ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภาษามคธ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 21:
ระบบเสียงใกล้เคียงกับ[[ภาษาฮินดี]]และพอจะเข้าใจกันได้กับผู้พูดภาษาฮินดีหรือภาษาพิหารอื่น ๆ มีนิทานและเพลงพื้นบ้านมาก เชื่อกันว่ารูปแบบโบราณของภาษามคธคือภาษาที่ใช้พูดในสมัยพุทธกาลและในราชอาณาจักรมคธ พุทธศาสนาเถรวาทใช้[[ภาษาบาลี]]ซึ่งเป็นอีกชื่อหนึ่งของภาษามคธโบราณ ยังมีภาษาที่อยู่ระหว่างภาษาบาลีกับภาษามคธ เรียกว่า [[ภาษาอรธมาคธี]] (แปลว่า ภาษากึ่งมคธ) ซึ่งใช้ในคัมภีร์ของ[[ศาสนาเชน]] ความต่างของภาษามคธกับภาษาอรธมาคธี อยู่ในรูปแบบเดียวกับความต่างจากภาษาบาลี
 
ภาษามคธยังเป็นชื่อของ[[ภาษาปรากฤต]]ที่ใช้ในการแสดงละคร และเป็นภาษาที่ใช้พูดในรัฐพิหารในยุคกลาง เป็นต้นกำเนิดของ[[ภาษาเบงกาลีเบงกอล]] [[ภาษาโอริยา]]และภาษาพิหาร
 
== ประวัติ ==
บรรพบุรุษของภาษามคธคือภาษาปรากฤตมคธที่เคยใช้พูดในอินเดียตะวันออก ซึ่งปัจจุบันคือภาคตะวันออกของประเทศอินเดีย บังกลาเทศและเนปาล บริเวณนี้เคยเป็นส่วนหนึ่งของ[[อาณาจักรมคธ]] ที่มีศูนย์กลางอยู่ที่[[รัฐพิหาร]] และเชื่อว่าเป็นภาษาของ[[พระโคตมพุทธเจ้า|พระพุทธเจ้า]] รวมทั้งภาษาราชการในสมัย[[พระเจ้าอโศกมหาราช]]
 
พัฒนาการของภาษามคธมาสู่รูปแบบปัจจุบันยังไม่ทราบดีนัก นักวิชาการด้านภาษามักจะสรุปว่าภาษามคธ [[ภาษาไมถิลี]] [[ภาษาโภชปุรี]] [[ภาษาเบงกาลีเบงกอล]] [[ภาษาอัสสัม]] และ[[ภาษาโอริยา]] พัฒนามาจากภาษาปรากฤตมคธหรือภาษาอรธมาคธีในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13-16 แต่อาจจะไม่ถูกต้องแน่นอนนัก เพราะจุดเริ่มต้นของภาษาสมัยใหม่ในอินเดียปัจจุบันยังไม่ชัดเจน [[ภาษาคุชราต]] ภาษาไมถิลี ภาษาเบงกาลีเบงกอล ภาษาอัสสัม ภาษาโอริยา [[ภาษามราฐี]] เริ่มมีรูปแบบของวรรณกรรมในราวพุทธศตวรรษที่ 19 แม้ว่าภาษามคธเคยเป็นภาษาราชการในอาณาจักรมคธและมีผู้ใช้เป็นจำนวนมากแต่ไม่เป็นที่สืบเนื่องในอินเดีย ในรัฐพิหาร [[ภาษาฮินดี]]เป็นภาษาที่ใช้ทางราชการและการศึกษา ภาษามคธนั้นถูกแทนที่ด้วยภาษาฮินดีเมื่อ พ.ศ. 2504
 
ภาษาฮินดีได้แพร่หลายเข้ามาในรัฐพิหาร และเข้ามาแทนที่[[ภาษาอูรดู]]ในการเป็นภาษาราชการของรัฐ มีการต่อสู้เพื่อแย่งชิงการเป็นภาษาราชการของรัฐระหว่างภาษาฮินดีกับภาษาอูรดู แต่ไม่มีการพูดถึงภาษาแม่ในบริเวณนั้น อีก 3 ภาษาคือ ภาษามคธ ภาษาโภชปุรี และภาษาไมถิลี หลังจากได้รับเอกราช ภาษาฮินดีเป็นภาษาราชการของรัฐพิหาร ตามข้อตกลงภาษาราชการของพิหาร พ.ศ. 2493