ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Dejkung (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Dejkung (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 61:
ในช่วงที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช มีศาสนกิจที่จะต้องเสด็จไปต่างประเทศ พระองค์จะมีพระบัญชาแต่งตั้งผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช โดยเมื่อครั้งพระองค์เสด็จประเทศจีนอย่างเป็นทางการ ตามคำกราบทูลอาราธนาของทบวงศาสนกิจ [[ประเทศจีน]] และเสด็จปฏิบัติศาสนกิจที่[[ประเทศเนปาล]] พระองค์มีพระบัญชาแต่งตั้งให้ [[สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น ชุตินฺธโร)]] เป็น[[ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช]]<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2536/D/089/38.PDF ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น ชุตินธโร)], เล่ม ๑๑๐, ตอน ๘๙ ง, ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๖, หน้า ๓๘</ref><ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2538/E/043/17.PDF ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช (สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น ชุตินธโร)], เล่ม ๑๑๒, ตอน พิเศษ ๔๓ ง, ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๘, หน้า ๑๗</ref> นอกจากนี้ เมื่อครั้งที่พระองค์เสด็จปฏิบัติศาสนกิจที่[[ประเทศญี่ปุ่น]]และ[[ประเทศอินเดีย]] พระองค์มีพระบัญชาแต่งตั้ง[[สมเด็จพระพุทธปาพจนบดี (ทองเจือ จินฺตากโร)]] เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2541/E/032/3.PDF ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช], เล่ม ๑๑๕, ตอนพิเศษ ๓๒ ง, ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๑, หน้า ๓</ref><ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2542/D/027/34.PDF ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช], เล่ม ๑๑๖, ตอน ๒๗ ง, ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๒, หน้า ๓๔</ref>
 
[[ไฟล์:นายกรัฐมนตรี ถวายเครื่องสักการะสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จ - Flickr - Abhisit Vejjajiva.jpg|250px|thumb|นาย[[อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ]] นายกรัฐมนตรี (ขณะนั้น) เข้าเฝ้าถวายเครื่องสักการะแก่เจ้าประคุณสมเด็จพระญาณสังวรฯ เนื่องในเทศกาลเข้าพรรษาประจำปี 2553 ณ ตึกวชิรญาณ สามัคคีพยาบาร ชั้น 6 [[โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์]] กรุงเทพฯ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2553]]
 
ช่วงปี พ.ศ. 2547 หลังจากที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ประชวรและประทับรักษาพระองค์ ณ [[โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์]] เข้าร่วมงานพระศาสนาไม่สะดวก [[มหาเถรสมาคม]] ซึ่งเป็นองค์กรปกครองคณะสงฆ์ ได้แต่งตั้งให้[[สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ)]] เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/00136151.PDF ประกาศสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เรื่อง แต่งตั้งคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช], เล่ม ๑๒๑, ตอนพิเศษ ๓ง, ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๗, หน้า ๒๘</ref> ซึ่งสมเด็จพระสังฆราชได้มีพระบัญชาว่า “ทราบและเห็นชอบ” เมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2547 ต่อมา การแต่งตั้งนั้นได้สิ้นสุดลงเพราะครบระยะเวลาที่กำหนด [[มหาเถรสมาคม]]จึงได้แต่งตั้ง[[คณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช]] เพื่อบริหารกิจการคณะสงฆ์แทนสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช โดยประกอบด้วยพระราชาคณะ รวม 7 รูป จากพระอาราม 7 วัด โดยมีสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) ในฐานะมีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ทำหน้าที่ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/0E/00143686.PDF ประกาศมติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ ๒๐/๒๕๔๗ เรื่อง การแต่งตั้งคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช], เล่ม ๑๒๑, ตอนพิเศษ ๗๙ ง, ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๗, หน้า ๑</ref><ref>ผู้จัดการออนไลน์, [http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9480000152276 สำนักนายกฯแถลง “สมเด็จญาณฯ” ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชแต่เพียงพระองค์เดียว], 3 พฤศจิกายน 2548</ref>