก่ตัว
 
 
พระราชบิดาของเจฟฟรีย์ปกครองดินแดนขนาดกว้างใหญ่ไพศาลและเป็นหนึ่งในกษัตริย์ที่มั่งคั่งและประสบความสำเร็ตมากที่สุดในยุคนั้น ส่วนพระราชมารดาของพระองค์เคยเป็นพระราชินีแห่งฝรั่งเศสก่อนขึ้นเป็นพระราชินีแห่งอังกฤษ พระนางปกครองดัชชีอากีแตนอันเจริญรุ่งเรืองซึ่งมีเนื้อที่กว้างขวางและตั้งอยู่ใรจุดยุทธศาสตร์ที่ดี เจฟฟรีย์มีพระเชษฐาสองคน คือ เฮนรียุวกษัตริย์ผู้ทะเยอทะยานและพระเจ้าริชาร์ใจสิงห์ผู้โด่งดัง พระองค์จึงมักถูกกลบอยู่ในเงามืด
 
 
ความทะเยอทะยานของคนในครอบครัวก่อให้เกิดความตึงเครียดจนนำไปสู่การปฏิวัติครั้งใหญ่ในปี ค.ศ. 1173–74 ด้วยวัย 15 พรรษา เจฟฟรีย์ได้ร่วมกับพระเชษฐาของพระองค์ก่อกบฏต่อพระราชบิดา แต่ไม่ชัดเจนว่าพระองค์มีบทบาทสำคัญในเหตุการณ์ดังกล่าวหรือไม่ สุดท้ายพระองค์กับพระเชษฐาคืนดีกับพระเจ้าเฮนรีและได้มีการทำสนธิสัญญาพักรบที่กิซอร์ในปี ค.ศ. 1174
 
<br />
 
== ดยุคแห่งเบรอตาญ ==
ในปี ค.ศ. 1181 เจฟฟรีย์ได้สมรสกับกงส์ต็องส์แห่งเบรอตาญและได้รับตำแหน่งเป็นดยุคแห่งเบรอตาญและเอิร์ลแห่งริชมอนด์ การสมรสครั้งนี้ถูกจัดแจงขึ้นโดยพระเจ้าเฮนรีที่ 2 โดยก่อนหน้าที่จะมีการสมรสเกิดขึ้น ในอดีตพระเจ้าเฮนรีได้เคยช่วยโกน็องที่ 4 ดยุคแห่งเบรอตาญปราบจราจลเมื่อครั้งที่ขุนนางเบรอตาญได้ลุกฮือขึ้นก่อกบฏต่อดยุคโกน็อง ดยุคได้ร้องขอความช่วยเหลือจากกษัตริย์แห่งอังกฤษซึ่งตอบสนองต่อการร้องขอเพราะต้องการจะได้เบรอตาญซึ่งตั้งอยู่บนพรมแดนทางตะวันตกของนอร์ม็องดีมาเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักร พระองค์ดำเนินการยึดดินแดนตามแนวชายแดนเบรอตาญ-นอร์ม็องดีในปี ค.ศ. 1164 ในปี ค.ศ. 1166 พระเจ้าเฮนรีบุกเบรอตาญเพื่อลงโทษกลุ่มขุนนางที่ก่อกบฏ หลังปราบการปฏิวัติได้สำเร็จ พระองค์ได้บีบให้โกน็องสละตำแหน่งให้แก่กงส์ต็องส์ บุตรสาววัย 5 ปีและจับดัชเชสน้อยหมั้นหมายกับเจฟฟรีย์วัย 8 ปี เป็นไปได้ว่าที่พระเจ้าเฮนรีบีบให้โกน็องสละตำแหน่งเพราะไม่ต้องการให้บุตรชายคนใดๆ ของเขาได้สืบทอดดัชชีต่อ
 
 
เจฟฟรีย์กับกงส์ต็องส์มีบุตรด้วยกันสามคน คือ
 
เส้น 31 ⟶ 24:
 
== กบฏพระราชโอรส ==
เมื่อพระราชโอรสของพระเจ้าเฮนรีที่ 2 โตขึ้น ความตึงเครียดเรื่องการสืบทอดจักรวรรดิในอนาคตก็เริ่มปรากฏขึ้น กระทั่งในปี ค.ศ. 1173 เฮนรียุวกษัตริย์ได้ก่อกบฏเพื่อเป็นการประท้วงพระราชบิดาโดยมีพระอนุชาสองคน คือ ริชาร์ดกับเจฟฟรีย์วัย 15 พรรษา และพระนางอาลีเยนอร์แห่งอากีแตน พระราชมารดาของเจ้าชายทั้งสามร่วมด้วย ทั้งฝรั่งเศส สกอตแลนด์ แฟลนเดอร์ และบูโลญต่างร่วมเป็นพันธมิตรกับกลุ่มกบฏ แต่สุดท้ายพระเจ้าเฮนรีที่ 2 สามารถปราบกบฏได้ พระองค์ให้อภัยพระราชโอรสโดยมีการทำสนธิสัญญาพักรบกันที่กิซอร์ในปี ค.ศ. 1174 แต่พระนางอาลีเยนอร์ผู้เป็นพระมเหสีถูกจองจำตลอดระยะเวลา 16 ปีต่อมา
ในปี ค.ศ. 1182 ความตึงเครียดในราชวงศ์แพลนแทเจเนตทะยานถึงจุดเดือดอีกครั้งเมื่อเฮนรียุวกษัตริย์ผิดหวังกับการราชาภิเษกทำให้พระองค์มั่งคั่งขึ้นเพียงเล็กน้อยและไม่ได้มีอำนาจอะไรเลย ในขณะที่ริชาร์ดได้ปกครองอากีแตน ขุนนางของอากีแตนได้แสวงหาประโยชน์จากความตึงเครียดระหว่างสามพี่น้อง เจฟฟรีย์เข้าร่วมกับเฮนรียุวกษัตริย์คุกคามริชาร์ด พระเจ้าเฮนรียื่นมือเข้ามาแทรกแซงด้วยหวังจะลดอุณหภูมิภายในครอบครัว กษัตริย์กับพระราชโอรสเจอกันที่อ็องฌูซึ่งพระราชโอรสทั้งสามของพระองค์ได้ให้คำสัตย์ว่าจะเชื่อฟังพระราชบิดาผู้เป็นกษัตริย์โดยชอบธรรมของอังกฤษและจะไม่ก่อกบฏอีก
 
 
ในปี ค.ศ. 1182 ความตึงเครียดในราชวงศ์แพลนแทเจเนตทะยานถึงจุดเดือดอีกครั้งในปี ค.ศ. 1182 เมื่อเฮนรียุวกษัตริย์ผิดหวังกับการราชาภิเษกทำให้พระองค์มั่งคั่งขึ้นเพียงเล็กน้อยและไม่ได้มีอำนาจอะไรเลย ในขณะที่ริชาร์ด พระอนุชาที่ไม่ยอมถวายความเคารพต่อพระองค์ตามที่พระราชบิดาสั่งได้ปกครองอากีแตน ขุนนางของอากีแตนได้แสวงหาประโยชน์จากความตึงเครียดระหว่างสามพี่น้อง เจฟฟรีย์เข้าร่วมเลือกอยู่ฝ่ายเดียวกับเฮนรียุวกษัตริย์คุกคามริชาร์ดยุวกษัตริย์ พระเจ้าเฮนรีที่ 2 ยื่นมือเข้ามาแทรกแซงด้วยหวังจะลดอุณหภูมิของความขัดแย้งภายในครอบครัว กษัตริย์กับพระราชโอรสเจอกันที่อ็องฌูซึ่ง โดยพระราชโอรสทั้งสามของพระองค์ได้ให้คำสัตย์ว่าจะเชื่อฟังพระราชบิดาผู้เป็นกษัตริย์โดยชอบธรรมของอังกฤษและจะไม่ก่อกบฏอีก
ในปี ค.ศ. 1183 เกิดโศกนาฏกรรมขึ้นในราชวงศ์แพลนแทเจเนตเมื่อเฮนรียุวกษัตริย์ติดเชื้อบิดและเสด็จสวรรคตในเดือนพฤษภาคม หลังพระเชษฐาสวรรคต เจฟฟรีย์เป็นพันธมิตรกับจอห์นผู้ไร้ดินแดน พระอนุชาคนสุดท้ายต่อสู้กับริชาร์ด เจฟฟรีย์ได้สร้างสัมพันธไมตรีกับพระเจ้าฟีลิปออกุสตุส ยุวกษัตริย์ของฝรั่งเศสซึ่งเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าหลุยส์ที่ 7 อดีตพระสวามีของพระนางอาลีเยนอร์แห่งอากีแตนที่ตั้งป้อมเกลียดชังพระเจ้าเฮนรีที่ 2 ทันทีเมื่อรู้ว่าพระองค์สมรสกับอดีตพระมเหสีของตน ทำให้พระเจ้าฟีลิปยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยเจฟฟรีย์วางแผนต่อสู้ทั้งกับพระราชบิดาและริชาร์ด พระเจ้าเฮนรีที่ 2 เริ่มใช้ความรุนแรงมากขึ้นกับปราสาทและที่ดินศักดินาที่เป็นพันธมิตรของเจฟฟรีย์ สุดท้ายพระเจ้าเฮนรีกับริชาร์ดก็ยึดปราสาททุกแห่งที่เป็นกบฏได้ ซึ่งบางแห่งถูกทำลายจนเหลือแต่ซาก
 
ในปี ค.ศ. 1183 เกิดโศกนาฏกรรมขึ้นในราชวงศ์แพลนแทเจเนตเมื่อเฮนรียุวกษัตริย์ติดเชื้อบิดและเสด็จสวรรคตในเดือนพฤษภาคม หลังพระเชษฐาสวรรคตราชโอรสคนโตสิ้นพระชนม์ พระเจ้าเฮนรีที่ 2 มีแผนที่จะปรับเปลี่ยนการแบ่งสรรที่ดินให้พระราชโอรสใหม่ (เดิมทรงแบ่งให้เฮนรียุวกษัตริย์ได้ปกครองอังกฤษ อ็องฌู เมน และนอร์ม็องดี, ริชาร์ดได้สืบทอดอากีแตนและปัวติเยร์ซึ่งเป็นของพระราชมารดา, เจฟฟรีย์ได้เป็นดยุคแห่งเบรอตาญ ส่วนจอห์น พระราชโอรสคนสุดท้ายที่เกิดหลังการแบ่งดินแดนครั้งแรกไม่ได้รับดินแดนใดๆ จึงทำให้พระองค์ได้สมญานามว่าจอห์นผู้ไร้ดินแดน) พระองค์ดำเนินแผนการอย่างลับๆ และทำให้สายสัมพันธ์ระหว่างพระองค์กับพระราชโอรสสามคนที่เหลืออยู่ คือ ริชาร์ด, เจฟฟรีย์ จอห์น ยิ่งแย่ลง เจฟฟรีย์ได้จับมือเป็นพันธมิตรกับจอห์นผู้ไร้ดินแดน พระอนุชาคนสุดท้ายต่อสู้กับริชาร์ด เจฟฟรีย์ทั้งยังได้สร้างสัมพันธไมตรีกับพระเจ้าฟีลิปออกุสตุส ยุวกษัตริย์ของฝรั่งเศสซึ่งเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าหลุยส์ที่ 7 อดีตพระสวามีของพระนางอาลีเยนอร์แห่งอากีแตนที่ตั้งป้อมเกลียดชังพระเจ้าเฮนรีที่ 2 ทันทีเมื่อที่รู้ว่าพระองค์สมรสกับอดีตพระมเหสีของตน ทำให้พระเจ้าฟีลิปยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยเจฟฟรีย์วางแผนต่อสู้ทั้งกับพระราชบิดาและริชาร์ด พระเจ้าเฮนรีที่ 2 เริ่มใช้ความรุนแรงมากขึ้นกับปราสาทและที่ดินศักดินาที่เป็นพันธมิตรของเจฟฟรีย์ สุดท้ายพระเจ้าเฮนรีกับริชาร์ดก็ยึดปราสาททุกแห่งที่เป็นกบฏได้ ซึ่งบางแห่งถูกทำลายจนเหลือแต่ซาก
 
แหล่งข้อมูลจากยุคนั้นกล่าวว่าเจฟฟรีย์ไม่เก่งด้านการทหารอย่างริชาร์ด แต่ทรงเป็นนักรบผู้ไร้ความปราณีที่กล้าใช้ความรุนแรง พระองค์ทำได้ทุกอย่างเพื่อให้ได้ในสิ่งที่ต้องการ หากต้องหาเงินทุนมาใช้ในการสู้รบเพิ่ม พระองค์จะโจมตีและขโมยเงินของอารามและวิหารต่างๆ ความไม่ให้ความเคารพของพระองค์ทำให้คริสตจักรไม่พอใจ
 
เจฟฟรีย์ แพลนทาเจเนตเป็นสหายรักของพระเจ้าฟีลิปออกุสตุส พระองค์อยู่ที่ราชสำนักฝรั่งเศสในกรุงปารีสนานจนได้รับแต่งตั้งเป็นข้าหลวง สร้างความไม่พอใจอย่างมากแก่กษัตริย์แห่งอังกฤษ พระเจ้าฟีลิปกับเจฟฟรีย์ร่วมมือกันก่อกฏวัติต่อพระเจ้าเฮนรีที่ 2 ในปี ค.ศ. 1183–84 มีหลักฐานสนับสนุนว่าทั้งคู่วางแผนจะก่อกบฏต่อพระเจ้าเฮนรีที่ 2 อีกครั้งในช่วงฤดูร้อน ปี ค.ศ. 1186 ทว่าแผนการเป็นอันพับไปเมื่อเจฟฟรีย์ตกจากหลังม้าระหว่างกำลังประลองทวนและถูกม้าเหยียบตายในวันที่ ว่ากันว่าพระเจ้าฟีลิปเศร้าหนักจนถึงขั้นกอดโลงของพระองค์ไว้19 สิงหาคม ค.ศ. 1186 ขณะพระชนมายุ 27 พรรษา ร่างของพระองค์ถูกฝังที่อาสนวิหารนอเตรอดามในกรุงปารีส ทว่าศิลาหน้าโลงศพของพระองค์ถูกทำลายในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 ก่อนการปฏิวัติฝรั่งเศส ว่ากันว่าพระเจ้าฟีลิปเสียใจมากกับการสูญเสียสหายรักจนถึงขั้นต้องควบคุมตัวเองไม่ให้กระโจนเข้าใส่โลงศพตอนที่มีการเปิดหลุมฝังศพ
 
เจฟฟรีย์ แพลนทาเจเนตเป็นสหายรักของพระเจ้าฟีลิปออกุสตุส พระองค์อยู่ที่ราชสำนักฝรั่งเศสในกรุงปารีสนานจนได้รับแต่งตั้งเป็นข้าหลวง สร้างความไม่พอใจอย่างมากแก่กษัตริย์แห่งอังกฤษ พระเจ้าฟีลิปกับเจฟฟรีย์ร่วมมือกันก่อกฏวัติต่อพระเจ้าเฮนรีที่ 2 ในปี ค.ศ. 1183–84 มีหลักฐานสนับสนุนว่าทั้งคู่วางแผนจะก่อกบฏต่อพระเจ้าเฮนรีที่ 2 อีกครั้งในช่วงฤดูร้อน ปี ค.ศ. 1186 ทว่าแผนการเป็นอันพับไปเมื่อเจฟฟรีย์ตกจากหลังม้าระหว่างกำลังประลองทวนและถูกม้าเหยียบตาย ว่ากันว่าพระเจ้าฟีลิปเศร้าหนักจนถึงขั้นกอดโลงของพระองค์ไว้ ร่างของพระองค์ถูกฝังที่อาสนวิหารนอเตรอดามในกรุงปารีส ทว่าศิลาหน้าโลงศพของพระองค์ถูกทำลายในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 ก่อนการปฏิวัติฝรั่งเศส
 
 
การสูญเสียพระราชโอรสคนที่สามส่งผลกระทบอย่างมากต่อความสัมพันธ์ระหว่างพระเจ้าเฮนรีที่ 2 กับพระราชโอรสที่ยังมีชีวิตอยู่อีกสองคน คือ ริชาร์ดกับจอห์นซึ่งก่อนหน้านี้เคยอยู่ฝั่งพระราชบิดา ทั้งคู่หันมาเป็นพันธมิตรกับพระเจ้าฟีลิปแห่งฝรั่งเศสและทำศึกกับพระเจ้าเฮนรีหลายครั้งจนกระทั่งพระองค์เสด็จสวรรคตในปี ค.ศ. 1189 ผู้สืบทอดตำแหน่งต่อจากพระองค์คือพระเจ้าริชาร์ดที่ต่อมาสวรรคตโดยไร้ทายาท พระเจ้าจอห์นจึงได้ขึ้นครองบัลลังก์ต่อจากพระเชษฐา
 
ในช่วงเวลาเดียวกันนั้นกงส์ต็องส์ ชายาม่ายของของเจฟฟรีย์มีอายุได้ 25 ปี เธอมีธิดาตัวน้อยสองคน (มาทิลดาถึงแก่กรรมในอีกสามปีต่อมา) และกำลังตั้งครรภ์บุตรอีกคน ในวันที่ 29 มีนาคม ค.ศ. 1187 กงส์ต็องส์ได้ให้กำเนิดบุตรชายชื่อว่าอาเธอร์ซึ่งต่อมาได้สืบทอดตำแหน่งดยุคแห่งเบรอตาญต่อจากบิดา แต่สันนิษฐานกันว่าเขาถูกพระเจ้าจอห์นสังหารในปี ค.ศ. 1203 หลังพยายามอ้างสิทธิ์ในบัลลังก์ เนื่องจากเจฟฟรีย์เป็นพระราชโอรสคนที่สามของพระเจ้าเฮนรีที่ 2 กับพระนางอาลีเยนอร์แห่งอากีแตนและเป็นพระเชษฐาของพระเจ้าจอห์น บุตรชายของพระองค์จึงมีสิทธิ์ในตำแหน่งทายาทของพระเจ้าริชาร์ดมากกว่า ทว่าพระเจ้าริชาร์ดได้ประกาศบนเตียงสวรรคตให้พระอนุชาเป็นทายาทของพระองค์ ด้วยเห็นว่าพระภาติยะนั้นเด็กเกินกว่าจะปกครองประเทศได้
 
บุตรทั้งสองคนของเจฟฟรีย์ไม่ได้สมรส เชื้อสายของพระองค์สิ้นสุดลงเมื่อเอเลนอร์ บุตรสาวของพระองค์ถึงแก่กรรมในปี ค.ศ. 1241<br />
ในช่วงเวลาเดียวกันนั้นกงส์ต็องส์ ชายาม่ายของของเจฟฟรีย์ได้ให้กำเนิดบุตรชายชื่อว่าอาเธอร์ซึ่งต่อมาได้สืบทอดตำแหน่งดยุคแห่งเบรอตาญต่อจากบิดา แต่สันนิษฐานกันว่าเขาถูกพระเจ้าจอห์นสังหารในปี ค.ศ. 1203 หลังพยายามอ้างสิทธิ์ในบัลลังก์ เนื่องจากเจฟฟรีย์เป็นพระราชโอรสคนที่สามของพระเจ้าเฮนรีที่ 2 กับพระนางอาลีเยนอร์แห่งอากีแตนและเป็นพระเชษฐาของพระเจ้าจอห์น บุตรชายของพระองค์จึงมีสิทธิ์ในตำแหน่งทายาทของพระเจ้าริชาร์ดมากกว่า ทว่าพระเจ้าริชาร์ดได้ประกาศบนเตียงสวรรคตให้พระอนุชาเป็นทายาทของพระองค์ ด้วยเห็นว่าพระภาติยะนั้นเด็กเกินกว่าจะปกครองประเทศได้
 
 
บุตรทั้งสองคนของเจฟฟรีย์ไม่ได้สมรส เชื้อสายของพระองค์สิ้นสุดลงเมื่อเอเลนอร์ บุตรสาวของพระองค์ถึงแก่กรรมในปี ค.ศ. 1241
<br />
 
== อ้างอิง ==