ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การออกแบบอย่างสากล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''การออกแบบเพื่อทุกคน''' (Universal Design) หมายถึง [[การออกแบบผลิตภัณฑ์]] และสภาพแวดล้อม ที่ปราศจากการออกแบบหรือดัดแปลงเป็นพิเศษ เป็นการออกแบบที่ทุกคนสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้าง ขวางเท่าที่เป็นไปได้มากที่สุด โดยไม่มีข้อจำกัดทางด้านอายุและสภาพร่างกาย<ref>"Ronald L. Mace on NC State University, College of Design". Design.ncsu.edu. Retrieved 2013-07-26.</ref> &nbsp;ทั้งนี้แนวคิดดังกล่าว ถูกผลักดันจากกลุ่มผู้สูงอายุ และคนพิการ ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักของการออกแบบเพื่อทุกคน การทำความเข้าใจเรื่องผู้สูงอายุและคนพิการ จึงเป็นเรื่องสำคัญ
 
พัฒนาการการออกแบบเพื่อทุกคนนี้ เริ่มต้นขึ้นในปี ค.ศ. 1950 ซึ่งเป็นแนวคิดการออกแบบใหม่สำหรับ[[คนพิการ]]ใน[[ยุโรป]] [[ญี่ปุ่น]] และ[[สหรัฐอเมริกา]] จากแนวคิดเรื่องการออกแบบที่ปราศจากสิ่งกีดขวาง (Barrier-free design) มีการพัฒนาขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคในการสร้างสภาพแวดล้อมสำหรับคนที่มีความพิการทางร่างกาย ตามแนวทางของเครือข่ายทางสังคมในการดูแลคนพิการ โดยพัฒนาจากการดูแลแบบสถาบัน (Institutional care) เช่น [[โรงพยาบาล]] สถานสงเคราะห์ เป็นต้น ไปสู่การดูแลแบบชุมชน (Community care) การออกแบบนี้จะแยกการออกแบบพิเศษเป็นการเฉพาะ โดยเฉพาะกับผู้มีข้อจำกัดทางร่างกายที่รุนแรง
 
ในปี ค.ศ. 1970 บางส่วนของยุโรปและสหรัฐอเมริกา เริ่มเปลี่ยนแนวคิดจากการออกแบบเฉพาะ เจาะจง (Exclusive design) มาเป็นแนวคิดการออกแบบที่ครอบคลุม (Inclusive design) เป็นการทำให้ง่ายขึ้น และเริ่มใช้คำว่าการออกแบบที่สามารถเข้าถึงได้ (Accessible design) ในประเทศสหรัฐอเมริกา การเคลื่อนไหวสิทธิของคนพิการเป็นรูปเป็นร่างในช่วงกลางยุคปี 70 บนวิสัยทัศน์ของสิทธิมนุษยชน โดยพระราชบัญญัติสำหรับชนกลุ่มน้อย ปี ค.ศ. 1964 ที่มีเป้าหมายเพื่อความเท่าเทียมกันของโอกาสและการดูแล เป็นครั้งแรกที่การออกแบบนี้ได้รับการยอมรับเป็นเงื่อนไขเพื่อให้บรรลุถึงสิทธิมนุษยชน<ref>The Institute for Human Centered Design (IHCD), Boston, 2015.</ref> พัฒนาการของการออกแบบเพื่อทุกคนในแต่ละประเทศจึงมีรายละเอียดที่แตกต่างกันบ้างตามสภาพสังคม เศรษฐกิจ และการผลักดันของกลุ่มคนพิการและผู้สูงอายุ
บรรทัด 7:
==ประวัติ ==
 
ในช่วงต้นของการออกแบบสถาปัตยกรรมที่ปราศจากสิ่งกีดขวาง ซึ่งได้รับการยอมรับทั้งทางกฎหมาย ทางเศรษฐกิจและสังคม เป็นแนวคิดที่ต้องการความร่วมมือกันของคนทั่วไปและคนพิการ แต่กลายเป็นว่ามีการออกแบบแยกส่วนที่สามารถเข้าถึงได้เป็น “พิเศษ” ทำให้มีราคาแพงขึ้นและมักจะดูไม่สวยงาม การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมที่จำเป็นเพื่อรองรับคนพิการนี้ คนทั่วไปก็ได้รับประโยชน์เช่นกัน จนกระทั่งการออกแบบดังกล่าวเป็นที่รับรู้และยอมรับกันโดยทั่วไป จนทำให้ค่าก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกเหล่านั้นถูกลง ไม่ต้องติดป้ายเป็นการเฉพาะ มีความสวยงามและเป็นที่ยอมรับในตลาด ถือเป็นการเคลื่อนไหวและเป็นรากฐานสำคัญสำหรับการออกแบบเพื่อทุกคนในเวลาต่อมา
 
เป็นที่รับรู้และยอมรับกันโดยทั่วไป จนทำให้ค่าก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกเหล่านั้นถูกลง ไม่ต้องติดป้ายเป็นการเฉพาะ มีความสวยงามและเป็นที่ยอมรับในตลาด ถือเป็นการเคลื่อนไหวและเป็นรากฐานสำคัญสำหรับการออกแบบเพื่อทุกคนในเวลาต่อมา
 
ในปี ค.ศ. 1987 กลุ่มของนักออกแบบชาวไอริชประสบความสำเร็จในการเรียกร้องต่อที่ประชุมการออกแบบโลก (The World Design Congress) จนได้รับมติให้นักออกแบบทุกควรคำนึงถึงปัจจัยความพิการและความชราในผลงานการออกแบบของพวกเขา
 
ในสหรัฐอเมริกา โรเนล แอล เมซ (Ronald L. Mace: 1941 – 1998) ผู้ก่อตั้งศูนย์การออกแบบสากลในมหาวิทยาลัยแห่งรัฐแคโรไลน่าเหนือนอร์ทแคโรไลนาสเตต (North Carolina State University) สถาปนิกที่เป็น[[โรคโปลิโอ]]ตั้งแต่เด็ก ผู้ซึ่งใช้รถเก้าอี้ล้อเลื่อนและเครื่องช่วยหายใจ เริ่มใช้คำว่า “การออกแบบเพื่อทุกคน” (Universal Design) และหาวิธีการที่จะกำหนดให้ “การออกแบบเพื่อทุกคน” สัมพันธ์กับ “การออกแบบที่สามารถเข้าถึงได้” เขากล่าวว่าการออกแบบเพื่อทุกคนไม่ได้เป็นศาสตร์ใหม่ ไม่ได้เป็นสไตล์ใหม่ หรือไม่ซ้ำกับแนวทางใดแนวทางหนึ่ง มันเป็นการรับรู้ของความต้องการและวิธีการที่จะใช้สามัญสำนึกในการออกแบบ ทุกอย่างที่เราออกแบบและผลิตใช้งานสามารถใช้งานได้กับทุกคน มีขอบเขตการใช้งานที่กว้างขวางที่สุดเท่าที่เป็นไปได้<ref>Institute for Human Centered Design, 2008.</ref> และศูนย์การออกแบบเพื่อทุกคนมหาวิทยาลัยนอร์ทคาโรไลนาร์ไลนาสเตต (The Center for Universal Design, North Carolina State University) ได้ตีพิมพ์หลัก 7 ประการของการออกแบบเพื่อทุกคน<ref>Connell, et al, 1997; North Carolina State University, 1997.</ref> ที่ทุกคนยอมรับและอ้างอิงมาจนถึปัจจุบัน
[[ไฟล์:The_Center_for_Universal_Design,_North_Carolina_State_University.jpg|alt=|center|thumb|400x400px|ภาพแสดงหลัก 7 ประการของการออกแบบเพื่อทุกคนของ ]]
 
==แนวคิด==
โดยสรุปแล้วแนวคิด '''การออกแบบเพื่อทุกคน''' (Universal Design) นี้ เริ่มต้นจาก '''การออกแบบที่ปราศจากสิ่งกีดขวาง''' (The "Barrier-Free" concept) หรือ '''การออกแบบที่สามารถเข้าถึงได้''' (Accessibility Design) ซึ่งเป็นการออกแบบสำหรับคนพิการหรือผู้มีความบกพร่องทางร่างกายเข้าใช้ประโยชน์ได้ และต่อมาได้ถูกขยายขอบเขตมาถึงการออกแบบสภาพแวดล้อมที่สร้างขึ้น บริการ วัฒนธรรม และข้อมูล หรือที่เรียกว่า '''การออกแบบสำหรับคนทั้งมวล''' (Design for All: DFA) '''การออกแบบที่ครอบคลุม''' (Inclusive Design) และนำมาสู่แนวคิด '''การออกแบบเพื่อทุกคน''' (Universal Design) ซึ่งเป็นการออกแบบที่ทุกคนสามารถใช้ประโยชน์ได้ครอบคลุมแนวคิดทั้งหมดดังกล่าว และมีหลักการหลัก 7 ประการ ที่จะอธิบายในลำดับต่อไป
 
=== การออกแบบที่ปราศจากสิ่งกีดขวาง (The "Barrier-Free" Design) ===
เป็นแนวคิดการออกแบบหรือการดัดแปลงอาคารเพื่อให้คนพิการหรือผู้มีความบกพร่องทางร่างกายเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ โดยเริ่มตั้งแต่ช่วงการออกแบบที่ต้องวิเคราะห์ผู้ใช้อาคารทุกกลุ่มความพิการ พื้นที่ที่เป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึง ทั้งที่เป็นโครงสร้างและรายละเอียดการออกแบบ การออกแบบที่ปราศจากสิ่งกีดขวาง (The "Barrier-Free" Design) นี้ใช้สำหรับประเทศที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ เช่น ญี่ปุ่น เยอรมัน สำหรับประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ เช่น อังกฤษ สหรัฐอเมริกา มักใช้คำว่า การออกแบบที่สามารถเข้าถึงได้ (Accessibility Design) การออกแบบที่ปราศจากสิ่งกีดขวางได้ถูกนำมาใช้กับการออกกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่นพระราชบัญญัติความพิการของชาวอเมริกัน ([[:en:Americans_with_Disabilities_Act_of_1990|Americans with Disabilities Act of 1990]]) อย่างไรก็ตามการออกแบบที่ปราศจากสิ่งกีดขวางนี้ ได้ถูกแทนที่โดยแนวคิดของการออกแบบเพื่อทุกคน (Universal design)
เส้น 25 ⟶ 24:
=== การออกแบบที่ครอบคลุม(Inclusive Design) ===
ในปี ค.ศ. 2000 รัฐบาลสหราชอาณาจักรกำหนดให้ “การออกแบบที่ครอบคลุม” (Inclusive Design) หมายถึง “สินค้า บริการ และสภาพแวดล้อมที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคจำนวนที่มากที่สุด รวมถึงการดูแลสุขภาพและที่อยู่อาศัยสำหรับทุกคน” Inclusive Design ถูกนำมาใช้ในยุโรป ซึ่งนอกเหนือไปจากกลุ่มผู้สูงอายุและคนพิการแล้ว ยังมุ่งเน้นไปที่กลุ่มอื่นๆ ที่ไม่อยู่ในกระแสหลักของการบริโภคเช่น กลุ่มเด็ก อีกด้วย
 
โดยสรุปแล้วแนวคิด '''การออกแบบเพื่อทุกคน''' (Universal Design) นี้ เริ่มต้นจาก '''การออกแบบที่ปราศจากสิ่งกีดขวาง''' (The "Barrier-Free" concept) หรือ '''การออกแบบที่สามารถเข้าถึงได้''' (Accessibility Design) ซึ่งเป็นการออกแบบสำหรับคนพิการหรือผู้มีความบกพร่องทางร่างกายเข้าใช้ประโยชน์ได้ และต่อมาได้ถูกขยายขอบเขตมาถึงการออกแบบสภาพแวดล้อมที่สร้างขึ้น บริการ วัฒนธรรม และข้อมูล หรือที่เรียกว่า '''การออกแบบสำหรับคนทั้งมวล''' (Design for All: DFA) '''การออกแบบที่ครอบคลุม''' (Inclusive Design) และนำมาสู่แนวคิด '''การออกแบบเพื่อทุกคน''' (Universal Design) ซึ่งเป็นการออกแบบที่ทุกคนสามารถใช้ประโยชน์ได้ครอบคลุมแนวคิดทั้งหมดดังกล่าว และมีหลักการหลัก 7 ประการ ที่จะอธิบายในลำดับต่อไป
 
== หลัก 7 ประการ ==
'''การออกแบบเพื่อทุกคน''' (Universal Design) เป็นแนวความคิดสากลที่[[องค์การสหประชาชาติ]]ได้พยายามเผยแพร่และส่งเสริม จากแนวความคิดดั้งเดิมที่ให้คนพิการได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิตในอาคารและสิ่งแวดล้อมตามโครงการ Promotion of Non-Handicapping Physical Environment for Disabled Persons และได้มีการพัฒนามาเป็นลำดับเป็น Accessible Design, Adaptable Design, Barrier Free Design ซึ่งในที่สุดก็เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปในหลักการของ Universal Design ซึ่งประกอบด้วย '''หลัก 7 ประการ'''<ref>** ในปี 1997 ผู้เข้าร่วมประชุมการออกแบบเพื่อทุกคน ได้แก่'': Bettye Rose Connell, Mike Jones, Ron Mace, Jim Mueller, AbirMullick, Elaine Ostroff, Jon Sanford, Ed Steinfeld, Molly Story, Gregg Vanderheiden.&nbsp; ได้สรุปหลัก 7 ประการ'' การออกแบบเพื่อทุกคนขึ้น ''หลัก 7 ประการดังกล่าวเป็นลิขสิทธิ์ของ The Center for Universal Design, School of Design, State University of North Carolina at Raleigh [USA].''
</ref> ดังรายละเอียด
 
เส้น 73 ⟶ 70:
[[ไฟล์:Low_Physical_Effort.jpg|center|thumb|296x296px|ภาพแสดงขอสับสำหรับล็อคประตูห้อง ที่ใช้แรงน้อย เบาแรง]]
[[ไฟล์:Low_Physical_Effort2.jpg|center|thumb|238x238px|ภาพแสดงมือจับล็อคประตูห้อง ที่ใช้แรงน้อย เบาแรง ไม่ว่าสภาพแรงกายอย่างไรก็สามารถเปิดได้]]
 
 
=== มีขนาดและพื้นที่ที่เหมาะสมกับการเข้าถึงและใช้งาน (Size and Space for Approach and Use) ===
เส้น 86 ⟶ 82:
 
=== ระดับที่ 2 การจัดให้มีเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก (Assistive Technology)===
ในบางกรณีการออกแบบเพื่อทุกคน (Universal Design) ก็ไม่สามารถอำนวยความสะดวกให้คนพิการและผู้สูงอายุได้ โดยเฉพาะคนพิการบางประเภท จำเป็นต้องมีเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น เครื่องช่วยฟังสำหรับคน[[หูหนวก]] โปรแกรมอ่านจอภาพคอมพิวเตอร์สำหรับคน[[ตาบอด]] หรือป้ายบอกทางซึ่งใช้ภาษาที่ง่ายต่อความเข้าใจ เป็นต้น การจัดให้มีเทคโนโลยีอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งจำเป็นในลำดับถัดมา
 
วิศวกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพ (Rehabilitation Engineering) และเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก (Assistive Technology) เริ่มในกลางศตวรรษที่ 20 ด้วยความพยายามที่จะปรับปรุงขาเทียมและกายอุปกรณ์ให้มีมากขึ้น พร้อมกับการกลับมาของทหารผ่านศึกพิการจาก[[สงครามโลกครั้งที่สอง]]ในปี ค.ศ. 1940 ในช่วงปี ค.ศ. 1950 ศูนย์การวิจัยทางวิศวกรรมได้รับการสนับสนุนจากทหารผ่านศึกและรัฐบาลกลาง และองค์กรถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาทางเทคโนโลยีอื่นๆอื่น ๆ เพื่อการฟื้นฟู รวมทั้งการสื่อสารและการขนส่ง ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพด้านวิศวกรรมขยายตัวในช่วงปี ค.ศ. 1960 และ ปี ค.ศ. 1970 “เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก (Assistive technology)” ถูกนำไปใช้กับอุปกรณ์สำหรับการใช้งานส่วนบุคคลที่สร้างขึ้นโดยเฉพาะ เพื่อเพิ่มความสามารถทางกายภาพ ทางประสาทสัมผัส และความรู้ความเข้าใจของคนพิการ และช่วยให้พวกเขาทำงานได้อย่างอิสระในข้อจำกัดของสภาพแวดล้อม
 
===ระดับที่ 3 การให้ความช่วยเหลืออย่างสมเหตุสมผล (Reasonable Accommodation)===
สำหรับบางพื้นที่ที่มีข้อจำกัดมากๆ เป็นอาคารเก่าหรือสภาพแวดล้อมไม่เอื้อในการออกแบบ เช่น สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆต่าง ๆ ท่าเทียบเรือ ทะเล เกาะ แก่งภูเขา น้ำตกต่างๆ และเพื่อลดความเสียเปรียบทางสังคมของคนพิการแต่ละประเภทและผู้สูงอายุ การจัดให้มีบริการให้ความช่วยเหลือบางอย่าง เช่น การจัดบริการล่ามภาษามือให้แก่คนหูหนวก การให้มีผู้ช่วยคนพิการสำหรับคนพิการที่มีความต้องการพิเศษ (อันที่ไม่อาจตอบสนองได้โดยวิธีการทั่วไป) รวมถึงความช่วยเหลือเพื่อให้สามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม เป็นต้น
 
การนำหลักการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวก 3 ระดับนี้ไปประยุกต์ใช้กับการออกแบบนั้น จะเริ่มต้นจากความพยายามออกแบบเพื่อทุกคน (Universal Design) ก่อน หลังจากการพยายามอย่างเต็มความสามารถแล้ว ยังไม่สามารถออกแบบเพื่อทุกคนได้ครบถ้วน จึงใช้เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก (Assistive Technology) ช่วย และสุดท้ายหากจำเป็นต้องให้ความช่วยเหลืออย่างสมเหตุสมผล )Reasonable Accommodation) ก็สามารถทำได้ เพียงแต่ต้องบอกคนพิการและผู้สูงอายุก่อนการใช้พื้นที่ การเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวก 3 ระดับนี้ จึงมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน และเป็นลำดับ ขั้นตอนของการนำไปใช้งาน