ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไมโอซิส"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
เปลี่ยนคำที่ผิดคือ โครโมเมียร์ ให้เป็น เซนโทรเมียร์
บรรทัด 3:
# '''ระยะอินเตอร์เฟส''' (Interphase) มีการจำลองดีเอ็นเอ มีการสังเคราะห์อาร์เอ็นเอ และโปรตีนเพื่อเตรียมพร้อมที่จะแบ่งตัว โครโมโซมประกอบด้วย 2 โครมาทิด เยื่อหุ้มนิวเคลียสยังไม่สลายไป
# '''ระยะแบ่งเซลล์''' (cell division) แบ่งออกเป็น 2 ระยะคือ
## '''ระยะไมโอซิส I''' (Meiosis I) เป็นระยะที่จำนวน[[โครโมโซม]]ลดลงครึ่งหนึ่ง แบ่งเป็น 4 ระยะคือ
### '''ระยะโพรเฟส I''' เป็นช่วงที่ใช้เวลาถึง 90% ของการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส โครมาตินหดตัวเข้ามาเป็น[[โครโมโซม]] โครโมโซมที่เป็นคู่กัน (homologous chromosome) มาเข้าคู่กัน ทำให้เห็นแต่ละคู่มี 4 โครมาทิด เกิดการแลกเปลี่ยนชิ้นส่วนระหว่างซิสเตอร์ โครมาติด ซึ่งเรียกว่า [[ครอสซิ่ง โอเวอร์]] (crossing over) ซึ่งทำให้เกิดการกลายพันธุ์หรือการแปรผันพันธุกรรม ซึ่งแบ่งย่อยออกเป็น 5 ระยะคือ
#### '''เลปโททีน''' (Leptotene) โครโมโซมเป็นเส้นใย ขนาดเล็กและยาวมากสานกันไปมาเรียกว่า ''โครโมนีมา'' (Chromonema) บางส่วนพันกันถี่มาก เมื่อย้อมสีจะติดสีเข้มดูคล้ายลูกปัดซึ่งเรียกว่า ''โครโมเมียร์'' (Chromomere) เห็นนิวคลีโอลัสชัดเจน
#### '''ไซโกทีน''' (Zygotene) ส่วนฮอมอโลกัสโครโมโซมมาจับคู่เรียงกันตามความยาวของโครโมโซม ทำให้โครโมเมียร์เซนโทรเมียร์ตรงกันทุกจุด เรียกว่า ซิแนปส์ (Synapse) การเกิดซิแนปส์ทำให้มีการเข้าคู่ของ[[แอลลีล]]
#### '''แพคีทีน''' (Pachytene) โครโมนีมาพันแน่นขึ้นจนเห็นเป็นเส้นหนาชัดเจน เรียกว่า โครโมโซม โดยฮอมอโลกัสโครโมโซมอยู่กันเป็นคู่ เรียกว่า ''ไบเวเลนต์'' (Bivalent) แต่ละไบเวเลนต์ประกอบด้วย 4 โครมาทิด เรียกสภาพนี้ว่า ''เทแทรด'' (Tetrad)
#### '''ดิโพลทีน''' (Diplotene) เซนโทรเมียร์ของแต่ละฮอมอโลกัสโครโมโซมแยกออกจากกัน แต่มีบางส่วนของฮอมอโลกัสโครโมโซมยังพันกันอยู่ เรียกบริเวณนั้นว่า ''ไคแอสมา'' (Chiasma) ซึ่งอาจมีได้หลายตำแหน่ง มีการแลกเปลี่ยนชิ้นส่วนของนอนซิสเตอร์โครมาทิดเรียกว่า ''ครอสซิงโอเวอร์'' (Crossing Over) ทำให้ยีนมีการเรียงตัวกันใหม่ และเกิด[[การแปรผันทางพันธุกรรม]]